กรุงเทพฯ--27 พ.ค.--คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์
ประเด็นข่าว
- ผู้ชนะรางวัลจากงาน งานประกวดผลงานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในโลก หรือ อินเทล ไอเซฟ หนึ่งในงานแข่งขันที่ใหญ่ที่สุดในโลกของ โซไซตี้ ฟอร์ ซายส์ แอนด์ เดอะ พับลิค ประกาศผลผู้ชนะที่เมืองฟินิกซ์
- ไอโอนุท บูดิสเทนู จากประเทศโรมาเนีย ได้รับรางวัลชนะเลิศ กอร์ดอน อี. มัวร์ พร้อมรับเงินสด มูลค่า 75,000 เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นรางวัลที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ กอร์ดอน อี. มัวร์ นักวิทยาศาสตร์ และผู้ร่วมก่อตั้งอินเทล
- อีสชา แคร์ จากเมืองซาราโทก้า รัฐแคลิฟอร์เนีย และ เฮนรี่ ลิน จากเมืองเชรฟพอร์ท รัฐหลุยส์เซียน่า คือสองผู้ชนะในรางวัลมูลนิธินักวิทยาศาสตร์เยาวชนจากอินเทล พร้อมรับรางวัลคนละ 50,000 เหรียญสหรัฐฯ จากมูลนิธิอินเทล
ไอโอนุท บูดิสเทนู อายุ 19 ปี งานประกวดผลงานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในโลก หรือ อินเทล ไอเซฟ หนึ่งในโปรแกรมจาก โซไซตี้ ฟอร์ ซายส์ แอนด์ เดอะ พับลิค ด้วยแนวความคิดรถยนต์ราคาประหยัดแบบไร้คนขับ
ไอโอนุท กล่าวว่าผลงานของเขาพัฒนามาจากปัญหาที่ใหญ่ระดับโลก โดยในปี 2547 นั้นมีผู้เสียชีวิตบนท้องถนน กว่า 2.5 ล้านคนทั่วโลก1 ซึ่งร้อยละ 87 มาจากความผิดพลาดของผู้ขับขี่2 ไอโอนุท ได้ใช้เทคโนโลยีเรดาร์แบบ 3 มิติและกล้องที่ติดอยู่บนตัวรถ เพื่อจับความเคลื่อนไหวของสภาพการจราจร เลนรถวิ่ง และทางโค้งบนถนน เพื่อให้ระบบคำนวณความสัมพันธ์กับตำแหน่งของรถ โดยระบบดังกล่าวราคาเพียง 4,000 เหรียญสหรัฐฯ จากแนวคิดนี้จึงทำให้เขาได้รับรางวัลชนะเลิศพร้อมรับเงินสด มูลค่า 75,000 เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นรางวัลที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ กอร์ดอน อี. มัวร์ นักวิทยาศาสตร์ และผู้ร่วมก่อตั้งอินเทล
นางสาวอภิษฎา จุลกทัพพะ จากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ชนะเลิศอันดับสามในสาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม และได้รับเงินรางวัลมูลค่า 1,000 เหรียญสหรัฐฯ จากผลงาน “การศึกษาประสิทธิภาพของดินฟอกสีที่ใช้แล้วจากกระบวนการฟอกสีน้ำมันปาล์ม ในการดูดซับโลหะทองแดง” นายพรภวิษย์ เจนจิรวงศ์ นายสหกฤษณ์ ธนิกวงศ์ และนายณัฐนนท์ พงษ์ดี จากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ได้รับรางวัลที่สี่ในสาขาวิทยาศาสตร์พันธุ์พืช พร้อมรับเงินรางวัลมูลค่า 500 เหรียญสหรัฐฯ จากโครงการ “การศึกษาผลของความชื้นสัมพัทธ์ ขนาดของแรงและจำนวนเส้นขนสัมผ้ส ต่อการหุบของใบต้นกาบหอยแครงชนิด ไดโอเนีย มัสสิพิวล่า เพื่อใช้ประยุกต์สร้างแบบพัฒนานวัตกรรมมือ” นายสวิตต์ คงเดชาเลิศ นายภควัฒน์ ภาณุวัฒน์สุข นายธวัชวงศ์ ตัณฑวนิชย์ จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ได้รับรางวัลที่สี่ในสาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม และได้รับเงินรางวัลมูลค่า 500 เหรียญสหรัฐฯ จากผลงาน “การพัฒนาเครื่องยนตร์สเตอร์ลิง เพื่อใช้ไบโอก๊าซเป็นเชื้อเพลิง”
อีสชา แคร์ วัย 18 ปี จากเมืองซาราโทก้า รัฐแคลิฟอร์เนีย ได้รับรางวัลจากมูลนิธินักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่จากอินเทล พร้อมเงินสดมูลค่า 50,000 เหรียญสหรัฐฯ โดยผลงานของเธอเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกแบบพกพา โดยคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่าในปัจจุบันผู้คนหันมาพกพาอุปกรณ์ดังกล่าวมากขึ้น การมีแบตเตอรี่ที่มีการใช้งานได้ยาวนานเป็นเรื่องสำคัญ เธอจึงคิดค้นอุปกรณ์เล็กๆที่ติดตั้งลงในแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือและสามารถชาร์จแบตเตอรี่จนเต็มได้ในเวลาเพียง 20-30 วินาที โดยแนวความคิดดังกล่าวยังมีความเป็นไปได้ที่จะนำมาใช้ในแบตเตอร์รี่รถยนต์อีกด้วย
เฮนรี่ ลิน วัย 17 ปี จากเมืองเชรฟพอร์ท รัฐหลุยส์เซียน่า คว้ารางวัลจากมูลนิธินักวิทยาศาสตร์เยาวชนจากอินเทล พร้อมเงินสดมูลค่า 50,000 เหรียญสหรัฐฯ จากการจำลองกาแล็กซี่จำนวนหลายพันกาแล็กซี่เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์ได้เข้าใจถึงฟิสิกส์ในระบบสุริยะมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ดาร์ก แมทเทอร์ หรือ ดาร์ก เอนเนอร์ยี่ รวมถึงความสมดุลย์ของความเย็นและความร้อนของวัตถุที่ใหญ่ที่สุดในจักรวาล
นายเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า“เราสนับสนุนงานประกวดผลงานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา เพราะเราเชื่อว่าวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นพื้นฐานของนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการเติบโตในระบบเศรษฐกิจโลกและความก้าวหน้าทางสังคม การแข่งขันในครั้งนี้ ได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียนนับล้านทั่วโลกให้เดินตามความฝันที่จะเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เพื่อสร้างแนวคิดใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหาในระดับโลก”
ปีนี้มีนักวิทยาศาสตร์เยาวชนกว่า 1,600 คน ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าแข่งขันในงานประกวดผลงานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา โดยเป็นการคัดเลือกจากเวทีการแข่งขัน 433 เวทีที่เกี่ยวข้อง จาก 70 ประเทศในทั่วทุกภูมิภาคและทวีปของโลก ซึ่งนอกจากการที่ได้รับรางวัลตามที่กล่าวด้านบนแล้ว ยังมีนักเรียนอีกกว่า 500 คนที่ได้เข้าผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศและยังได้รับรางวัลจากการโครงงานต่างๆ ที่เข้าประกวด รางวัลดังกล่าวรวมถึงผู้ชนะจำนวน 17 คนที่ได้รับรางวัล "Best of Category" มูลค่า 5,000 เหรียญสหรัฐฯ นอกจากนี้มูลนิธิอินเทล ยังได้มอบรางวัล 1,000 เหรียญสหรัฐฯ ให้กับแต่ละโรงเรียนและโครงการที่ผู้ชนะแต่ละคนเป็นตัวแทนให้อีกด้วย
รายชื่อของผู้ชนะ Best of Category ทั้ง 17 คน จาก 3 อันดับแรกที่ได้รับการคัดเลือก
หมวด ชื่อ นามสกุล เมือง รัฐ/ประเทศ
สัตวบาล ไมเคิล ชาว นอร์ธวิลล์ มิชิแกน
พฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซาริน ราห์มาน บรู๊คกิ้ง เซาท์ดาโกต้า
ซาวาน่า โทบิ้น ซาเล็ม โอริกอน
เซลล์และ แฮนน่า วาสทิค ปาล์มมีร่า เพนซิลวาเนีย
เคมีวิทยา อีสชา แคร์ ซาราโทก้า แคลิฟอร์เนีย
วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ไอโอนุท บูดิสเทนู แรมนิคู แวลเชีย โรมาเนีย
วิทยาศาสตร์โลกและดาวเคราะห์ กิว ทานากะ โมบาร่า ชิบะ ญี่ปุ่น
วิศวกรรมไฟฟ้าและเครื่องกล เซยู หลิว แคลแกรี่ อัลเบอร์ต้า แคนาดา
วิศวกรรมวัสดุและชีวภาพ ซาแมนต้า มาเกส มิดโลเธี่ยน เวอร์จิเนีย
พลังงานและการขนส่ง เอวี่ ซอบแซค เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ฟลอริด้า
การจัดการสิ่งแวดล้อม ซิฉวน ลี ลินน์ เฮเว่น ฟลอริด้า
วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม นาโอมิ ชาห์ พอร์ทแลนด์ โอเรกอน
คณิตวิทยา วิเนย์ อิเยงกา พอร์ทแลนด์ โอเรกอน
การแพทย์และสุขภาพ เจสซี่ แมคอัลไพน์ วูดสต๊อค ออนทาริโอ แคนาดา
จุลชีววิทยา เดวิด ซิมเมอร์เมน ลอส แอนเจลลิส แคลิฟอร์เนีย
ฟิสิกข์และดาราศาสตร์ เฮนรี่ ลิน เชรฟพอร์ท หลุยส์เซียน่า
พฤกษศาสตร์ ซาแมนธา ดิซาลโว ฮิวเลตต์ นิวยอร์ก
ไรอัน เคนนี่
เอมี่ วิธา
โซไซตี้ ฟอร์ ซายส์ แอนด์ เดอะ พับลิค เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรซึ่งมุ่งมั่นในการกระตุ้นให้สังคมหันมาให้ความสนใจกับการศึกษาและค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ อีกทั้งยังเป็นเจ้าของและผู้จัดการงานไอเซฟ มาตั้งแต่ปี 2493
“เราขอแสดงความยินดีกับ ไอโอนุท อีสชา และเฮนรี่ กับความสำเร็จที่พวกเขาได้รับในงานการประกวดผลงานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา ในสัปดาห์นี้ ที่เมืองฟีนิกซ์” อลิซาเบธ มารินโคล่า ประธานของ โซไซตี้ ฟอร์ ซายส์ แอนด์ เดอะ พับลิค กล่าว “ผลงานของพวกเขาได้แสดงถึงความทุ่มเททำงานหนักและความคิดสร้างสรรค์ ผู้ที่ได้เข้ารอบชิงชนะเลิศทุกคนในสัปดาห์นี้ได้แสดงให้เห็นถึงความพยายามที่จะเปิดรับพลังของวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อที่จะนำมาแก้ปัญหาและสร้างโอกาสในสังคมระดับโลก”
การแข่งขัน อินเทล ไอเซฟ นี้จัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติให้กับนักเรียนที่มีแววเป็นผู้ประกอบการ, ผู้สร้างนวัตกรรม หรือ นักวิทยาศาสตร์ โดยผู้เข้ารอบสุดท้าย ได้รับการคัดเลือกจากการแข่งขันทางวิทยาศาสตร์หลายร้อยงานทั่วโลก ผลงานของพวกเขาได้รับการพิจารณาจากกรรมการกว่า 1,200 คน ซึ่งมาจากเกือบทุกสาขาของวิทยาศาสตร์ ซึ่งทั้งหมดเป็นผู้เชี่ยวชาญระดับ Ph.D. หรือมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องมากกว่าหรือเท่ากับ 6 ปี ในสาขาเฉพาะทาง
ปีนี้นับเป็นปีแรกที่ผู้เข้ารอบชิง อินเทล ไอเซฟ ทุกท่านจะได้รับ ตราสัญลักษณ์แบบดิจิตอลระบุความสำเร็จในการค้นคว้าทางด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ อาสาสมัคร กรรมการ และล่าม ต่างก็ได้รับตราสัญลักษณ์เช่นเดียวกัน โดยถือเป็นการโปรโมตการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการ และยังเป็นการแสดงการยอมรับความสำเร็จที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในห้องเรียนเท่านั้น อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการตราสัญลักษณ์นี้ได้ที่ http://badging.societyforscience.org.
รายชื่อทั้งหมดของผู้เข้ารอบชิงชนะเลิศสามารถอ่านได้ที่ เอกสารประกอบงาน งานอินเทล ไอเซฟ ปี 2556 นั้นได้รับการสนับสนุนทางการเงินจาก อินเทล และ มูลนิธิอินเทล โดยได้รับการสนับสนุนของรางวัลจากองค์กร สถาบันการศึกษา หน่วยงานของรัฐ และองค์กรที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อีกหลายองค์กร โดยปีนี้มูลค่ารางวัลสูงกว่า 4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ โซไซตี้ ฟอร์ ซายส์ แอนด์ เดอะ พับลิค อ่านได้ที่www.societyforscience.org และติดตามได้ทาง Facebook และ Twitter
สำหรับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการศึกษาจากอินเทล ติดตามที่ www.intel.com/newsroom/education ร่วมพูดคุยกับเราทาง Facebook และ Twitter
เกี่ยวกับอินเทล
อินเทล เป็นผู้นำในด้านนวัตกรรมการประมวลผล รวมทั้งการออกแบบ และสร้างสรรค์เทคโนโลยีที่เป็นพื้นฐานการพัฒนาอุปกรณ์ประมวลผลระดับโลก ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอินเทล สามารถเข้าชมได้ที่newsroom.intel.com, www.intel.com/th, blogs.intel.com, ทวิตเตอร์ @Intelthailand และ เฟสบุ๊ค IntelThailand
Intel, Core, Atom และ Intel logo เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ อินเทล คอร์ปอเรชั่น หรือสำนักงานสาขาในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆขอสงวนสิทธิ์
*ชื่อและยี่ห้ออื่นอาจถูกอ้างอิงถึงโดยถือเป็นทรัพย์สินของชื่อยี่ห้อนั้นๆ