กรุงเทพฯ--6 มิ.ย.--ไอบีเอ็ม ประเทศไทย
การแข่งขันอย่างรุนแรงของธุรกิจให้บริการด้านการเงินส่งผลให้สถาบันการเงินต่างจำเป็นจะต้องเฟ้นหานวัตกรรมเพื่อมาปรับใช้กับรูปแบบธุรกิจและขยายช่องทางรายได้ใหม่ๆ เพื่อเอาชนะคู่แข่ง ไอบีเอ็มชี้การพลิกโฉมและปรับเปลี่ยนธุรกิจสู่ระบบดิจิตอลโดยให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นหลักเป็นปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จ
นับจากที่เริ่มมีโซเชียลมีเดียเกิดขึ้น โลกของเราได้ก้าวสู่ยุคของโมบายล์คอมพิวติ้งอย่างเต็มตัว ในขณะที่คลื่นลูกที่สองของการปฏิวัติเทคโนโลยีโมบายล์ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปรับใช้ระบบโมบายล์ในแวดวงธุรกิจกำลังจะมาถึง หลายๆ บริษัทหันมาใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีโมบายล์เพิ่มมากขึ้น เพื่อผลักดันการติดต่อสื่อสารอย่างใกล้ชิดกับลูกค้า ซึ่งจะช่วยกระชับความสัมพันธ์ ส่งเสริมความผูกพันที่มีต่อแบรนด์ ปรับปรุงผลประกอบการธุรกิจ และก้าว "แซงหน้า" คู่แข่งในตลาดที่พัฒนาแล้ว
ควาโฟ โอโฟรี-โบอาเต็ง หัวหน้าฝ่ายโกลบอลโซลูชั่น - ตลาดบริการลูกค้าและข้อมูลเชิงลึก การธนาคารและการเงิน กล่าวว่า “เราได้กำหนดแนวทางหลัก 4 ข้อสำหรับการจัดการการปฏิรูปด้านดิจิตอล (Digital Transformation) และการ “สร้างรายได้” (Monetize) จากฐานลูกค้าที่มีอยู่ รวมถึงการปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ โดยแนวทางที่ว่านี้ได้แก่ 1. การผนวกรวมช่องทางจัดจำหน่ายที่มุ่งเน้นลูกค้าเป็นหลัก 2. การพัฒนาจาก "โซเชียลมีเดีย" ไปสู่ "โซเชียลบิสซิเนส" 3. การเพิ่มขีดความสามารถในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีอยู่โดยใช้ระบบวิเคราะห์ข้อมูลแบบที่ไม่มีโครงสร้าง และ 4. การขยายขีดความสามารถเพื่อคาดการณ์ความต้องการในอนาคต”
ไอบีเอ็มระบุธุรกิจการเงินและประกันภัยจะได้รับประโยชน์จากแนวทางแต่ละข้อ ดังนี้
1. การผนวกรวมช่องทางจัดจำหน่ายที่มุ่งเน้นลูกค้าเป็นหลัก ช่วยให้สถาบันการเงินสามารถลดค่าใช้จ่ายในการประมวลผลธุรกรรม ด้วยอัตราส่วนธุรกรรมออนไลน์พื้นฐานที่เพิ่มขึ้นและ ประสบการณ์จากการใช้บริการผ่านหลายช่องทางที่มีประสิทธิภาพช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ในขณะที่ลูกค้าสถาบันการเงินจะได้รับประโยชน์เพิ่มมากขึ้นจากบริการออนไลน์ของธนาคาร ทำให้ลูกค้ามีความภักดีต่อธนาคารมากขึ้น ลดอัตราการเปลี่ยนไปใช้บริการของสถาบันการเงินอื่น และปรับปรุงภาพลักษณ์ในสายตาของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
2. การพัฒนาจาก “โซเชียลมีเดีย” ไปสู่ “โซเชียลบิสซิเนส” ช่วยสถาบันการเงินเพิ่มรายได้ด้วยการจัดหานวัตกรรมทางด้านผลิตภัณฑ์และบริการให้แก่ลูกค้า เสริมสร้างความภักดีของลูกค้าด้วยการเพิ่มจำนวนลูกค้าที่ให้การสนับสนุนและช่วยโปรโมตผลิตภัณฑ์และบริการของธนาคาร รวมถึงฟื้นฟูความเชื่อมั่นและปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า
3. การใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีอยู่โดยใช้ระบบวิเคราะห์ข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง (unstructured data) ช่วยเพิ่มรายได้จากลูกค้า (คาดว่าสูงสุด 40% ในตลาดใหม่ๆ) เพิ่มยอดขายผลิตภัณฑ์และบริการเสริมที่เกี่ยวข้อง 10-15%และเพิ่มความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าและช่วยรักษาฐานลูกค้าที่มีอยู่
4. การขยายขีดความสามารถเพื่อคาดการณ์ความต้องการในอนาคต ทำให้สถาบันการเงินสามารถนำผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว ด้วยการนำบริการมาปรับใช้ใหม่และตอบสนองความท้าทายของตลาดและการสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างฉับไวต เพิ่มประสิทธิภาพในการจำหน่ายบริการเสริมที่เกี่ยวข้องและการนำเสนอแคมเปญ รวมทั้งตอบสนองความคาดหวังของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยสร้างเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์และเพิ่มความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า
ไอบีเอ็มเชื่อว่าธุรกิจบริการด้านการเงินจะเติบโตรุดหน้าได้ จำเป็นที่จะต้องปรับปรุงระบบสารสนเทศให้สามารถพัฒนาและดำเนินการโดยอาศัยข้อมูลเชิงลึกใหม่ๆ ก่อนหน้าคู่แข่ง ทั้งนี้ ไอดีซีระบุว่าไอบีเอ็มครองตำแหน่งผู้นำอันดับ 1 ในด้านการจัดหาบริการและโซลูชั่นเทคโนโลยีด้านการเงินแก่ธนาคารชั้นนำระดับโลกที่ติดอันดับ Top 25 โดยไอบีเอ็มนำเสนอโซลูชั่นที่ครบถ้วนสมบูรณ์มากที่สุดในอุตสาหกรรม ครอบคลุมทั้งซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ บริการ พร้อมความเชี่ยวชาญเชิงลึกเกี่ยวกับอุตสาหกรรม ส่งผลให้ไอบีเอ็มมีความพร้อมมากกว่าในการให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าเพื่อกลั่นกรองข้อมูลเชิงลึกที่จะผลักดันการปฏิรูปธุรกิจและการสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับการประสานงานร่วมกัน
ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ
บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด
กฤษณา วิทยานนท์
โทร 02.273.4261 อีเมล์ krisna@th.ibm.com