วีซ่าช่วยธนาคารสมาชิกประหยัดค่าใช้จ่าย จับมือสามผู้ผลิตชั้นนำลดราคาเครื่องรับบัตรกว่า 50%

ข่าวทั่วไป Friday October 30, 1998 15:50 —ThaiPR.net

กรุงเทพ--30 ต.ค.--วีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล
วีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล จับมือสามผู้ผลิตเครื่องรับบัตรชั้นนำ และไฮเปอร์คอม, อินจินิโค และคีคอร์ป สร้างโปรแกรมใหม่ล่าสุดสำหรับใช้กับเครื่องรับบัตรด้วยระบบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งช่วยลดต้นทุนให้กับธนาคารต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์
โปรแกรม วีซ่า พรีเฟอร์ เพอร์เชส หรือ วีซ่า พีพีพี นอกจากจะช่วยลดต้นทุนของเครื่องรับบัตรแล้วยังช่วยเพิ่มจำนวนเครื่องรับบัตร Electronic Data Capture ที่สามารถใช้งานร่วมกับชิบได้ให้ครอบคลุมทั่วภูมิภาคเครื่องรับบัตรดังกล่าวนี้จะเป็นเครื่องรุ่นใหม่ที่ใช้สำหรับประมวลผลบัตรชำระเงิน ซึ่งมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้น มีความปลอดภัยมากขึ้น และสามารถรองรับการทำงานด้วยบัตรสมาร์ทการ์ดอีกด้วย
เครื่องรับบัตรแห่งอนาคตนี้อำนวยประโยชน์ต่าง ๆ ให้กับร้านค้าได้มากมาย เช่น ลดค่าใช้จ่ายในการเรียกเก็บเงินคืน แก้ปัญหาการปลอมแปลงใช้บัตรได้รัดกุมมากยิ่งขึ้น และช่วยให้ร้านมียอดขายเพิ่มขึ้น ในส่วนของธนาคาร เครื่องรุ่นใหม่นี้จะมีพื้นฐานที่เตรียมไว้รองรับการทำงานกับบัตรสมาร์ทการ์ด ถึงแม้ในปัจจุบันเครื่องรับบัตรนี้ยังใช้งานได้ในระดับพื้นฐานทั่วไป อาทิ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน การเรียกค่าชดเชย และการป้องกันการปลอมแปลงใช้บัตร
มร. ฮิลลารี่ ควาห์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารร้านค้า และเครื่องรับบัตร วีซ่า เอเชีย-แปซิฟิก กล่าวว่า "ธนาคารสมาชิกต่างทราบดีถึงเหตุผลเบื้องหลังในการใช้เครื่องรับบัตร รวมถึงเรื่องต้นทุนการซื้อเครื่องใหม่ ดังนั้นวีซ่าจึงได้ร่วมมือกับผู้ให้บริการเครื่องรับบัตรชั้นนำในภูมิภาคเพื่อหาทางช่วยลดต้นทุน"
มร. ควาห์ กล่าวเสริมว่า "วีซ่าจึงได้จัดโปรแกรม "วีซ่า พรีเฟอร์ เพอร์เชส" เสนอเครื่องรับบัตรรุ่นใหม่ในราคาถูก ซึ่งธนาคารอาจจะหาซื้อไม่ได้ด้วยตนเอง ถึงแม้ธนาคารจะสั่งซื้อเครื่องครั้งละมาก ๆ ก็ตาม ข้อตกลงวีซ่าพีพีพี ที่ทำกับกับไฮเปอร์คอม, อินจินิโค และคีย์คอร์ป จะช่วยธนาคารจะสามารถซื้อเครื่องรับบัตรอีดีซีได้ในราคาถูกอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน" วีซ่าตั้งเป้าว่าจะติดตั้งเครื่องรับบัตรให้ได้มากกว่า 200,000 จุดภายในปี 2541 นี้ และหากว่าวีซ่าสามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ย่อมหมายความว่าวีซ่าสามารถช่วยประหยัดต้นทุนในการซื้อเครื่องให้กับธนาคารต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกได้สูงถึง 100 ล้านเหรียญสหรัฐ
"วีซ่า พีพีพี มีขั้นตอนการดำเนินงาน 2 ระดับ กล่าวคือ ระดับแรกคือคุณภาพของเครื่องรับบัตร ไฮเปอร์คอมเป็นผู้จำหน่ายอิสระชั้นนำในด้านเทคโนโลยี point-of-sale และมีฐานธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ส่วนธุรกิจของอินจินิโค เติบโตจากการเป็นผู้จำหน่ายเครื่อง EFTPOS รายใหญ่ที่สุดในฝรั่งเศส และก้าวขึ้นเป็น ผู้จำหน่ายเครื่องรับชำระเงินที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก
คีย์คอร์ป มีหน้าที่ในการออกแบบ ผลิต และทำตลาดเครื่อง point-of-sale รวมถึงเครื่องรับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ หน้าจอมอนิเตอร์แบบ flat-screen ซึ่งเป็นอุปกรณ์ประจำสาขา และบัตรสมาร์ทการ์ด อีกทั้งยังเป็นผู้จำหน่ายเครื่องรับบัตรแบบอีดีซีที่ใหญ่ที่สุดในออสเตรเลีย
"ทั้งนี้วีซ่าได้เลือกที่จะร่วมมือกับพันธมิตรที่มีความโดดเด่นทั้งด้านการเป็นผู้นำตลาด การเป็นผู้จัดจำหน่ายในระดับภูมิภาค ความแข็งแกร่งในการบริการและการดูแลรักษา ด้านเทคโนโลยีเครื่องรับบัตรที่มีระบบการทำงานหลากหลาย ตลอดจนมีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วนี้ ราคานับเป็นเรื่องสำคัญที่ควบคู่ไปกับคุณภาพ ธนาคารจะได้รับข้อเสนอที่จูงใจในการซื้อเครื่องรับบัตรอาทิเช่น
* แพ็จเก็จลดราคา พีพีพี เสนอราคาเครื่องรับบัตรในราคาถูกอย่างคาดไม่ถึง
* ในกรณีที่วีซ่าสามารถบรรลุเป้าหมายการติดตั้งเครื่องรับบัตรในภูมิภาคตามที่ตั้งไว้ ธนาคารที่เข้าร่วมโปรแกรมจะได้รับเงินคืนในอัตราที่กำหนด
* ธนาคารที่มีสาขาตั้งอยู่ในแต่ละภูมิภาคสามารถสะสมยอดซื้อข้ามประเทศ เพื่อรับสิทธิพิเศษในการซื้อเครื่องรับบัตรในราคาพิเศษสุด
* เครื่องจะให้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และมีระบบรักษาความปลอดภัยที่มั่นคงมากยิ่งขึ้น ช่วยให้ลดค่าใช้จ่ายของธนาคารในการแก้ปัญหาการปลอมแปลงใช้บัตรและการเรียกค่าชดเชยน้อยลง
มร. ควาห์ กล่าวเสริมว่า "วีซ่ามีบทบาทในการให้ความสนับสนุนกับธนาคารสมาชิกของเรา ไม่เพียงแค่ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำเท่านั้น แต่ยังร่วมเป็นพันธมิตรกับสมาชิก เพื่อสร้างความก้าวหน้าสู่อนาคต อีกทั้งขยายการใช้สมาร์ทการ์ดให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น เราเชื่อว่าเพ็กเก็จข้อเสนอพิเศษสุดที่เพียบพร้อมด้วยสินค้าคุณภาพสูงในราคาถูกนี้น่าจะได้รับความสนใจจากบรรดาธนาคารสมาชิกของเรา"
โปรแกรมวีซ่า พีพีพี จะเริ่มไปจนถึงเดือนมกราคม 2543 โดยจะนำเสนอเครื่องรับบัตร EDC ให้เลือกมากมายกว่า 20 รุ่น ซึ่งเครื่องทั้งหมดนี้จะสามารถใช้กับเครื่องพินแพ็ด และสมาร์ทการ์ด หรือสามารถอัพเกรดให้สามารถรองรับการทำงานที่กล่าวมาแล้วนี้อีกด้วย
จากการรายงานผลการเติบโตของยอดบัตรวีซ่า และปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรตลอดช่วง 12 เดือน สิ้นสุดเดือนมีนาคม 2541 สะท้อนให้เห็นว่ามีแนวโน้มว่าการใช้จ่ายผ่านบัตรในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เริ่มเข้ามาแทนที่การใช้จ่ายแทนเงินสดและเช็คอย่างต่อเนื่อง
ปริมาณการใช้จ่ายโดยรวมพุ่งสูงถึง 186.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ เปรียบเทียบกับยอดการซื้อสินค้าและบริการ และการใช้จ่ายด้วยเงินสดคิดเป็นมูลค่า 136.2 พันล้านเหรียญ (หรือเพิ่มขึ้น 28% ตลอดระยะเวลา 12 เดือน) บวกกับกิจกรรมด้านการพาณิชย์ที่ใช้บัตรวีซ่าในจีนคิดเป็นมูลค่า 50.5 พันล้านเหรียญจากการรายงานของธนาคารสมาชิกในประเทศจีน โดยมีบัตรวีซ่าในภูมิภาคเพิ่มขึ้น 112.9 ล้าน หรือเพิ่มขึ้น 10% ตลอดช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ยอดการทำรายการผ่านบัตรวีซ่าในภูมิภาคสูงถึง 1.18 พันล้านครั้ง หรือเพิ่มขึ้น 34% จากช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ตัวเลขดังกล่าวแสดงให้ทราบว่าจะมีการทำรายการถึง 36 รายการต่อวินาทีในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
ในฐานะที่วีซ่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการชำระเงิน วีซ่าจึงเป็นบัตรชำระเงินที่ได้รับความนิยม และเป็นระบบการชำระเงินของผู้บริโภคที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก โดยมีปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรมากกว่าบัตรชำระเงินรายใหญ่อื่นๆ ทั่วโลกทั้งหมดรวมกัน วีซ่ามีบทบาทเด่นชัดในการออกแบบผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีด้านการชำระเงินที่ทันสมัยเพื่อประโยชน์ของสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิก 21,000 ราย และเพื่อผู้ถือบัตรวีซ่า
ในฐานะผู้นำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาสู่ตลาด วีซ่ามีโครงการบัตรอัจฉริยะ 70 โครงการอยู่ใน 31 ประเทศ และบนอินเตอร์เน็ต โดยวีซ่าได้ออกบัตรติดชิพไปแล้ว 22 ล้านใบ รวมถึงบัตรวีซ่า แคช 8 ล้านใบ วีซ่าเป็นผู้บุกเบิกโครงการ SET Electronic Transaction เพื่อพัฒนาระบบการค้าบนอินเตอร์เน็ตให้มีความก้าวหน้า ปัจจุบันบัตรที่ออกในนามวีซ่ามีมากกว่า 650 ล้านใบ โดยมีปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรในแต่ละปีถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ บัตรวีซ่าได้รับการยอมรับในจุดรับบัตรมากกว่า 15 ล้านแห่งทั่วโลก ซึ่งรวมถึงเครื่องเอทีเอ็มกว่า 440,000 เครื่องที่อยู่ในเครือข่าย Visa Global ATM Network
ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ:ไมค์ หลิว วีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชีย-แปซิฟิก โทร: +65-437 5509 โทรสาร: +65-437 5567 อีเมลล์: mliew@visa.com --จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ