กรุงเทพ--28 พ.ย.--วีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล
27 กันยายน 2538 ไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น และวีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล ประกาศใช้้ข้อกำหนดระบบเปิด (open specification) หรือ Secure Transaction Technology- STT ซึ่งเป็นระบบรักษาความปลอดภัยด้านการชำระเงินผ่านเครือข่ายสาธารณะและเอกชน การประกาศครั้งนี้เป็นผลจากความพยายามและการร่วมมือระหว่าง 2 บริษัทเป็นระยะเวลาเกือบ 1 ปี โดยเทคโนโลยีดังกล่าวได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับการทำธุรกรรมผ่านเครือข่ายอิเลคทรอนิคส์ เช่น อินเตอร์เน็ต ได้อย่างปลอดภัย
20 ธันวาคม 2538 โตชิบา คอร์ปอเรชั่น และวีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล ประกาศโครงการส่งเสริมการช้อปปิ้งผ่านสื่ออิเลคทรอนิคส์ พร้อมแนะนำชิพการ์ดที่เปี่ยมประสิทธิภาพสู่ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่น โดยโครงการทดลองนี้รู้จักกันดีในชื่อ “สมาร์ท คอมเมิร์ซ เจแปน” ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายโครงการที่กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศของญี่ปุ่นจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมรูปแบบการค้าอิเลคทรอนิคส์ทั่วโลก โดยนำเทคโนโลยีล่าสุดของระบบการชำระเงินมาใช้
1 กุมภาพันธ์ 2539 วีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล และมาสเตอร์การ์ด อินเตอร์เนชั่นแนล ร่วมกันประกาศมาตรฐานทางเทคนิค เพื่อให้การชำระเงินผ่านเครือข่ายเปิด เช่น อินเตอร์เน็ต มีความปลอดภัยสูงสุด โดยข้อกำหนด (Specification)ใหม่นี้เรียกว่า Secure Electronic Transactions-SET ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความพยายามที่ประสบความสำเร็จของทั้ง 2 บริษัทเป็นอย่างดี และด้วยความเป็นมาตรฐานดังกล่าวส่งผลให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายสามารถทำธุรกรรมในไซเบอร์สเปซได้ง่ายและปลอดภัย เช่นเดียวกับการซื้อของในร้านค้าทั่วไป
1 เมษายน 2539 ผู้ที่เข้าสู่โฮมเพจของวีซ่าทางอินเตอร์เนต (http://www.visa.com) จะสามารถเรียกใช้ซอฟต์แวร์ของ SET ที่กำหนดขึ้นเพื่อการทำธุรกรรมที่ปลอดภัยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนต
28 มิถุนายน 2539 วีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล มาสเตอร์การ์ด อินเตอร์เนชั่นแนล และพันธมิตรทางเทคโนโลยี ร่วมกันประกาศข้อกำหนดของ SET เวอร์ชั่นใหม่ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการทำธุรกรรมบนอินเตอร์เนตและเครือข่ายระบบเปิดอื่นๆ ที่มีความปลอดภัยโดยการใช้เทคโนโลยีการเข้ารหัส ซึ่งข้อกำหนดล่าสุดของ SET นี้ ได้ใช้แทนข้อกำหนดเดิมที่ประกาศใช้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2539
5 กันยายน 2539 วีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล ประกาศ “โครงการทดลองการค้าอิเลคทรอนิคส์ของไต้หวัน” (Taiwan Electronic Commerce Pilot Programme) ซึ่งคาดว่าจะช่วยผลักดันการพัฒนาด้านการค้าอิเลคทรอนิคส์ที่มีความปลอดภัยในตลาดใต้หวัน
23 กันยายน 2539 เปิดตัวโครงการทดลองของ SET ในประเทศสิงคโปร์ นำโดยคณะกรรมการคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NCB) ของประเทศสิงคโปร์และวีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล
22 ตุลาคม 2539 วีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล ประกาศโครงการทดลองครั้งสำคัญในยุโรป ได้แก่ Secure Electronic Commerce - SEC แก่สมาชิกของวีซ่า 38 แห่ง ใน 16 ประเทศในยุโรป
30 มกราคม 2540 วีซ่าประสบความสำเร็จในการแนะนำ SET ผ่านอินเตอร์เน็ตเป็นครั้งแรก ซึ่งได้รับความนิยมจากผู้ค้ามากมายนำระบบดังกล่าวไปพัฒนาใช้อย่างกว้างขวาง
14 กุมภาพันธ์ 2540 วีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล ประกาศโครงการทดลองการใช้บัตรเครดิตเพื่อการค้าอิเลคทรอนิคส์เป็นครั้งแรกในประเทศเกาหลี ซึ่งมีพันธมิตรทางเทคโนโลยีมากมายเข้าร่วม อาทิ ไมโครซอฟ ไอบีเอ็ม เมตา-แลนด์ และไซเบอร์เทค โฮลด์ดิ้ง
24 เมษายน 2540 วีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนลประกาศร่วมมือกับทีมนักวิทยาศาสตร์ของประเทศสิงคโปร์ ในการนำโปรโตคอลของ SET มาใช้ในเครือข่ายเปิดเป็นครั้งแรก ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวอยู่บนพื้นฐานของ Singapore Enterprise Security Architecture (SESA) ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยประจำชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore) ได้พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานรองรับการสื่อสารในระบบเปิดที่มีความปลอดภัยนี้ขึ้น ทั้งนี้ โครงการ ดังกล่าวทำให้ SESA เป็นเทคโนโลยีที่ทำงานร่วมกับระบบ SET ได้ ซึ่งนับเป็นการเปิดประตูให้กับ SESA ได้ก้าวเข้าสู่ตลาดการค้าสากล
15 พฤษภาคม 2540 ธนาคารแห่งอเมริกาและวีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล ประกาศทดลองการทำธุรกรรมด้วยชิพการ์ดแบบสะสมค่าทางอินเตอร์เนต ซึ่งจะเริ่มต้นในเดือนมิถุนายน 2540
2 มิถุนายน 2540 วีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล และมาสเตอร์การ์ด อินเตอร์เนชั่นแนล ประกาศใช้ระบบ SET 1.0 ซึ่งเป็นโปรโตคอลระบบเปิด ที่แสดงให้เห็นถึงการทำธุรกรรมทางอินเตอร์เนตและเครือข่ายระบบเปิดอื่นๆ ได้อย่างปลอดภัยด้วยการใช้เทคโนโลยีการเข้ารหัสและจำแนกด้วยระบบดิจิตอล ทั้งนี้ SET1.0 เป็นผลจากการทดลองหาข้อสรุปอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาเกือบ 1 ปี ประมวลกับผลตอบรับจากผู้ใช้ข้อกำหนดของทั้ง 2 บริษัทเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2539
27 มิถุนายน 2540 ธนาคารต่างๆ ในยุโรปเริ่มนำ SET เข้าบรรจุเป็นส่วนหนึ่งในโครงการกลุ่มทดลองการค้าอิเลคทรอนิคส์อย่างปลอดภัยหรือ Secure Elecronic Commerce - SEC ของวีซ่าซึ่งการทำธุรกรรมอย่างปลอดภัยดังกล่าวประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีทั้งในประเทศสเปนโดย Sistema 4B และในฟินแลนด์โดย Luottokunta
30 มิถุนายน 2540 A UBO ของวีซ่า การ์ด และ DBS ของมาสเตอร์การ์ด ได้รับการนำไปใช้เพื่อการช้อปปิ้งในอินเตอร์เน็ตมอลล์ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการนำเทคโนโลยี SET มาใช้ในกระบวนการชำระเงินร่วมกับบัตรเครดิต 2 ค่ายในเวลาเดียวกัน โดยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นถือเป็นการวางรากฐานของจุดเชื่อมต่อของระบบการชำระเงินที่ดำเนินการภายใต้ธนาคารท้องถิ่นแห่งประเทศสิงคโปร์หรือ NETS ซึ่งมีธนาคารท้องถิ่นจะเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ด้วย นอกจากนี้ NETS ยังเป็นผู้บริหารระบบ EFTPOS เดบิตภายในของสิงคโปร์อีกด้วย
18 กรกฏาคม 2540 การช้อปปิ้งข้ามทวีปด้วยระบบ SET ของวีซ่าได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก เมื่อผู้ถือบัตรซิตี้แบงค์ในเยอรมันสามารถช้อปปิ้งจากอินเตอร์เน็ตมอลล์ในสิงคโปร์ได้ถึง 2 แห่ง
18 กรกฏาคม 2540 วีซ่าและมาสเตอร์การ์ดยังได้เปิดตัวระบบ SET Mark ซึ่งได้นำมาใช้เพื่อระบุ SET certification ของซอร์ฟแวร์ผู้ค้าและเว็บไซต์ทางการค้าต่างๆ ทั้งนี้เพื่อให้ลูกค้าสามารถตรวจสอบในขณะที่ทำธุรกรรมด้วยมาตรฐาน SET ได้ ทั้งนี้ SET Mark ถือเป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของวีซ่าและมาสเตอร์การ์ด ซึ่งจะนำไปออกใบอนุญาตให้กับผู้ค้าที่เป็นอยู่ในระบบ SET
1 สิงหาคม 2540 ผู้บริหารของโตชิบา คอร์ปอเรชั่น ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น นำมาตรฐาน SET ของวีซ่า ไปใช้เพื่อการจับจ่ายเป็นครั้งแรก ในโครงการสมาร์ท คอมเมิร์ซ เจแปน โดยได้เลือกซื้อเหล้าสาเกจากร้าน “Click & Shop ” ซึ่งเป็นอินเตอร์เน็ตมอลล์ที่ดำเนินการโดย ฮางกุ คอร์ปอเรชั่น (Hankyu Corporation) เพื่อโครงการร่วมระหว่างวีซ่าและโตชิบาในครั้งนี้ โครงการทดลองดังกล่าวนับได้ว่าเป็นการนำระบบการชำระเงินของวีซ่าที่ร่วมมือกับไอบีเอ็มมาใช้เป็นครั้งแรก ในขณะที่โตชิบาเป็นผู้รวบรวมระบบอินเตอร์เนตมอลล์ที่พัฒนาโดยเนสเคป คอมมูนิเคชั่น คอร์ปอเรชั่น นอกจากนี้ไซเบอร์แคชยังได้นำเสนอกระเป๋าเงินอิเล็คทรอนิกส์และเทคโนโลยีการชำระเงินผ่านระบบบันทึกเงินสดทางการค้า
8 สิงหาคม 2540 ธนาคารเอเอ็นซี (ANZ Bank) และวีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล ประกาศความร่วมมือในการทดลองนำโปรโตคอล SET1.0 ไปใช้ในประเทศออสเตรเลีย โดย SET digital certificates ที่จะออกให้กับผู้ถือบัตรและร้านค้าต่างๆ นั้นอยู่ภายใต้การดำเนินการของ VeriSign พันธมิตรที่วีซ่าแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ ในขณะที่การชำระเงินในรูปแบบอื่นๆ วีซ่าจะเป็นผู้รับผิดชอบ
15 ตุลาคม 2540 ชิพและการทำธุรกรรมทางการค้าผ่านอิเลคทรอนิคส์ครั้งแรกของโลกได้เกิดขึ้นในส่วนหนึ่งในโครงการสมาร์ท คอมเมิร์ซ เจแปน ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยใช้ซอฟต์แวร์ SET1.0 และวีซ่า ชิพการ์ด
15 ตุลาคม 2540 วีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล ร่วมกับ Trintech ไมโครซอฟ VeriSign RSA Data Security และแทนเด็ม ประกาศใช้มาตรฐาน SET1.0 เพื่อการจับจ่ายสินค้าทางอินเตอร์เน็ตเป็นครั้งแรกในทวีปลาติน อเมริกาและคาบสมุทรคาริบเบียน ทั้งนี้พันธมิตรทางเทคโนโลยี อาทิ ไซเบอร์แคช ไอบีเอ็ม ไมโครซอฟท์ เนทสเคป คอมมูนิเคชั่น คอร์ปอเรชั่น RSA Data Secutity แทนเด็ม (คอมแพค) Trintech และ VeriSign ต่างมีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของวีซ่าและธนาคารสมาชิก
ไตรมาสที่1 ของปี 2541 เทคโนโลยี SET1.0 จะถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางทั่วโลก
ไตรมาสที่ 2 ของปี 2541 คาดว่าการช้อปปิ้งผ่านอินเตอร์เน็ตและโปรแกรมรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายจะได้รับการยอมรับและนำไปใช้ในหมู่ร้านค้าและผู้บริโภคอย่างอย่างแพร่หลายในชีวิตประจำวัน
ไตรมาสที่ 3 ของปี 2541 ร้านค้าต่างๆ จะเปิดตัวเองเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต และลูกค้าจะเลือกซื้อสินค้าผ่านอินเตอร์เนตมากขึ้น
ไตรมาสที่ 3 ของปี 2541 จะมีการประกาศตัวระบบ SET เวอร์ชั่นใหม่ 2.0 ซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพของชิพการ์ดและ Independent algorithms เข้าไปด้วย
ปีพ.ศ. 2542 การชำระเงินทางอินเตอร์เน็ตที่มีความปลอดภัยจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของการซื้อขายในชีวิตประจำวัน- จบ -