บทความพิเศษ AEC ในทัศนะ ดร.วิโรจน์ (วิลเลี่ยม วู) (ภาค 5)

ข่าวทั่วไป Thursday July 11, 2013 10:35 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--11 ก.ค.--กุศมัย กรุ๊ป บทความพิเศษ AEC ในทัศนะ ดร.วิโรจน์ (วิลเลี่ยม วู) กูรูตลาด นีช ตัวจริง ! (ภาค 5) เมื่อรู้จักแนวคิดของคู่แข่งขันธุรกิจในประเทศ ซีกโลกตะวันตกแล้ว ก็ต้องศึกษาให้รู้ว่า นักธุรกิจในซีกโลกตะวันออก เขาเป็นอย่างไรบ้าง? ซึ่งแน่นอน ประเทศที่น่าศึกษามากที่สุดอันดับแรก คือ ประเทศญี่ปุ่น เพราะเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ ของซีกโลกตะวันออกที่น่าจับตามอง เนื่องจากเป็นประเทศที่สามารถผลิต เพื่อการส่งออกได้มากที่สุด ภายใต้แบรนด์ของตนเองในอุตสาหกรรมต่างๆ ตั้งแต่ นาฬิกา เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน รถยนต์ คอมพิวเตอร์ และอื่นๆ อีกมากมาย โดยศึกษาความสำเร็จ และนำเทคโนโลยีจาก อเมริกาและยุโรป แล้วมาทำการต่อยอดเป็นของตนเอง ที่ผมบอกว่า “ คุณจะเป็นปลาเล็กที่อยู่ในมหาสมุทรธุรกิจได้อย่างไร โดยไม่ให้ปลาตัวใหญ่กินคุณ ” นี่ก็เป็นตัวอย่างที่ดีตัวอย่างหนึ่งในอดีต ซึ่งปัจจุบัน ญี่ปุ่นก็ต้องปรับตัวอย่างมากเช่นกัน! ที่ญี่ปุ่นสำเร็จได้ก็เพราะรัฐบาลสนับสนุน โดยอาศัยองค์กรการค้าระหว่างประเทศ หรือที่เรารู้จักกันในนาม JETRO หรือ JICA ซึ่งมีหน้าที่เป็นหัวหอกในการหาข้อมูลทางการค้า และการลงทุน ให้นักธุรกิจชาวญี่ปุ่น เพื่อไปทำการตลาดในเวลาต่อมา โดยให้บริษัทข้ามชาติ ที่เป็น Trading Company เข้ามาก่อน แล้วนำเข้าสินค้าญี่ปุ่นเข้ามาขาย ลองตลาด หากตลาดดีก็เข้ามาลงทุนผลิตในประเทศเป้าหมาย แล้วนำเครือข่าย บริษัทลูกหรือ Subcontractor ตามเข้ามาเป็นขบวน ตัวอย่างจากอุตสาหกรรมรถยนต์ เช่น TOYOTA ก็จะมาตั้งโรงงานประกอบรถยนต์ และทำการตลาดโดยแต่งตั้งคนไทยเป็นตัวแทนจำหน่าย ส่วนข้างหลังโรงงาน ก็เป็นโรงงานเล็กๆ ประกอบชิ้นส่วน ซึ่งทำให้สามารถสั่งชิ้นส่วนได้ทุกนาที จึงทำให้เกิดระบบ Just in Time หรือ Kaisen ได้ แต่อุตสาหกรรมไทยๆ ที่ไม่ได้มาเป็นยวงอย่างเขาอย่าไปเลียนแบบเชียวนะครับ มีช่วงหนึ่ง คนไทยเห่อมาก แต่ไม่มีใครทำสำเร็จ เพราะโครงสร้างการผลิตต่างกัน หรือแม้แต่คำว่า Re-engineering ของฝรั่งที่ฮิตติดตลาดในช่วง ปี 2000 เราก็ไม่ควรเปลี่ยนหมดอย่างเขา เพราะการเปลี่ยนแบบนี้ หมายถึงการเปลี่ยนรูปแบบ ทั้งภายนอกและภายใน คือ เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรด้วย ซึ่งคนไทยอีก 100 ปี ก็เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมภายในองค์กรไม่ได้ เพราะ ติดนิสัยเสียแล้ว...เสียแล้ว ...หมายถึง ไม่ดี ฉะนั้น ผมกำลังบอกคุณว่า อย่าไปเลียนแบบหรือตามก้นคนอื่น เพราะนั่นไม่ใช่ตัวเรา แตกต่างกัน ทั้งเวลา สถานที่และเงินทุน Case study จึงเป็นได้แค่เหตุการณ์ที่แต่งเติมจากความเป็นจริงบ้างให้ดูดี น่าสนใจ เพื่อประดับความรู้ ประสบการณ์เท่านั้น ไม่ใช่ให้เลียนแบบ หรือทำตาม ต่อมาก็มี เสืออีกหลายตัวที่เดินตามรอย ญี่ปุ่น เช่น เกาหลี ไต้หวัน และ ฮ่องกง คือ ไม่เน้น GDP แต่เน้น GNP อยากจะพูดจริงๆว่า GDP จริงๆแล้ววัดอะไรให้เรา ชื่ออาจฟังเท่ แต่กินไม่ได้... คือขอให้เป็นของคนญี่ปุ่น ไปทำที่ประเทศไหน ในโลกก็ได้ ไม่จำเป็นต้องทำที่บ้านของตนเอง เปรียบ เสมือนลูกคนโตที่ออกไปทำงานข้างนอก และรวย ข้างนอก แล้วทิ้งคนแก่ให้เฝ้าบ้าน จริงจังกับธุรกิจ และประสบความสำเร็จในธุรกิจ แต่ความสำเร็จในการดำรงชีวิต อาจจะไม่ประสบความสุขสักเท่าไหร่? บางคนถึงกับฆ่าตัวตายบ้าง เช่น โดดตึก และโดดให้รถไฟฟ้าใต้ดินทับ เป็นต้น คือคนญี่ปุ่น เป็นคนจริงจัง และเครียดกับการทำงานมาก ถ้าล้มเหลวแล้วรับไม่ได้ ต้องฆ่าตัวเองเพื่อแสดงความรับผิดชอบในความพ่ายแพ้ แบบเลือดซามูไร ซึ่งถือว่ามีเกียรติและศักดิ์ศรีสูง ประเทศไทย ก็เกือบจะเดินรอยตามเขาอยู่เช่นกัน ในยุคหนึ่งเคยอยากเป็นเสือตัวที่ 4 หรือจะแมวตัวที่ 1 ก็ไม่รู้ … แล้วพบกันใหม่ครับ เจ้าของกิจการท่านใดสนใจต้องการปรึกษาธุรกิจ สามารถติดต่อ ดร.วิโรจน์ กุศลโนมัย ได้ โดยตรงที่ โทรศัพท์ 085-48885-427 หรือ E-mail: info@kusamai.com http://www.kusamai.com สอบถามข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท กุศมัย กรุ๊ป จำกัด โทรศัพท์ 02-416700

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ