กรุงเทพฯ--17 พ.ค.--กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
นางสาวจุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ขอแถลงสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2556 ดังนี้
ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 มีนาคม 2556 มีจำนวน 5,121,300.73 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 44.16 ของ GDP โดยเป็นหนี้ของรัฐบาล 3,556,460.62 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,064,746.17 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 494,532.03 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 5,561.91 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสุทธิ 47,324.17 ล้านบาท โดยหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) และหนี้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้น 56,657.66 ล้านบาท และ 826.01 ล้านบาท ตามลำดับ ในขณะที่หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินและหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ ลดลง 7,667.88 ล้านบาท และ 2,491.62 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ นั้นไม่มีหนี้คงค้าง ทั้งนี้ รายละเอียดและสัดส่วนของหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2556
1. หนี้ของรัฐบาล
1.1 หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้นสุทธิ 8,958.06 ล้านบาท เนื่องจาก
1.1.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 1,221.97 ล้านบาท โดยผลจากการเปลี่ยนแปลงของ อัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 1,212.24 ล้านบาท ประกอบกับการชำระคืนหนี้สกุลเงินเหรียญแคนาดาทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 9.73 ล้านบาท
1.2 หนี้ในประเทศ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 10,180.03 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจากการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 8,265.77 ล้านบาท ทั้งนี้ การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณและการปรับโครงสร้างหนี้ระยะยาวและระยะสั้นส่งผลให้ทั้งหนี้เงินกู้เพื่อการชดเชยการขาดดุลและบริหารหนี้ระยะสั้นเพิ่มขึ้น 19,567.50 ล้านบาท และระยะยาวลดลง 11,301.73 ล้านบาท
1.2 หนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 11,867.95 ล้านบาท เนื่องจากการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อนำไปใช้คืนเงินทดรองจ่ายจากบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง (Premium FIDF 1 และ FIDF 3)
1.3 หนี้เงินกู้ล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 20,000 ล้านบาท เนื่องจากหนี้เงินกู้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่กู้ล่วงหน้ามาเพื่อใช้ในการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ที่ออกภายใต้ พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะฯ พ.ศ. 2548 ที่ครบกำหนดเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2555 จำนวน 99,000 ล้านบาท ดังนั้น จึงได้มีการนำเงินกู้ข้างต้นจำนวน 99,000 ล้านบาท ไปชำระคืนหนี้เงินกู้ภายใต้ พ.ร.บ. ข้างต้นที่ครบกำหนดในวันดังกล่าว
2. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน
2.1 หนี้ในประเทศ
2.1.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 2,305.47 ล้านบาท โดยเกิดจาก
- องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพออกพันธบัตร 1,850 ล้านบาท และไถ่ถอนพันธบัตร 465 ล้านบาท การเคหะแห่งชาติออกพันธบัตร 1,000 ล้านบาท และไถ่ถอนพันธบัตร 1,500 ล้านบาท และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ไถ่ถอนพันธบัตร 1,000 ล้านบาท
- รัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลค้ำประกันมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ มากกว่าการชำระคืนต้นเงินกู้ 2,420.47 ล้านบาท
2.1.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 4,748.73 ล้านบาท โดยเกิดจาก
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตออกพันธบัตร 5,000 ล้านบาท และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไถ่ถอนพันธบัตร 1,075 ล้านบาท
- รัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลไม่ค้ำประกันมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ 8,673.73 ล้านบาท
2.2 หนี้ต่างประเทศ
2.2.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 6,107.85 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลงสุทธิ 4,535.42 ล้านบาท ประกอบกับการเบิกจ่ายน้อยกว่าชำระคืนหนี้สกุลเงินเยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปหนี้เงินบาทลดลงสุทธิ 1,572.43 ล้านบาท
ทั้งนี้ หากพิจารณาในรูปเงินบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) จำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ หลังจากที่ทำการป้องกันความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว
2.2.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 883.23 ล้านบาท โดยผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลงสุทธิ 4,377.93 ล้านบาท ประกอบกับการเบิกจ่ายและชำระคืนหนี้สกุลเงินต่างๆ ทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นสุทธิ 5,261.16 ล้านบาท
3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน)
3.1 หนี้ในประเทศ
หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 57,000 ล้านบาท โดยเกิดจากการออกพันธบัตรและการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
3.2 หนี้ต่างประเทศ
หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 342.34 ล้านบาท โดยผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลงสุทธิ 145.66 ล้านบาท ประกอบกับการชำระคืนหนี้สกุลเงินเยนและสกุลเงินเหรียญสหรัฐทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 196.68 ล้านบาท
4. หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 2,491.62 ล้านบาท โดยเกิดจากหน่วยงานอื่นของรัฐมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ หนี้สาธารณะคงค้าง จำนวน 5,121,300.73 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหนี้ต่างประเทศ 334,990.33 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.54 และหนี้ในประเทศ 4,786,310.40 ล้านบาท หรือร้อยละ 93.46 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง และเป็นหนี้ระยะยาว 4,959,056.67 ล้านบาท หรือร้อยละ 96.83 และหนี้ระยะสั้น 162,244.06 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.17 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
ส่วนวิจัยนโยบายหนี้สาธารณะ สำนักนโยบายและแผน สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ โทร. 0 2265 8050 ต่อ 5512