การนิคมฯ เผยชื่อ 5 อุตสาหกรรมขับเคลื่อนประเทศไทย ในอีก 10 ปี ขานรับยุทธศาสตร์ประเทศไทย

ข่าวทั่วไป Friday May 10, 2013 09:41 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--10 พ.ค.--เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์ - กนอ. คาด 5 อุตสาหกรรมแห่งอนาคต จะเพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมรวมของประเทศไทยทะลุ 3 ล้านล้านในปี 2567 การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เผยรายชื่อ5 อุตสาหกรรมแห่งอนาคต อันได้แก่ 1. อุตสาหกรรมพลังงานสะอาด 2. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ 3.อุตสาหกรรมไบโอพลาสติก 4.อุตสาหกรรมยานอากาศ5.อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อันจะเป็นอุตสาหกรรมหลักของไทยในอีก10ปีข้างหน้าซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศไทยให้เติบโต สอดคล้องกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกใหม่สอดรับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ และความเป็นไปทางสังคมในภูมิภาคต่างๆ ของโลกโดยในอนาคตถ้าอุตสาหกรรมเหล่านี้เป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศจะสามารถเพิ่มมูลค่าการลงทุนรวมของอุตสาหกรรมไทยได้มากกว่า 20 % หรือมากกว่า 3 ล้านล้านบาท ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีอุตสาหกรรมหลักทั้งหมด 6 ประเภท ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมปิโตรเคมีหรือพลาสติก อุตสาหกรรมเอทานอลและไบโอดีเซลอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ตามกนอ.ตั้งเป้าในการเริ่มต้นส่งเสริมผู้ประกอบการไทย ผู้ประกอบการในประชาคมอาเซียน รวมไปถึงผู้ประกอบการทั่วโลกที่มีแนวคิดการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งอนาคตทั้ง 5 ประเภทนี้ซึ่งล้วนจะเป็นการวางรากฐานอุตสาหกรรมแห่งอนาคตของไทยให้มีความเข็มแข้งและสามารถก้าวนำนานาประเทศไทยอย่างมีประสิทธิภาพ โดยนักลงทุนและผู้ประกอบการณ์ทั่วไป สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0-2253-0561 ต่อ 3305 หรือ 0-2253-2874หรือเข้าไปที่ www.ieat.go.th นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ประธานกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่าจากแผน ยุทธศาสตร์ประเทศ หรือ New Growth Modelจะส่งผลให้ประเทศไทยเปลี่ยนผ่านจากประเทศรายได้น้อย สู่ประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจอันดับต้นๆ ของภูมิภาคเอเชียและของโลก ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่จะส่งผลให้ประเทศไทยก้าวเดินหน้าอย่างมีศักยภาพคือภาคอุตสาหกรรม โดยใน10 ปีข้างหน้าประเทศไทยจะมี 5 อุตสาหกรรมใหม่ที่จะเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศ หรือที่เรียกว่าอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ซึ่งคาดว่าจะสามารถเพิ่มมูลค่าของอุตสาหกรรมในประเทศไทยได้กว่า 20 % โดยรายชื่ออุตสาหกรรมแห่งอนาคต ได้แก่ 1. อุตสาหกรรมพลังงานสะอาด เช่น อุตสาหกรรมเกี่ยวกับพลังงาน เชื้อเพลิงชีวภาพ แบตเตอรี่ รถยนต์ไฟฟ้า รวมไปถึงอุตสาหกรรมเกี่ยวกับพลังงานทางเลือกทั้งหมด อาทิ พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ 2. อุตสาหกรรมเพื่อสุขภาพ เช่นอาหารเพื่อสุขภาพ บริการเพื่อสุขภาพ อุปกรณ์เพื่อสร้างเสริมสุขภาพฯลฯเพราะจากการจัดทำข้อมูลศึกษาทิศทางตลาดอาหารเพื่อสุขภาพของโลก พบว่าน้าวโน้มมูลค่าการตลาดเกิบโตอย่างต่อเนื่อง ในปี 2556 เติบโตถึง 9.05 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ เท่ากับว่าอัตราการเติบโตของตลาดอาจจะสูงขึ้นกว่า 200% เมื่อเปรียบเทียบอัตราการเติบโตของปี 2549 3. อุตสาหกรรมไบโอพลาสติก อันเนื่องมาจากการตระหนักถึงด้านของสิ่งแวดล้อม มีผู้ประกอบการที่แนวโน้มที่จะนำเม็ดไบโอพลาสติกมาทำเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ในชีวิตประจำวันที่สามารถย่อยสลายได้ และลดปริมาณผลิตภัณฑ์ที่ใช้จากพลาสติกทั่วไป 4.อุตสาหกรรมยานอากาศ เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่คึกคัก สืบเนื่องจากกระแสการเข้าสู้ประชาคมอาเซียน (AEC) ในปี 2558 รวมถึงแนวโน้มรูปแบบการสัญจรทางอากาศในปัจจุบันผู้ใช้บริการในทุกระดับสามารถเข้าถึงการใช้บริการได้ รวมถึงแนวโน้มความต้องการก่อสร้างสถานบินรวมไปถึงเครื่องบินมีจำนวนมาก 5.อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อาทิ กลุ่มอุตสาหกรรมภาพยนตร์กลุ่มอุตสาหกรรมโฆษณากลุ่มธุรกิจการให้บริการด้านสถาปัตยกรรมกลุ่มธุรกิจการแพร่ภาพและกระจายเสียงไทยกลุ่มอุตสาหกรรมดนตรีของไทยกลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่นไทย ฯลฯ โดยปัจจุบันประเทศไทยมีแนวโน้มการเติบโดยของอุตสาหกรรมประเภทนี้สูงอย่างต่อเนื่อง นายวิฑูรย์ เพิ่มเติมว่า ถึงแม้ว่าในอนาคตประเทศไทยจะมีอุตสาหกรรมแห่งอนาคตเข้ามามีบทบาท และอย่างไรก็ตามประเทศไทยยังคงต้องส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม 6 ประเภทซึ่งล้วนเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมหลักของประเทศในปัจจุบัน อันได้แก่ 1. อุตสาหกรรมยาง 2. อุตสาหกรรมอาหาร 3. อุตสาหกรรมปิโตรเคมีหรือพลาสติก 4. อุตสาหกรรมยานยนต์ 5. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 6. อุตสาหกรรมเอทานอลและไบโอดีเซลรวมถึงประเทศไทยยังคงต้องตั้งเป้าในการเพิ่มตัวเลขมูลค่าของกลุ่มผลิตภัณฑ์หลักทางเกษตร ซึ่งเป็นสินค้าหลักของประเทศไทยได้แก่ข้าว ยางพารา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผลไม้ พืชพลังงาน ประมง ฯลฯรวมถึงรักษามาตรฐานของอุตสาหกรรมบริการ อาทิ ท่องเที่ยว ค้าปลีกหรือค่าส่ง ก่อสร้าง สื่อสารและโทรคมนาคม บริการสุขภาพ ซึ่งปัจจุบันสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยจำนวนมหาศาล ปัจจุบัน กนอ. มีนิคมอุตสาหกรรมที่อยู่ภายใต้การควบคุม 46 นิคมฯ ทั่วประเทศ กระจายอยู่ใน 14 จังหวัด ประกอบด้วยนิคมอุตสาหกรรมที่ กนอ. ดำเนินการเอง จำนวน 11 นิคม และนิคมอุตสาหกรรมที่ร่วมดำเนินงานกับผู้พัฒนา จำนวน 35 นิคม โดยในนั้นมีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่กว่า 4,000 โรงงาน มีพนักงานรวมกว่า 500,000 คน และมูลค่าอุตสาหกรรมรวมกว่า 2.7 ล้านล้านบาท อย่างไรก็ตาม กนอ. มีหน้าที่รับผิดชอบในการพัฒนาและจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมโดยจัดพื้นที่สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมอย่างมีระบบ ตลอดจนหน้าที่ในการกระจายการพัฒนาและเชื่อมโยงอุตสาหกรรมออกสู่ภูมิภาคทั่วประเทศเพื่อสร้างความเจริญเติบโตในภาคอุตสาหกรรมและบริการของประเทศสู่การเป็นนำประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการลงทุนของภูมิภาคอาเซียน รวมถึงหน้าที่ในการส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ ภาคการเกษตร ภาคท่องเที่ยวและบริการ ฯลฯ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของโลกและความต้องการภายในประเทศนายวิฑูรย์ กล่าวสรุป โดยนักลงทุนและผู้ประกอบการณ์ทั่วไป สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0-2253-0561 ต่อ 3305 หรือ 0-2253-2874หรือเข้าไปที่ www.ieat.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ