สรุปมติ กสทช. : เสียงข้างน้อยต่อ(ร่าง)ประกาศต่ออายุคลื่น 1800 MHz

ข่าวเทคโนโลยี Thursday June 20, 2013 17:02 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--20 มิ.ย.--กสทช. ภายหลังจากที่ประชุมบอร์ด กสทช. วานนี้(วันที่ 19 มิ.ย.) ได้มีมติวาระ 5.7 เห็นชอบต่อ “ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดอายุการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาณการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ.... ” ตามที่คลื่นความถี่ย่าน 1800MHz ซึ่งบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (กสท) ให้สัมปทานกับบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด กำลังจะสิ้นสุดอายุสัมปทานลงในวันที่ 15 กันยายน 2556 นั้น โดยเนื้อหาหลักของร่างฯฉบับนี้ เป็นการให้อำนาจ กสทช. กำหนดให้มีผู้ให้บริการทำหน้าที่ให้บริการต่อไปโดยใช้คลื่นความถี่ที่หมดอายุตามสัญญาสัมปทาน โดยไม่ต้องประมูลคลื่นความถี่ตาม ม. 45 ของ พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ฯ พ.ศ. 2553 โดยจะเปิดให้สาธารณะรับฟังความเห็นต่อไปนั้น ทั้ง 2 กสทช. นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา และ นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ ได้มีความเห็นแย้งต่อการออก(ร่าง) ประกาศฯฉบับดังกล่าว นางสาวสุภิญญา เปิดเหตุ 3 ประเด็น ที่ตนไม่เห็นด้วยเพราะ 1. คำตอบที่ว่าประกาศฯดังกล่าวถือว่าเป็นการต่อสัญญาสัมปทานหรือไม่ ยังไม่ชัดเจนในมิติกฏหมายว่า กสทช.ต่อสัญญาสัมปทานลักษณะนี้ได้หรือไม่ 2. ก่อนหน้านี้มีเวลาถึง2ปี ในการเตรียมการประมูลคลื่น 1800 MHz นับจากวันที่รับตำแหน่ง เหตุใดจึงไม่เสนอก่อนหน้านี้ และ 3. ยังไม่เห็นแนวทางที่ชัดเจนจากในการชดเชยกับผู้บริโภคหลังหมดสัญญาสัมปทาน อาทิ ลดราคา เป็นต้น สุภิญญา กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยที่จะยืดระยะเวลาออกไปอีก1ปี เพื่อจัดประมูลคลื่นฯ เนื่องด้วยน่าจะมีการเตรียมประมูลก่อนหน้านี้ หากจะยืดอายุจริงๆควรมีเงื่อนไขที่มีฐานอธิบายทางกฎหมายเพิ่มขึ้น การหารือจากองค์คณะผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายในการหาทางออก เพราะการจัดการกรณี 1800MHz ของ True คราวนี้ อาจจะกลายเป็นตัวอย่าง หรือส่งผลเป็นโดมิโนไปยังสัมปทานรายที่เหลืออย่าง AIS และ Dtac ในอนาคตที่กำลังจะหมดสัญญาสัมปทาน ดังนั้น ด้วยความที่ยังไม่ชัดเจนใน 3 ประเด็นและเหตุผลดังกล่าว ตนจึงสงวนความเห็นเป็นเสียงข้างน้อยในการโหวตไม่รับหลักการของร่างประกาศฯคลื่น 1800MHz ความต่อเนื่องในการให้บริการเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ควรมีปรากฎการณ์ซิมดับ แต่ขณะเดียวกันต้องตอบคำถามให้ได้ก่อนว่า ทำไมมีเวลา 2 ปี จึงไม่เตรียมการประมูลและแผนการเปลี่ยนผ่าน อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ยังกำลังออกไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ผู้บริโภคและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดสามารถเสนอความคิดเห็นได้ ซึ่งหลังการประชาพิจารณ์หากมีแนวทางที่ชัดเจนทั้งเรื่องข้อกฎหมาย และการคุ้มครองผู้บริโภค ตนอาจตันสินใจพิจารณาใหม่

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ