กรุงเทพฯ--28 พ.ค.--PRDD
นางโชติกา สวนานนท์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ บริษัทฯ ได้รับการประกาศปรับอันดับความน่าเชื่อถือจาก บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นระดับ สูงสุด “Highest standards (tha)” ซึ่งแสดงถึงการที่บริษัทมีการจัดการด้านปฏิบัติการและการลงทุนที่โดดเด่น กว่ามาตรฐานที่นักลงทุนสถาบันภายในประเทศใช้ในการพิจารณา จากเดิมที่บริษัทฯเคยได้รับประกาศจะอยู่ที่ระดับ“M2+(tha)” ซึ่งแสดงถึงการที่บริษัทมีความเสี่ยงต่ำต่อความล้มเหลวในการจัดการด้านการปฏิบัติการและการลงทุนเมื่อเทียบ กับบริษัทจัดการกองทุนอื่นในประเทศไทย
นางโชติกากล่าวว่า การได้รับประกาศการจัดอันดับความน่าเชื่อถือสูงสุดดังกล่าว ถือเป็นความภูมิใจและตอกย้ำ ความมั่นใจว่า ระบบงานที่บริษัทฯได้ปูทางไว้เป็นสิ่งที่ถูกต้องและได้รับการยอมรับอย่างดีจากนักลงทุนสถาบันซึ่งจะพิจารณา ที่กระบวนการทำงานมากกว่าที่จะเลือกลงทุนด้วยการพิจารณาความสามารถของผู้จัดการกองทุนเพียงอย่างเดียว การให้ ฟิทซ์เรตติ้งวัดผลอันดับบริษัทจัดการกองทุนภายในประเทศ (National Scale Asset Manager Rating) ในปีนี้ถือเป็นปีที่ 3 และเป็นสิ่งที่บลจ.ไทยพาณิชย์ให้ความสำคัญมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการเติบโตในระยะยาวด้วยการ เตรียมความพร้อมโดยพัฒนาระบบการลงทุน ระบบบริหารความเสี่ยง ระบบการคำนวณมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ (NAV) ที่แม่นยำเพื่อให้นักลงทุนสถาบันที่ใช้บริการเกิดความมั่นใจ และเป็นสิ่งที่นักลงทุนรายย่อยได้รับประโยชน์ด้วย
ทั้งนี้ ฟิทช์ได้มีการปรับหลักเกณฑ์ Rating Scale และคำจำกัดความของอันดับบริษัทจัดการกองทุน ในเรื่องการบริหารการลงทุนและการปฏิบัติการในการลงทุน โดยแบ่งการจัดอันดับออกเป็น “Good Standards (tha)”, “High Standards (tha)”, และ” Highest standards (tha)” โดยเปรียบเทียบกับมาตรฐานที่นักลงทุนสถาบัน ทั่วโลกใช้ในการพิจารณาเลือก ส่วนในกรณีของอันดับบริษัทจัดการกองทุนภายในประเทศ จะเปรียบเทียบกับมาตรฐานที่ นักลงทุนสถาบันภายในประเทศใช้ในการพิจารณา
การที่ฟิทช์ประกาศเปลี่ยนอันดับบริษัทจัดการกองทุนของ บลจ.ไทยพาณิชย์ ยังได้สะท้อนถึงการที่บริษัทมีชื่อเสียง ที่ดี และเป็นที่รู้จักในธุรกิจการบริหารจัดการกองทุนในประเทศไทย การมีส่วนแบ่งทางการตลาดที่สูง รวมถึงได้รับการ สนับสนุนเป็นอย่างดีจากธนาคารไทยพาณิชย์ ทั้งด้านช่องทางการขายที่แข็งแกร่ง การบริหารจัดการความเสี่ยง การกำกับ และควบคุม และ ด้าน IT ซึ่งมีความพร้อมสูงทั้งทางด้านบุคลากรและทรัพยากรในสายงานดังกล่าว นอกจากนี้ ธนาคาร ไทยพาณิชย์ ยังได้ให้ความสำคัญต่อธุรกิจการบริหารจัดการกองทุน และให้การสนับสนุนทั้งด้านการปฏิบัติงานและการเงิน
ถึงแม้ว่ากองทุนส่วนใหญ่ของบลจ.ไทยพาณิชย์จะเป็นการกองตราสารหนี้ และกองตราสารทุน บริษัทก็มีแผนที่จะ เพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง โดยการเสนอขายกองทุนที่ลงทุนในตราสารมากกว่า 1 ประเภท (multi asset class) ซึ่งรวมถึงกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ กองทุนผสมที่ลงทุนทั้งในและต่างประเทศ และกองทุนที่สะท้อนถึง ระดับความเสี่ยงที่รับได้ของผู้ลงทุนแต่ละประเภท (risk target funds) นอกจากนี้บริษัทยังเน้นกลยุทธ์ customer centric โดยการยึดเอาความต้องการของลูกค้าเป็นจุดศูนย์กลางในการเสนอผลิตภัณฑ์แก่ลูกค้าสถาบันประเภทกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุนส่วนบุคคล
ส่วนกรอบนโยบายการบริหารจัดการและความเสี่ยงของบริษัท อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งกรอบนโยบายหลักดังกล่าวสนับสนุนให้บริษัทสามารถทำหน้าที่บริหารจัดการกองทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมี คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของบลจ.ไทยพาณิชย์และฝ่ายบริหารความเสี่ยงของธนาคารไทยพาณิชย์ร่วมกันบริหารความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงานและความเสี่ยงด้านการจัดการลงทุน ซึ่งฟิทช์มองว่าบริษัทมีกระบวนการวิเคราะห์ที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง