การจัดระบบเพื่อควบคุมการทำงานของแรงงานต่างชาติผิดกฎหมาย

ข่าวทั่วไป Wednesday August 7, 1996 09:01 —ThaiPR.net

ทำเนียบรัฐบาล--7 ส.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอข้อยุติเกี่ยว กับการผ่อนผันการจ้างแรงงานต่างชาติ ซึ่งได้มีการหารือร่วมกันระหว่างเลขาธิการนายกรัฐมนตรี อธิบดีกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และกลุ่มแกนนำผู้คัดค้าน รวม 9 ประ การ ดังนี้
1. ให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2539
2. ผ่อนผันให้แรงงานต่างชาติคือ สัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ทำงานได้เฉพาะ งานกรรมกรเท่านั้น
3. กำหนดประเภทกิจการที่จะให้จ้างแรงงานต่างชาติ คือ
1) กิจการภาคเกษตรกรรม
2) กิจการประมงทะเล
3) กิจการต่อเนื่องจากประมงทะเล ได้แก่ แพปลา คัดเลือกแยกประเภท ทำความสะ อาดสัตว์น้ำที่ได้จากการประมงทะเล การทำแพกุ้ง การแกะกุ้ง การทำปลาเค็มปลาหวาน การทำปลา แล่เนื้อ การทำหมึกตากแห้ง การทำหมึกลอก
4) กิจการก่อสร้าง
5) กิจการเหมืองแร่ ถ่านหิน
6) กิจการขนถ่ายสินค้าทางน้ำ
7) กิจการการผลิต ได้แก่ การผลิตกะปิ การผลิตน้ำปลา การอบและบ่มใบยาสูบ การตากมันสำปะหลัง การเก็บผลผลิตการเกษตรในไซโล การเก็บสินค้าในโกดังโรงเลื่อยไม้ โรงโม่ หิน โรงสีข้าว
8) งานรับใช้ในบ้าน
9) กิจการการผลิตประเภทอื่น ๆ ที่มิได้กำหนดไว้นั้น ให้เป็นไปตามความเห็นของรัฐ มนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ตามข้อเสนอของคณะกรรมการพิจารณาการทำงาน ของคนต่างด้าว
10) การทำนาเกลือ
4. นายจ้างต้องจัดสภาพการจ้างและสภาพการทำงานให้แก่แรงงานต่างชาติ ตามกฎหมาย แรงงานไทย
5. กำหนดพื้นที่ผ่อนผันการจ้างแรงงานต่างชาติไว้แล้ว 43 จังหวัดนั้น สำหรับจังหวัดอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ ให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และสำนัก งานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ร่วมกันพิจารณาอนุญาตให้มีการผ่อนผันการจ้างแรงงานต่างชาติ ได้ ตามความจำเป็นและเหมาะสม โดยไม่ให้กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของชาติและมีผลกระทบต่อ การจ้างแรงงานไทยให้น้อยที่สุด
6. แรงงานต่างชาติที่ได้รับการผ่อนผันการจ้าง จะต้องเป็นแรงงานต่างชาติที่เข้ามาอยู่ใน ราชอาณาจักรก่อนมีมติคณะรัฐมนตรีนี
7. ให้คณะกรรมการพิจารณาการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 แต่งตั้งคณะ อนุกรรมการขึ้นทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยให้มีองค์ประกอบคือ ประธานคณะอนุกรรมการหนึ่ง คน และมีผู้แทนฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายลูกจ้าง และฝ่ายราชการ ในสัดส่วนเท่า ๆ กันให้คณะอนุกรรมการดัง กล่าวมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการพิจารณาการทำงานของคนต่างด้าว ดังต่อไปนี้
1) พิจารณาประเภทกิจการที่จำเป็นจะต้องให้มีการผ่อนผันการจ้างแรงงานต่างชาติ นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในมติคณะรัฐมนตรีนี้
2) พิจารณาจังหวัดอื่น ๆ ที่นอกเหนือจาก 43 จังหวัด ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ ให้ผ่อนผันการจ้างได้แล้วนั้น ให้เสนอกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป
3) กำกับ ดูแล แก้ไขปัญหา ตรวจตรา และบังคับใช้กฎหมายแก่นายจ้างและแรงงาน ต่างชาติ เพื่อให้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรการควบคุมต่อไป
4) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมแรงงานต่างชาติตามที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงแรงงาน และสวัสดิการสังคมมอบหมาย
8. สำหรับกิจการขนถ่ายสินค้าทางน้ำ โดยข้อเท็จจรงินายจ้างจะไม่จ้างไว้เป็นการประจำ จะจ้างเป็นครั้งคราวเป็นรายวันเท่านั้น ลักษณะงานจะไม่ทำงานประจำกับนายจ้างเพียงรายเดียวจึงเกิด ปัญหาเกี่ยวกับผู้ที่จะยื่นขอประกันตัว และการออกใบอนุญาตทำงาน ฉะนั้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและ ความเหมาะสมในการควบคุมจึงสมควรให้อธิบดีกรมตำรวจ และอธิบดีกรมการจัดหางาน กำหนดระ เบียบขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อควบคุมการทำงานของแรงงานต่างชาติในกิจการขนถ่ายสินค้าทางน้ำ
9. ให้นายจ้างนำแรงงานต่างชาติที่ทำงานอยู่กับตนก่อนมีมติคณะรัฐมนตรีนี้ไปรายงานตัว ประกันตัว และขอใบอนุญาตทำงาน ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2539 เป็นต้นไป และให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน หากไม่แล้วเสร็จให้กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ร่วมกันพิ จารณาขยายระยะเวลาการประกันตัว และการขอใบอนุญาตทำงานได้อีกไม่เกิน 90 วัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 6 สิงหาคม 2539--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ