กรุงเทพฯ--18 มิ.ย.--โฟร์ฮันเดรท
Constructivism เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่ตั้งอยู่บนรากฐานการพัฒนามาจากทฤษฎี Cognitive Learning Theory ของนักจิตวิทยาชาว Switzerland Jean Piaget (1896-1980) ซึ่งศึกษากระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาของสมองมนุษย์ในแต่ละช่วงอายุ ตั้งแต่วัยทารก จนถึงวัยเติบโตเป็นผู้ใหญ่
ทฤษฎีการศึกษา Constructivism เชื่อมั่นว่ามนุษย์เราสามารถสร้างองค์ความรู้ขึ้นมาได้ด้วยตัวเอง โดยอาศัยหลักธรรมชาติที่ว่า มนุษย์เราเกิดมาพร้อมด้วยความใฝ่รู้ ความอยากรู้อยากเห็น ความอยากทดลองและอยากลงมือสัมผัสกับสิ่งที่ท้าทาย เมื่อได้มีโอกาสสัมผัสกับข้อปริศนาหรือสิ่งท้าทายนั้นๆ องค์ความรู้ก็จะเกิดขึ้น และยิ่งถ้าได้รับโอกาสในการสัมผัสมิติที่ต่างออกไปขององค์ความรู้นั้นๆ มากขึ้นเท่าใด องค์ความรู้นั้นๆ ก็จะได้รับการปรับแต่งให้สมบูรณ์มากขึ้นเท่านั้น การเรียนรู้ของมนุษย์เราจึงเป็นขบวนการที่มีการปรับความสมดุล และมีการต่อยอดไปเรื่อยๆ และความแตกฉานในองค์ความรู้ก็จะเกิดตามมา
ผู้เรียนโดยเฉพาะเด็กน้อยในสายตาของนักการศึกษา Constructivism จะถูกเปรียบเสมือนนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ที่เต็มไปด้วยความกระตือรือร้น ความอยากรู้อยากเห็น ความต้องการสรรหาคำตอบกับทุกเรื่องที่ตนเองยังมีความสงสัยหรือข้องใจ (นี่คือสาเหตุที่เด็กๆ ไม่สามารถอยู่นิ่งกับที่มักจะ “ซุกซน” เป็นปกตินิสัย) และโดยเฉพาะเมื่อโลกเราเต็มไปด้วยสิ่งท้าทาย และสิ่งที่เขายังฉงน แครงใจ ทำให้อยากรู้ อยากทำความเข้าใจกับมัน อยากได้คำตอบให้กับข้อสงสัยนั้นๆ เพราะฉะนั้น คำถามที่ว่า “ทำไม? ทำไม?” จึงเป็นบุคลิกเฉพาะตัวของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์เหล่านี้ เมื่อเกิดความสงสัย ก็ไม่รั้งรอที่จะสรรหาคำตอบซึ่งบางครั้งคำตอบที่ได้รับมาจากการบอกเล่า ถ่ายทอดมาจากคำพูดหรือภาพ ก็สู้การได้ลงมือทดลองเองสัมผัสเอง ค้นหาคำตอบเองไม่ได้ เช่น ข้อพิศวงที่ว่าทำไมจึงมีน้ำไหลออกจากก๊อกน้ำ และน้ำที่ไหลออกจากก๊อกน้ำ ทำไมบางทีไหลแรง ทำไมบางทีไหลค่อย มันมาจากไหน ไหลลงท่อแล้วไปไหน เป็นต้น ฉะนั้น เราจึงมักเห็นเด็กๆ สาระวนอยู่กับเปิด-ปิดก๊อกน้ำเล่น และเล่นอยู่ได้เป็นเวลานาน เนื่องจากกำลังอยู่ในขบวนการค้นหาคำตอบอยู่
ในการจัดกระบวนการเรียนการสอนตามหลักการของ Constructivism จึงเป็นขบวนการที่ต้องตั้งอยู่บนหลักการที่ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสสร้างองค์ความรู้จากประสบการณาตรงของผู้เรียนเอง โรงเรียนต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเข้าสัมผัสปัญหา ให้เวลาในการคิดวิเคราะห์ในการค้นหาคำตอบให้กับคำถามที่คาใจอยู่ ทั้งนี้ องค์ความรู้จะแตกฉานเพียงใด ขึ้นกับสิ่งแวดล้อมที่ผู้เรียนนั้นๆ เจริญเติบโตอยู่ ว่าเอื้ออำนวยเท่าใด สิ่งแวดล้อมดังกล่าวคือ สิ่งแวดล้อมทางบ้าน (พ่อแม่ พี่น้อง ญาติ เพื่อนบ้าน) ทางโรงเรียน (ครู เพื่อน สภาวะแวดล้อมโรงเรียน) และสังคมใหญ่ ทั้งนี้สิ่งแวดล้อมเหล่านี้ล้วนมีบทบาทสำคัญในการช่วยส่งเสริมการเรียนรู้หรือในทางตรงกันข้ามช่วยชะลอหรือสกัดกั้นทำให้สมองและความรู้ไม่สามารถแตกฉานได้เต็มศักยภาพของมัน กล่าวโดยสรุป ภายใต้สิ่งแวดล้อมทีดี ที่ปราศจากความกดดัน หรือเสมอไปด้วย ระบียบวินัยที่เคร่งครัดเกินควร ผู้เรียนจะได้รับโอกาสการค้นคิด ได้รับการส่งเสริมหรือชี้แนะแนวการคิดหรือได้รับพื้นฐานในการสรรหาแหล่งข้อมูล เป็นต้น
การเรียนรู้จากระบบ Constructivism จะสามารถ สร้างความเป็นผู้นำ, สร้างความคิดริเริ่ม/สร้างสรรค์, สร้างความอยากรู้อยากเห็น/อยากเรียนรู้, สร้างความเชื่อมั่น, สร้างทัศนคติที่ดีต่อปัญหาที่มากระทบ และมีความมุมานะในการแก้หรือต่อสู้กับปัญหานั้นๆ
ขบวนการจัดการเรียนการสอน (Implementation)
Hand on เปิดโอกาสให้สัมผัสหรือมีประสบการณ์ตรงกับกิจกรรมเรียนรู้
Process Oriented ให้ผ่านขบวนการเรียนรู้
Challenging สร้างกิจกรรมที่ท้าทายความอยากรู้อยากเห็น
Freedom to explore เปิดโอกาสให้ได้ลงมือค้นหาคำตอบ
Age appropriateness กิจกรรมที่จัดต้องเหมาะกับวัยการเรียนรู้นั้นๆ
ตัวอย่างกิจกรรม (Learning through play) อาทิ Cooking activity, Gardening activity, Science experiment, Arts, Math and etc.
ได้รับความอนุเคราะห์ข้อมูลจาก โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต