กรุงเทพฯ--21 มิ.ย.--โฟร์ฮันเดรท
นักวิชาการเสนอ อยากให้ลูกเก่งแบบไม่ลืมวัฒนธรรมไทย ชี้ให้เรียน 2 ภาษา ไทย-อังกฤษ คู่ขนานกันไป ไม่ทิ้งความเป็นไทย และความเป็นสากล พร้อมแนะครูอย่ากดดันนักเรียนมากๆ ยิ่งทำให้อาย และไม่กล้าพูด พยายามดึงให้นักเรียนที่อาย หรือเรียนไม่ได้ ได้มีส่วนร่วมในชั้นเรียนมากขึ้น จะทำให้นักเรียนผ่อนคลายโดยการทำให้นักเรียนสนุกกับการเรียน
ดร.สุรภี โสรัจจกุล กล่าวว่า ผู้อำนวยการ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า เมื่อความเป็นไทยและความเป็นสากลเดินทางมาเจอกัน ในความเข้าใจของผู้ปกครองส่วนใหญ่จะคาดหวังว่าเด็กต้องได้ภาษาต่างประเทศ ซึ่งอันดับแรกๆเลย ผู้ปกครองก็จะเบนความสนใจไปทางโรงเรียนนานาชาติเพราะคาดว่าเด็กจะได้ภาษา ซึ่งก็ไม่ผิดเพราะเด็กจะได้ภาษาและวัฒนธรรมตะวันตกมาด้วย แต่ในอีกแง่มุมหนึ่ง ภาษาคือวัฒนธรรม เช่น ถ้าเด็กเรียนภาษาไทย และวัฒนธรรมไทยในหลักสูตรด้วย ก็จะช่วยสร้างความเป็นไทยให้แข็งแกร่งขึ้น ซึ่งเชื่อว่าหลายโรงเรียนก็ตระหนักเพื่อช่วยสร้างเยาวชนของเราให้คงความเป็นคนไทยให้แข็งแกร่งขึ้น
ที่โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต ก็ตระหนักเป็นอย่างยิ่งถึงความเป็นไทยในโรงเรียน พอๆกับความเป็นนานาชาติและความเป็นสากล กล่าวคือการเด็กสามารถอยู่รวมกับคนที่ไม่ใช่คนไทย ที่อยู่ในประเทศไทยได้อย่างกลมกลืน แต่การที่จะพัฒนาคนไทยให้มีเอกลักษณ์ของความเป็นไทย และเข้าใจรากเหง้าของตัวเองได้ เราจะต้องให้เด็กไทยรู้จักภาษาไทยเสียก่อน เพราะจริงๆแล้ว ตามที่กล่าวไปแล้วว่า ภาษาคือวัฒนธรรม การเรียนภาษาไทยคือการสอดแทรกวัฒนธรรมไทยลงไปโดยไม่รู้ตัว ตัวอย่างเช่น ในภาษไทยเรามีคำที่แสดงถึงความอ่อนน้อมอย่าง ผม คุณ ฉัน เธอ มีคำลงท้าย คะ หรือ ครับ แต่ในภาษาอังกฤษไม่มี มีแต่คำว่า You และ I เป็นต้น ฉะนั้นทำคำต่างๆเหล่านี้มักเป็นการแสดงความอ่อนน้อม และความเป็นไทยได้แล้ว
ในขณะเดียวกัน การจะอยู่ในโลกสากลได้ เราก็ต้องมีสิ่งที่จะสามารถสื่อสารกับสากลได้ และต้องเข้าใจในวิธีคิด และวัฒนธรรมของสากลด้วยเช่นกัน ฉะนั้นความโดดเด่นของหลักสูตรสองภาษา ของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งเป็นหลักสูตรเฉพาะของเราเอง คือ การเรียนการสอนที่เป็นคู่ขนานกันไปรหว่างภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เช่น วิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยศาสตร์ เรามีครูต่างชาติสอนด้วย และมีครูไทยที่คอยช่วยสอนวิชาเหล่านี้ไปด้วยเช่นกัน เพราะแนวความคิดของแต่ละชาติที่ใช้สอนในแต่ละวิชาก็ไม่เหมือนกัน ดังนั้นก็จะได้ความเข้มข้นในแง่วิชาการแบบคู่ขนานกันไป ดังนั้นจุดเด่นของโรงเรียนสองภาษาอย่างโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต ก็คือการที่เราให้ทั้งความเป็นไทยและความเป็นสากล จากครูที่เราพยายามผสมผสานให้มีความหลากหลาย ทั้งครูจากอเมริกา อังกฤษ และแคนาดา เป็นต้น
ตัวอย่างวิธีการสอนของครูต่างชาติให้เข้ากับความเป็นไทย ในชั้นเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา คือ เมื่อมีเด็กนักเรียนใหม่มาจากโรงเรียนที่ไม่ค่อยได้พูดภาษาอังกฤษเท่าไหร่ คุณครูจะพยายามให้ความสนใจนักเรียน โดยที่จะต้องไม่ไปทำให้เด็กๆ เขินอายจากการที่ไปสนใจเขามากเกินไปด้วย เพราะถ้าครูกดดันนักเรียนมากๆ ก็จะยิ่งทำให้อาย และไม่กล้าพูด ทั้งนี้คุณครูจะพยายามดึงให้นักเรียนที่อาย หรือเรียนไม่ได้ ได้มีส่วนร่วมในชั้นเรียนมากกว่า และทำให้นักเรียนผ่อนคลายโดยการทำให้นักเรียนสนุกกับการเรียน และเมื่อนักเรียนปรับตัวได้ และคุ้นเคยกับบรรยากาษการเรียนแล้วนั้น นักเรียนก็จะพร้อมเปิดรับทั้งวัฒนธรรมไทยและสากลเข้าไว้ด้วยกัน โดยสามารถแยกแยะได้ว่าวัฒนธรรมไหนควรปรับใช้ในสาถานะการณ์ใด
สิ่งที่อย่างเพิ่มเติมก็คือในความคิดเห็นจากการคลุกคลีกับการสร้างและพัฒนาคนทำให้เห็นว่าจริงๆ แล้วภาษาเป็นแค่ส่วนหนึ่งในการพัฒนาคน ภาษาคือเครื่องมือ ภาษาไม่ใช่การพัฒนาคน ดังนั้นเราควรจะให้ความสำคัญกับภาษาในแง่ของการสื่อสารมากกว่า และการให้การศึกษาที่ดีควรจะเน้นไปที่การสร้างทักษะต่างๆ มากกว่าที่จะมุ่งเน้นไปแต่ภาษาเพียงอย่างเดียว ครูจะต้องมีทักษะในการค้นหาศักยภาพของเด็กด้วยว่าเด็กเก่งเรื่องอะไร และคอยสนับสนุนไปพร้อมกัน