ผู้ประกอบการไทยและผู้ใช้ตื่นปลุกจิตสำนึกเรื่องละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ก่อนเสียเปรียบการแข่งขันทางการค้า หลังเข้าสู่เออีซี ระดมทุกฝ่ายต้องให้ความรู้เรื่องลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์จริงจัง ซิป้ารุกปฏิบัติการสัมมนาทั่วไทยเข้าใจลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ หลังประสบความสำเร็จ

ข่าวเทคโนโลยี Monday July 8, 2013 15:47 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--8 ก.ค.--2010 Creation นายไตรรัตน์ ฉัตรแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หน่วยงานภายใต้การกำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยถึงมูลค่าตลาดการผลิต และบริการซอฟต์แวร์ในปีที่ผ่านมาว่า มีมูลค่ากว่า 55,000 ล้านบาท และในปี 2556 ตลาดจะมีการขยายตัวต่อเนื่อง โดยมีผู้ประกอบการด้าน ICT กว่า 5,000 ราย มีบุคลากรในวงการนี้มากว่า 23,000 ราย อัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมมากกว่า17.2% และเพื่อเร่งสร้างความพร้อมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ก่อนเข้าสู่ AEC 2015 โดยมีแผนงานดังนี้ มุ่งเน้นการจัดสรรกำลังคนทางด้านซอฟต์แวร์เพื่อรองรับ AEC อย่างเป็นรูปธรรม โดยจะเร่งผลิตบุคลากรคุณภาพด้านซอฟต์แวร์ เพื่อที่จะทำให้ประเทศที่จะเข้ามาแข่งขันในอาเซียนไม่สามารถเข้ามาแย่งตลาดบุคลากรในด้านนี้ได้ ทั้งนี้จะมีการจัดจัดสัมมนา เรื่อง "การจัดการทรัพย์สินทางปัญญากับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Intellectual Property management for AEC)” ในทุกภาคทั่วประเทศ ที่ผ่านมาได้จัดขึ้นแล้ว 3 ครั้งที่จังหวัดขอนแก่นและ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และ จังหวัดภูเก็ต ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการ นักศึกษา สื่อมวลชนเป็นอย่างมากมีผู้เข้าร่วมแต่ละครั้งมากกว่า100 คน ทั้งนี้ในวันที่ 18 กรกฎาคมที่ จังหวัดพิษณุโลก ภาคกลางจัดในวันที่ 1 สิงหาคม ที่ กรุงเทพฯ สำหรับผู้ที่ต้องการปรึกษาข้อมูลด้านไอที ซอฟต์แวร์ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้มี "บริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว หรือ One Stop Services" ของบริการภาครัฐ เช่น การให้บริการของภาครัฐสู่ประชาชนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ความร่วมมือภาคการศึกษาในการเห็นพ้อง สนับสนุนบรรจุหลักสูตรซอฟต์แวร์เพื่อการเพิ่มและพัฒนาศักยภาพบุคลากรไทยอีกด้วย ด้าน ดร.คมน์ทนงชัย ฉายไพโรจน์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลล้มละลายกลาง เปิดเผยในงานสัมมนา การจัดการทรัพย์สินทางปัญญากับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนซึ่งจัดที่อ.หาดใหญ่ เมื่อเร็วๆนี้ว่า กรณีผู้ที่ทำผิดกฎหมาย ด้านการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ของไทยปัจจุบันนั้นมีคดีความสูงมาก และที่สำคัญมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ด้านกฎหมาย ผิดกฎหมายไทย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ กฎหมายต่างประเทศ เช่นกฎหมายการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม UCA (Unfair Competition Act) กฎหมายนี้บังคับให้ผู้ผลิตและผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้ซอฟต์แวร์หรือฮาร์ทแวร์ที่ถูกต้อง ในการประกอบธุรกิจ ทั้งในการผลิต และจำหน่าย และการทำตลาด โดยกฎหมายนี้ครอบคลุมไปถึง36รัฐ และ3 ดินแดนในอาณาเขตการปกครองของสหรัฐอเมริกาแล้ว “สำหรับประเทศไทยต้องยอมรับว่า กฎหมายเอาผิดด้านซอฟต์แวร์ยังมีจุดอ่อนอีกมาก อยู่ในช่วงการปรับปรุงนำเสนอ ดังนั้นจะต้องรณรงค์สร้างจิตสำนึกไม่ให้ใช้ของเถื่อน ของปลอม รวมถึงการระดมกำลังให้ความรู้ถึงข้อเสีย ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ให้ความรู้ทั้งภาพประชาชนทั่วไป และภาคของผู้ประกอบการธุรกิจด้วย ผมมองว่าการดำเนินการให้ความรู้ การจัดงานสัมมนาฟรี!! ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่หน่วยงานซิป้า ดำเนินการอยู่นี้ถือว่าดำเนินการมาถูกทาง และถูกต้องแล้ว เราจะต้องสร้างจิตสำนึกให้เกิดขึ้นในสังคม ซึ่งจะส่งผลดีต่อการค้าระดับนานาชาติ ต่อเศรษฐกิจของประเทศชาติอย่างยั่งยืนแน่นอน”ดร.คมน์ทนงชัย กล่าว

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ