กรุงเทพฯ--18 มิ.ย.--บีโอไอ
ที่ประชุมบอร์ดอนุกรรมการพิจารณาโครงการฟื้นฟูวิกฤตอุทกภัย ประชุมครั้งที่ 12 ไฟเขียว บีโอไอ ช่วยเหลือโครงการประสบภัยน้ำท่วมอีก 25 โครงการ มูลค่าลงทุนกว่า 13,000 ล้านบาท ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังมั่นใจลงทุนพื้นที่เดิม ขณะที่โครงการพัฒนาเขตอุตสาหกรรมยังเชื่อมั่นเดินหน้าขยายลงทุนในพื้นที่เพิ่มหลายพันล้านบาท
นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยหลังเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อฟื้นฟูการลงทุนจากวิกฤตอุทกภัย ครั้งที่ 12 ว่า ที่ประชุมได้อนุมัติการขอรับส่งเสริมการลงทุนตามมาตรการเพื่อฟื้นฟูการลงทุนจากวิกฤตอุทกภัย ครั้งนี้รวม 25 โครงการ เงินลงทุน 13,113.79 ล้านบาท แบ่งเป็นการอนุมัติภายใต้มาตรการด้านภาษีอากรเพื่อฟื้นฟูการลงทุนจากวิกฤตอุทกภัย จำนวน 21 โครงการ เงินลงทุน 12,780.79 ล้านบาท และการอนุมัติภายใต้มาตรการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนใหม่หรือขยายการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดปทุมธานี จำนวน 4 โครงการ เงินลงทุน 333 ล้านบาท
โดยโครงการที่ได้รับอนุมัติภายใต้มาตรการด้านภาษีอากรเพื่อฟื้นฟูการลงทุนจากวิกฤตอุทกภัย ประกอบด้วย
1.บริษัท ดี.เอช. เอ สยามวาลา จำกัด ผลิตแฟ้มกระดาษ แฟ้มพลาสติก สมุด กำลังการผลิตแฟ้มกระดาษปีละประมาณ 105,600,600 เล่ม กำลังการผลิตแฟ้มพลาสติกปีละประมาณ 27,405,000 เล่ม และกำลังการผลิตสมุดปีละประมาณ 43,482,600 เล่ม เงินลงทุนทั้งสิ้น 287.5 ล้านบาท ตั้งอยู่ในพื้นที่เดิม คือ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จ.พระนครศรีอยุธยา
2.บริษัท แมรีกอท จิวเวลรี่ ( ประเทศไทย ) จำกัด ผลิตเครื่องประดับและชิ้นส่วน กำลังการผลิตปีละประมาณ 28,530,000 ชิ้น เงินลงทุนทั้งสิ้น 280.65 ล้านบาท ตั้งอยู่ในพื้นที่เดิม คือ นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า จ.พระนครศรีอยุธยา
3.บริษัท เอ็นที ทูล (ไทยแลนด์ ) จำกัด ผลิตหัวจับยึดเครื่องมือและชิ้นส่วน เช่น TOH HOLDER , COLLETS และ RING เป็นต้น กำลังการผลิตปีละประมาณ 776,000 ชิ้น เงินลงทุนทั้งสิ้น 373.7 ล้านบาท ตั้งอยู่ในพื้นที่เดิม คือ นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า จ.พระนครศรีอยุธยา
4.บริษัท กามาคัตสึ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เป็นกิจการประเภทชุบแข็ง( HEAT TREATMENT ) กำลังการผลิตปีละประมาณ 40 ล้านชิ้น เงินลงทุนทั้งสิ้น 27.9 ล้านบาท ตั้งอยู่ในพื้นที่เดิม คือ เขตอุตสาหกรรมของบริษัทนวนคร จ.ปทุมธานี
5.บริษัท เอเบิล ซาโน่ อินดัสตรีส์ (1996) จำกัด ผลิตท่อสำหรับยานพาหนะ เช่น ท่อส่งน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นต้น โครงการนี้มี 2 ที่ตั้งโดยเป็นที่ตั้งเดิมที่ประสบอุทกภัยในนิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า จ.พระนครศรีอยุธยา กำลังการผลิตปีละประมาณ 3,064,723 ชิ้น และ ที่ตั้งใหม่ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง กำลังการผลิตปีละประมาณ 1,578,797 ชิ้น โครงการนี้ไม่ประสงค์จะแยกเงินลงทุนในแต่ละที่ตั้ง จึงมีเงินลงทุนทั้งสิ้น 71.1 ล้านบาท
6.บริษัท เอเบิล ซาโน่ อินดัสตรีส์ (1996) จำกัด ผลิตท่อสำหรับรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล เช่น ท่อระบายไอน้ำและความร้อน ท่อน้ำมันเชื้อเพลิง และท่อน้ำมันเบรกเป็นต้น โครงการนี้มี 2 ที่ตั้งโดยเป็นที่ตั้งเดิมที่ประสบอุทกภัยในนิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า จ.พระนครศรีอยุธยา กำลังการผลิตปีละประมาณ 1,108,188 ชิ้น ที่ตั้งใหม่ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง กำลังการผลิตปีละประมาณ 5,410,562 ชิ้น โครงการนี้ไม่ประสงค์จะแยกเงินลงทุนในแต่ละที่ตั้ง จึงมีเงินลงทุนทั้งสิ้น 43.4 ล้านบาท
7.บริษัท เอเบิล ซาโน่ อินดัสตรีส์ (1996) จำกัด ผลิตท่อโลหะสำหรับยานยนต์ กำลังการผลิตปีละประมาณ 13,779,000 ชิ้น เงินลงทุนทั้งสิ้น 34.6 ล้านบาท ตั้งอยู่ในพื้นที่เดิม คือ นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า จ.พระนครศรีอยุธยา
8.บริษัท เอ็น ไอ (ประเทศไทย) จำกัด ผลิตแม่พิมพ์ ( MOULD &DIE ) ชิ้นส่วนแม่พิมพ์ที่ผลิตเอง( MOULD &DIE PARTS ) และการซ่อมแซมแม่พิมพ์ที่ผลิตเอง กำลังการผลิตแม่พิมพ์ปีละประมาณ 200 ชุด ชิ้นส่วนแม่พิมพ์ที่ผลิตเองปีละประมาณ 50,000 ชิ้น เงินลงทุนทั้งสิ้น 495.8 ล้านบาท ตั้งอยู่ในพื้นที่เดิม คือ จ.พระนครศรีอยุธยา
9.บริษัท เมทัลฟีท (ประเทศไทย ) จำกัด ผลิต GASKETS และ PLATE SPRINGS กำลังการผลิตปีละประมาณ 7,000,000 ชิ้น เงินลงทุนทั้งสิ้น 155.2 ล้านบาท ตั้งอยู่ในพื้นที่เดิม คือ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จ.พระนครศรีอยุธยา
10.บริษัท เอสวีไอ จำกัด (มหาชน) ผลิต PRINTED CIRCUIT BOARD ASSEMBLY ( PCBA) และ ELECTRONICS PRODUCTS เช่น VIDEO ENCODER และ HANDMICROPHONE เป็นต้น กำลังการผลิต PRINTED CIRCUIT BOARD ASSEMBLY ( PCBA) , ELECTRONICS PRODUCTS ปีละประมาณ 12,400,000 ชิ้น เงินลงทุนทั้งสิ้น 5,760.1 ล้านบาท ตั้งอยู่ในพื้นที่เดิม คือ สวนอุตสาหกรรมบางกะดี จ.ปทุมธานี
11.บริษัท เอ็กซ์วายพี บี ( เอเชีย ) จำกัด ผลิตฟิล์มพลาสติก กำลังการผลิตปีละประมาณ 2,400 ตัน เงินลงทุนทั้งสิ้น 64.04 ล้านบาท ตั้งอยู่ในพื้นที่เดิม คือ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จ.พระนครศรีอยุธยา
12.บริษัท ยูเนี่ยนเคมีคอล แอนด์ อีควิปเม้นท์ จำกัด ผลิตเอทิลแอลกอฮอล์ (95%) กำลังการผลิตปีละประมาณ 12,000,000 ลิตร เงินลงทุนทั้งสิ้น 19.2 ล้านบาท ตั้งอยู่ในพื้นที่เดิม คือ ตำบลวังตะเคียน จ.ชัยนาท
13.บริษัท เคมโทรนิคส์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย ) จำกัด เป็นกิจการสกัดทองแดงออกจากน้ำยากัดทองแดง และสกัดดีบุกออกจากน้ำยากัดดีบุก โดยสกัดทองแดงออกจากน้ำยากัดทองแดงได้ปีละประมาณ 6,720 ตัน สกัดดีบุกออกจากน้ำยากัดดีบุกได้ปีละประมาณ 630 ตัน เงินลงทุนทั้งสิ้น 21 ล้านบาท ตั้งอยู่ในพื้นที่เดิม คือ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จ.พระนครศรีอยุธยา
14.บริษัท เอสเอ็มอี เอสเตท จำกัด เป็นกิจการพัฒนาอาคารสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อจำหน่ายหรือให้เช่า จำหน่วย 12 หน่วย ในพื้นที่ประมาณ 7 ไร่ ซึ่งจำหน่ายไปแล้ว 6 หน่วย เหลือ 6หน่วยสำหรับเช่า เงินลงทุนทั้งสิ้น 25 ล้านบาท ตั้งอยู่ในพื้นที่เดิม คือ นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า จ.พระนครศรีอยุธยา
15.บริษัท นวนคร จำกัด (มหาชน) ผลิตน้ำเพื่ออุตสาหกรรม กำลังการผลิตปีละประมาณ 16,425,000 ลูกบาศ์กเมตร เงินลงทุนทั้งสิ้น 40.1 ล้านบาท ตั้งอยู่ในพื้นที่เดิม คือ เขตอุตสาหกรรมของบริษัทนวนคร จ.ปทุมธานี
16.บริษัท ไฮเทค ยูทีริตี้ จำกัด ผลิตน้ำเพื่ออุตสาหกรรม กำลังการผลิตปีละประมาณ 12,264,000 ลูกบาศ์กเมตร เงินลงทุนทั้งสิ้น 30 ล้านบาท ตั้งอยู่ในพื้นที่เดิม คือ นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า จ.พระนครศรีอยุธยา
17.บริษัท สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จำกัด ( มหาชน ) โครงการนี้เป็นการขอรับการส่งเสริมกิจการเขตอุตสาหกรรมสำหรับการลงทุนในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อป้องกันอุทกภัย เงินลงทุนทั้งสิ้น 2,030 ล้านบาท ตั้งอยู่ในพื้นที่เดิม คือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
18.บริษัทที่ดินบางปะอิน จำกัด ดำเนินโครงการเขตอุตสาหกรรม เงินลงทุนทั้งสิ้น 704.9 ล้านบาท ตั้งอยู่ในพื้นที่เดิม คือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
19.บริษัทไทยอินดัสเตรียล เอสเตท จำกัด ดำเนินโครงการเขตอุตสาหกรรม เงินลงทุนทั้งสิ้น 556 ล้านบาท ตั้งอยู่ในพื้นที่เดิม คือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
20.บริษัทนวนคร จำกัด (มหาชน) ดำเนินโครงการเขตอุตสาหกรรม เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,280.4 ล้านบาท ตั้งอยู่ในพื้นที่เดิม คือ จังหวัดปทุมธานี
21.บริษัท สวนอุตสาหกรรมบางกะดี จำกัด ดำเนินโครงการเขตอุตสาหกรรม เงินลงทุนทั้งสิ้น 480.2 ล้านบาท ตั้งอยู่ในพื้นที่เดิม คือ จังหวัดปทุมธานี
สำหรับโครงการที่ได้รับอนุมัติภายใต้มาตรการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนใหม่หรือขยายการลงทุน ในนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดปทุมธานี ประกอบด้วย
1.บริษัท อาร์ค คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ผลิตแม่พิมพ์ (MOLD &DIE) กำลังผลิตปีละประมาณ 500 ชุด และชิ้นส่วนโลหะ (METAL PARTS) กำลังผลิตปีละประมาณ 26,000 ชิ้น เงินลงทุนทั้งสิ้น 98 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ สวนอุตสาหกรรมบางกะดี จ.ปทุมธานี
2.บริษัท ไดคุเระ (ไทยแลนด์) จำกัด ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะ เช่น GRAING เป็นต้น กำลังผลิตปีละประมาณ 333,000 ชิ้น เงินลงทุนทั้งสิ้น 60 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า จ.พระนครศรีอยุธยา
3.บริษัท นิชชิน อีเลคทริค (ประเทศไทย) จำกัด ผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ เช่น SHOT BLASING,TESTING MACHING และ FRAME UNIT เป็นต้น กำลังผลิตปีละประมาณ 1,820 ชุด เงินลงทุนทั้งสิ้น 120 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ เขตอุตสาหกรรมของบริษัท นวนคร จ.ปทุมธานี
4.บริษัท ฮายโมลด์ (ประเทศไทย) จำกัด ผลิตโลหะผสมเหล็ก เช่น FERROUS-SILICON-MAGNESIUM เป็นต้น กำลังผลิตปีละประมาณ 6,000 ตัน เงินลงทุนทั้งสิ้น 55 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ เขตอุตสาหกรรมของบริษัท นวนคร จ.ปทุมธานี
โดยหลังการอนุมัติโครงการในครั้งนี้ ทำให้มีโครงการที่ได้รับอนุมัติภายใต้มาตรการด้านภาษีอากรเพื่อฟื้นฟูการลงทุนจากวิกฤตอุทกภัยทั้งสิ้น จำนวน 253 โครงการ เงินลงทุน 148,956.5 ล้านบาท ขณะที่ภายใต้มาตรการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนใหม่หรือขยายการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดปทุมธานี มีโครงการได้รับอนุมัติแล้ว 72 โครงการ เงินลงทุนรวม 37,431.60 ล้านบาท