กรุงเทพฯ--18 มิ.ย.--โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย
นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์เดือนพฤษภาคม 2556 มีปริมาณการขายทั้งสิ้น 111,848 คัน ลดลง 3.5% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 52,734 คัน ลดลง 5.8% รถเพื่อการพาณิชย์ 59,114 คัน ลดลง 1.4% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 49,664 คัน ลดลง 4.8%
ประเด็นสำคัญ
1) ตลาดรถยนต์เดือนพฤษภาคมมีปริมาณการขาย 111,848 คัน ลดลง 3.5% โดยเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 17 เดือน เป็นผลจากการที่ลูกค้าที่จองรถยนต์เพื่อใช้สิทธิรถยนต์คันแรกส่วนใหญ่ได้ทยอยรับรถเรียบร้อยแล้ว โดยตลาดรถยนต์นั่งมีปริมาณการขาย 52,734 คัน ลดลง 5.8% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีปริมาณการขาย 59,114 คัน ลดลง1.4%
2) ตลาดรถยนต์สะสม 5 เดือน มีปริมาณการขาย 634,777 คัน สูงสุดเป็นสถิติใหม่ของยอดขายสะสม 5 เดือนแรกด้วยอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้น 31.4% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาโดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 53.4% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 16.3% ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการทยอยส่งมอบยอดค้างจองรถยนต์ในโครงการรถยนต์คันแรก ประกอบกับการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่เข้าสู่ตลาด และกิจกรรมส่งเสริมการขายของค่ายรถยนต์ต่างๆที่เริ่มตั้งแต่ในช่วงต้นปี
3) ตลาดรถยนต์ในเดือน มิถุนายน เริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่ลูกค้าส่วนใหญ่ที่จองรถยนต์เพื่อใช้สิทธิรถยนต์คันแรกตั้งแต่ปีที่ผ่านมาได้ทยอยรับรถเรียบร้อยแล้ว โดยคาดว่าเป็นการที่ตลาดกำลังปรับตัวเข้าสู่สภาวะปกติ หลังจากการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในปีที่แล้ว
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เดือนพฤษภาคม 2556
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 111,848 คัน ลดลง 3.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 38,024 คัน ลดลง 13.0% ส่วนแบ่งตลาด 34.0%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 21,709 คัน เพิ่มขึ้น 39.2% ส่วนแบ่งตลาด 19.4%
อันดับที่ 3 อีซูซุ 18,647 คัน เพิ่มขึ้น 10.6% ส่วนแบ่งตลาด 16.7%
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 52,734 คัน ลดลง 5.8%
อันดับที่ 1 ฮอนด้า 20,139 คัน เพิ่มขึ้น 34.5% ส่วนแบ่งตลาด 38.2%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 16,328 คัน ลดลง 17.7% ส่วนแบ่งตลาด 31.0%
อันดับที่ 3 นิสสัน 3,381 คัน ลดลง 63.5% ส่วนแบ่งตลาด 6.4%
3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 49,664 คัน ลดลง 4.8%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 20,311 คัน ลดลง 8.0% ส่วนแบ่งตลาด 40.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 16,363 คัน เพิ่มขึ้น 6.5% ส่วนแบ่งตลาด 32.9%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 4,588 คัน ลดลง 27.1% ส่วนแบ่งตลาด 9.2%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 4,536 คัน
โตโยต้า 2,501 คัน - มิตซูบิชิ 1,321 คัน - เชฟโรเลต 538 คัน - อีซูซุ 143 คัน - ฟอร์ด 33 คัน
4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 45,128 คัน ลดลง 4.9%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 17,810 คัน ลดลง 8.8% ส่วนแบ่งตลาด 39.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 16,220 คัน เพิ่มขึ้น 7.5% ส่วนแบ่งตลาด 35.9%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 3,267 คัน ลดลง 26.4% ส่วนแบ่งตลาด 7.2%
5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 59,114 คัน ลดลง 1.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 21,696 คัน ลดลง 9.1% ส่วนแบ่งตลาด 36.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 18,647 คัน เพิ่มขึ้น 10.6% ส่วนแบ่งตลาด 31.5%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 4,588 คัน ลดลง 27.1% ส่วนแบ่งตลาด 7.8%
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม — พฤษภาคม 2556
1) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 634,777 คัน เพิ่มขึ้น 31.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 199,258 คัน เพิ่มขึ้น 1.7% ส่วนแบ่งตลาด 31.4%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 114,113 คัน เพิ่มขึ้น 271.0% ส่วนแบ่งตลาด 18.0%
อันดับที่ 3 อีซูซุ 102,718 คัน เพิ่มขึ้น 28.3% ส่วนแบ่งตลาด 16.2%
2) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 302,387 คัน เพิ่มขึ้น 53.4%
อันดับที่ 1 ฮอนด้า 101,126 คัน เพิ่มขึ้น 238.9% ส่วนแบ่งตลาด 33.4%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 82,493 คัน ลดลง 2.9% ส่วนแบ่งตลาด 27.3%
อันดับที่ 3 นิสสัน 39,860 คัน เพิ่มขึ้น 14.1% ส่วนแบ่งตลาด 13.2%
3) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 279,103 คัน เพิ่มขึ้น 11.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 108,431 คัน เพิ่มขึ้น 5.9% ส่วนแบ่งตลาด 38.8%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 92,096 คัน เพิ่มขึ้น 25.3% ส่วนแบ่งตลาด 33.0%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 29,805 คัน ลดลง 16.9% ส่วนแบ่งตลาด 10.7%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 26,834 คัน
โตโยต้า 13,889 คัน - มิตซูบิชิ 8,495 คัน - เชฟโรเลต 3,136 คัน - อีซูซุ 1,091 คัน - ฟอร์ด 223 คัน
4) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 252,269 คัน เพิ่มขึ้น 12.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 94,542 คัน เพิ่มขึ้น 6.7% ส่วนแบ่งตลาด 37.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 91,005 คัน เพิ่มขึ้น 26.8% ส่วนแบ่งตลาด 36.1%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 21,310 คัน ลดลง 16.0% ส่วนแบ่งตลาด 8.4%
5) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 332,390 คัน เพิ่มขึ้น 16.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 116,765 คัน เพิ่มขึ้น 5.3% ส่วนแบ่งตลาด 35.1%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 102,718 คัน เพิ่มขึ้น 28.3% ส่วนแบ่งตลาด 30.9%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 29,805 คัน ลดลง 16.9% ส่วนแบ่งตลาด 9.0%