การบินตรงผลักดันกลยุทธ์การผลิตเครื่องบินของโบอิ้ง

ข่าวทั่วไป Wednesday February 2, 2005 08:19 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--2 ก.พ.--โอกิลวี่ พับลิค รีเลชั่นส์ เวิลด์วายด์
โบอิ้งเปิดเผยว่าการบินตรง โดยเน้นการสนองความต้องการของผู้โดยสารและสายการบิน เป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาเครื่องบินพาณิชย์ของบริษัท ล่าสุด แรนดี้ ทินเซ็ธ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและบริการ บริษัท โบอิ้ง คอมเมอร์เชียล แอร์เพลน จัดแถลงข่าวเพื่อพูดคุยกับสื่อมวลชนเรื่องตลาดการบินในเอเชีย
แรนดี้ ทินเซ็ธเปิดเผยต่อสื่อมวลชนว่าผู้โดยสารของสายการบินต่างๆ ต้องการเดินทางถึงจุดหมายด้วยเส้นทางบินตรงมากที่สุด ในเวลารวดเร็วที่สุดและในราคาที่สมเหตุสมผล นอกเหนือจากการมอบบริการที่น่าประทับใจให้กับผู้โดยสารแล้ว สายการบินที่ประสบความสำเร็จสูงสุดเน้นเรื่องสมรรถนะของตัวเครื่องบิน ความปลอดภัย ความน่าเชื่อถือและค่าใช้จ่ายในการครอบครองและการใช้เครื่อง เมื่อต้องการเลือกซื้อเครื่องบินลำใหม่ แรนดี้ กล่าวว่า “กลยุทธ์ของโบอิ้งในตลาดการบินทั่วโลกเน้นการตอบสนองตวามต้องการของผู้โดยสารและสายการบิน ผลจากการนี้ เราจึงเน้นลงทุนพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่จะกำหนดตลาดขึ้น เช่น โบอิ้ง 777, 787 และ 737 ซึ่งตอบสนองความต้องการส่วนใหญ่ในตลาด ขณะเดียวกันเรากำลังศึกษาเครื่องบินรุ่น 747 แอดวานซ์ ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่า คุ้มต่อการลงทุนและมีพิสัยบินไกลกว่า เครื่อง 747-400 ในปัจจุบัน”
เครื่องบินหลายรุ่นเช่น โบอิ้ง 777-200อีอาร์ จะช่วยให้สายการบินต่างๆ รวมทั้งการบินไทย สามารถเพิ่มรายได้ในตลาดการบินเอเชียซึ่งกำลังขยายตัวเครื่องบินรุ่นใหม่ล่าสุดอย่าง โบอิ้ง 787 ดรีมไลเนอร์ และเครื่องบินตระกูล 777 เป็นเครื่องบินประสิทธิภาพเยี่ยมที่จะใช้ตอบสนองความต้องการของผู้โดยสารและสายการบิน เครื่องบินเจ็ตของโบอิ้งจุที่นั่งตั้งแต่ 100 จนถึงมากกว่า 400 ซึ่งนับเป็นความหลากหลายในด้านขนาดและพิสัยบินที่ช่วยให้สายการบินเลือกใช้เครื่องบินให้เหมาะกับเส้นทางบินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความสำเร็จทางการตลาดของเครื่องบินที่ได้รับการขนานนามใหม่ว่า 787 ดรีมไลเนอร์ โดยมีลูกค้าแสดงความจำนงที่จะสั่งมากถึง 186 ลำ รวมทั้งยอดสั่งจอง 60 ลำจากประเทศจีนเมื่อสัปดาห์ก่อน เป็นผลจากการเอาใจใส่ต่อความต้องการของผู้โดยสารและสายการบิน เครื่องบินดังกล่าวจะช่วยย่นระยะเวลาเดินทาง และมอบประสบการณ์ในการเดินทางด้วยเครื่องบินที่น่าประทับใจที่สุด นอกจากนี้ เครื่องบิน 787 ยังมอบความคุ้มค่าการลงทุนและความน่าเชื่อถือให้กับสายการบินทั่วโลกในระดับที่สูงกว่าที่เคย
แรนดี้ เสริมว่า “ในเอเชีย เส้นทางบินไกลภายในภูมิภาคและเส้นทางบินข้ามทวีปมีความสำคัญอย่างยิ่ง และเครื่องบินโบอิ้ง 777 และ 787 ให้ความคล่องตัวในการรองรับทั้งเส้นทางบินหลักและเส้นทางบินรอง นอกจากนี้ เครื่องรุ่น 737 ยังเป็นผู้นำตลาดในเส้นทางบินระยะใกล้และเป็นรุ่นโปรดสำหรับสายการบินต้นทุนต่ำทั่วโลก และเครื่องรุ่น 747-400 ยังจะสามารถรักษาบทบาทสำคัญในการเป็นเครื่องบินที่ใช้สำหรับเชื่อมศูนย์กลางการบินได้ต่อไปในอีกหลายปีข้างหน้า”
โบอิ้ง 787-8 และ 787-9 พิสัยบินไกลเป็นรุ่นที่เสริมทัพเครื่อง 777-200อีอาร์, -300อีอาร์ และ -200แอลอาร์ ที่ โบอิ้งมีอยู่ในปัจจุบัน เครื่องรุ่น 777-200แอลอาร์ ซึ่งจะบินเที่ยวปฐมฤกษ์ในปีนี้ จะกลายเป็นเครื่องบินเจ็ตที่บินไกลที่สุดในโลก เมื่อเข้าสู่บริการในปี 2549 เครื่องบินที่มีทางเดินสองช่องรุ่นต่างๆ ของโบอิ้งมีประสิทธิภาพด้านการเผาผลาญเชื้อเพลิงดีกว่าเครื่องบินของคู่แข่ง และช่วยให้สายการบินแบ่งเบาภาระเรื่องราคา เชื้อเพลิงที่พุ่งสูงขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ได้
แถลงข่าวในนาม : บริษัท โบอิ้ง คอมเมอร์เชียล แอร์เพลนส์ จำกัด
รายละเอียดเพิ่มเติม : จุไรกาญจน์ ตระกูลเวช
( juraikarn.trakulvech@ogilvy.com)
บริษัท โอกิลวี่ พับลิค รีเลชั่นส์ เวิลด์วายด์ จำกัด
โทร. 0-2632-8300-7--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ