สรุปราคาซื้อขายทองคำและGold Futures ภายในประเทศ ณ วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 เวลา 09.00 น.

ข่าวเศรษฐกิจ Monday May 13, 2013 10:08 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--13 พ.ค.--เอ็มทีเอส โกลด์ ราคาทองคำเปิดตลาดที่ระดับ 1,461 เหรียญ/ออนซ์ และกลับมาปิดช่วงกลางคืนที่ระดับ 1,423 (22.30 น.) เหรียญ/ออนซ์ ค่าเงินบาทปิด 29.81 บาท/ดอลลาร์ ราคาสมาคมเปิดที่ 20,500 บาท กับ 20,550 บาท และกลับมาปิดที่ 20,350 บาท กับ 20,450 บาท ปริมาณการซื้อขาย Gold Futures 50 บาทอยู่ที่ 1,286 คู่สัญญา แบบ 10 บาท อยู่ที่ 4,101 คู่สัญญา Silver Futures อยู่ที่ - คู่สัญญา Open Interest แบบ 50 บาท ลดลง 0.3 % แบบ 10 บาท เพิ่มขึ้น 1.9 % GFM13 ปิด 20,260 บาท และ GFQ13 ปิด 20,340 บาท GF10M13 ปิด 20,250 บาท GF10Q13 ปิด 20,340 บาท สัญญา Comex ปิดลดลง 32 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,436.6 ดอลลาร์/ออนซ์ สัญญา Silver ลดลง 25.3 เซนต์ ปิดที่ 23.658 ดอลลาร์/ออนซ์ SPDR ถือครองทองคำ 1,051.65 ตัน (ขายออก 2.53 ตัน ) น้ำมัน NYMEX ลดลง 35 เซ็นต์ ปิดที่ 96.04 ดอลลาร์/บาร์เรล ดาวโจนส์ ปิดเพิ่มขึ้น 35.87 จุด ปิดที่ 15,118.49 จุด ข่าวที่สำคัญ เมื่อวันศุกร์นายเบน เบอร์นันเก ประธานเฟดไม่ได้กล่าวถึงมุมมองนโยบายการเงินหรือมุมมองเศรษฐกิจแต่อย่างใด ในขณะที่นายชาร์ลส พลอสเซอร์ ประธานเฟดสาขาฟิลาเดเฟีย (ไม่ได้เป็นสมาชิกที่ลงมตินโยบายปีนี้) กล่าวว่า อัตราการว่างงานอาจลดลงสู่ระดับ 7% ในช่วงปลายปี 2013 และเห็นด้วยในการที่เฟดจะลดขนาดของ QE ในเดือนหน้า วันศุกร์ SPDR ขายออก 2.53 ตัน ปัจจุบันคงทองคำที่ระดับ 1,051.65 ตัน กลับมาขายอีกครั้งหลังจากซื้อเมื่อวันพฤหัสบดีไป 2.71 ตัน นักลงทุนในทองคำเพิ่มสถานะ Short Position 6.4% เมื่อเทียบกับระยะมากกว่าสัปดาห์ก่อนหน้า ถือสถานะ Short อยู่ที่ 67,374 คู่สัญญา โดยสถานะ Long Position สุทธิทั้งฟิวเจอร์สและออพชั่นลดลง 10% สู่ระดับ 49,260 คู่สัญญา สกุลเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น 4.4% เมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น ในขณะที่บีโอเจกระตุ้นเศรษฐกิจและอีซีบีลดอัตราดอกเบี้ย เช้านี้ สกุลเงินเยนอ่อนค่าฝ่าแนว 102 เยน/ดอลลาร์เป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปีครึ่ง หลังจากกลุ่มประเทศ G7 ระบุว่า พวกเขาจะยอมอนุมัติการแข็งค่าของดอลลาร์และการอ่อนค่าของเงินเยนดำเนินต่อไปในตอนนี้ แต่กลยุทธ์เศรษฐกิจระหว่างประเทศและสหภาพธนาคารของยุโรปยังคงไม่ได้รับการแก้ไข ดูเหมือนว่าในสัปดาห์นี้ราคาทองคำจะถูกกดดันในทิศทางขาลงจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ จากการที่จะมีการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐภาคการผลิต ยอดค้าปลีก และอัตราเงินเฟ้อ ผลสำรวจมุมมองทองคำในสัปดาห์นี้จาก Kitco พบว่า นักวิเคราะห์ 8 รายมองขึ้น, 11 รายมองลง และ 6 รายมอง Sideways ในขณะที่ผลสำรวจของบลูมเบิร์กพบว่า นักวิเคราะห์ 12 คนมองขึ้น, 10 มองลง, และ 5 มอง Sideways วันนี้จะเป็นวันแรกของการเริ่มต้น "เทศกาลซื้อทองคำ" ของอินเดีย (Akshaya Tritiya) โดยมีการคาดการณ์ว่ายอดขายทองรูปพรรณจะเพิ่มขึ้น 30-35% หรือขายได้ประมาณ 400-450 กิโลกรัมต่อวัน ซึ่งร้านทองต่างๆ ตอนนี้กำลังตั้งเสนอลดราคาเพื่อกระตุ้นยอดขายในเทศกาลนี้ มีการคาดการณ์ว่า การนำเข้าทองคำของอินเดียจะลดลง 50% ต่ำกว่าระดับ 500 ตันในปีงบประมาณปีนี้ จากปีงบประมาณ 2012-2013 อินเดียมีการนำเข้าทองคำ 830 ตัน เนื่องจากผลของมาตรการเพิ่มภาษีนำเข้าทองคำของรัฐบาลอินเดีย อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากบลูมเบิร์กระบุว่า เดือนเมษายนอินเดียนำเข้าทองคำมากกว่า 100 ตัน มีมูลค่าประมาณ 4.7 พันล้านดอลลาร์ และคาดว่าการส่งทองคำจะเพิ่มขึ้นอีกครั้งในเดือนนี้ สมาคมค้าทองคำของจีนระบุว่า ในไตรมาสแรก จีนบริโภคทองคำ 320.54 ตัน เพิ่มขึ้น 25.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกปีที่แล้ว และในไตรมาสแรกจีนผลิตทองคำ 89.91 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 11.26% ในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 8 พฤษภาคม กลุ่มผู้จัดการฝ่ายการเงินถอนเงินออกจากกองทุนทองคำ 1.27 พันล้านดอลลาร์ นายโรบิน บาร์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยจากซอคเจน กล่าวว่า หากนักลงทุนกำลังถือครองทองคำเพื่อการลงทุนจะก่อให้เกิดต้นทุนค่าใช้จ่าย เนื่องจากตลาดอื่นๆ กำลังมีผลตอบแทนที่ดีกว่า โดยเฉพาะตลาดหุ้น โนมุระกล่าวว่า ราคาทองคำอาจปรับตัวสูงขึ้น แต่จำเป็นต้องได้รับแรงสนับสนุนจากกองทุน ETFs บีเอ็นพี พาริบาส ปรับลดคาดการณ์ราคาทองคำเฉลี่ยปีนี้ลงเหลือ 1,580 เหรียญ ลดลง 5% จากการคาดการณ์เดิม อย่างไรก็ตาม บีเอ็นพี พาริบาสคาดว่า ราคาทองคำจะปรับตัวสูงขึ้นในอีก 6 เดือนข้างหน้าสู่ระดับ 1,600 เหรียญ เนื่องจากมองว่า ปริมาณความต้องการทองคำจะเพิ่มขึ้นในอินเดียและจีน และเฟดจะยังคงใช้มาตรการ QE ต่อไป ดอยซ์ แบงก์ ปรับลดคาดการณ์เฉลี่ยทองคำปีนี้ลง 6% สู่ระดับ 1,533 เหรียญ และมองว่าค่าเงินดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นในอีกหลายปีที่จะมาถึง เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐจะเติบโตขึ้นจากผลของมาตรการผ่อนคลายการเงินของเฟด ในขณะที่เฮดจ์ฟันด์ต่างๆ มีการเพิ่มการเก็งกำไรในทองคำในทิศทางขาลง แบล็คร็อค อิงค์ ยังคงมองทองคำในทิศทางขาขึ้น ตัวเลขเศรษฐกิจเมื่อคืน - Federal Budget Balance ตัวเลขเดิมอยู่ที่ระดับ -106.5 B ตัวเลขที่คาดการณ์อยู่ที่ระดับ 108.3 B ตัวเลขจริงอยู่ที่ระดับ 112.9 B ตัวเลขเศรษฐกิจที่ต้องติดตาม - Core Retail Sales m/m ตัวเลขเดิมอยู่ที่ระดับ -0.4% ตัวเลขคาดการณ์อยู่ที่ระดับ -0.1% - Retail Sales m/m ตัวเลขเดิมอยู่ที่ระดับ -0.4% ตัวเลขคาดการณ์อยู่ที่ระดับ -0.3% ทิศทางราคาทองคำ ราคาทองคำโดยภาพรวมเริ่มปรับตัวลดลงหลังจากหลุดแนวรับที่ระดับ 1,450 เหรียญ โดยที่ไปทำจุดต่ำสุดโดยประมาณ 1,423 เหรียญ เมื่อคืนวันศุกร์และสามารถดีดกลับปรับตัวสูงขึ้นมาปิดตลาด COMEX ที่ระดับ 1,428 เหรียญ ราคาทองคำได้รับแรงกดดันจากตัวเลขการว่างงานที่ดีขึ้นของสหรัฐอเมริกาในรอบ 5 ปี ทำให้ค่าเงินดอลลาร์เองปรับตัวแข็งค่าขึ้น และยังส่งผลให้ค่าเงินบาทเองมีทิศทางอ่อนค่าลงด้วย โดยที่เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าต่อเนื่องจากการที่รัฐบาลยังไม่มีมาตรการที่ชัดเจน แต่พยายามพูดคุยหาหลักในการควบคุมให้มากขึ้น วิเคราะห์ราคาทองคำทางเทคนิค ราคาทองคำเป็นแนวโน้มทิศทางขาลง โดยที่สภาพรวมของราคาทองคำของไทยจะเคลื่อนตัวในกรอบ 20,200 — 20,550 บาท/บาททองคำ ยังแนะนำให้เก็งกำไรในทิศทางขาลงเป็นหลัก โดยขายเมื่อราคาปรับตัวสูงขึ้นไปบริเวณแนวต้าน 1,440 เหรียญ ในขณะที่แนวรับจะอยู่ที่ 1,400 เหรียญ กลยุทธ์การลงทุนในวันนี้ ยังเป็นการรอหาจังหวะขายเมื่อราคาดีดตัวสูงขึ้น ให้ระมัดระวังการอ่อนค่าของเงินบาท ซึ่ง ณ ขณะนี้อยู่ที่ระดับ 29.85 บาท/ดอลลาร์ และยังคงอ่อนตัวขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นตัวช่วยพยุงราคาทองคำได้อีกตัวหนึ่ง จะเห็นได้ว่าราคาทองคำของตลาดโลกยังปรับตัวในทิศทางขาลง โดยที่ SPDR ในวันศุกร์ก็มีการขายอีก 2.53 ตัน - นักลงทุนถือ Long Position ยังแนะนำให้หาจังหวะการปิด Long Position และเก็งกำไรระยะสั้นเนื่องจากการอ่อนค่าของเงินบาทยังมีผลต่อราคาทองคำด้วยเช่นดียวกัน - นักลงทุนที่ถือ Short Position คงต้องหาจังหวะในการทำกำไร โดยเข้าซื้อปิดเมื่อราคาอ่อนตัว Gold Futures M13 จะมีแนวรับที่ระดับ 20,180 บาท และแนวต้านที่ระดับ 20,380 บาท Gold Futures Q13 จะมีแนวรับที่ระดับ 20,260 บาท และแนวต้านที่ระดับ 20,460บาท บทวิเคราะห์ข้างต้นยึดหลักตาม Technical Analysis บริษัทไม่ได้มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ต่อการวิเคราะห์ข้างต้นและโปรดระลึกเสมอว่าการลงทุนมีความเสี่ยงโปรดใช้วิจารณญาณในการลงทุนด้วยตัวของท่านเอง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ