มาสเตอร์การ์ด อินเด็กซ์ เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคไทยยังคงเป็นไปในทางบวก ตลาดเกิดใหม่มีทัศนคติอันสดใส แต่ความเชื่อมั่นเติบโตมากที่สุดในญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลี

ข่าวเศรษฐกิจ Friday July 12, 2013 10:09 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--12 ก.ค.--124 คอมมิวนิเคชั่นส คอนซัลติ้ง ท่านสามารถทวีตข่าวนี้ได้โดยการโพสต์ลิ้งค์ http://bit.ly/143Qwpe ลงบนทวิตเตอร์พร้อมใส่แท็ก #MasterCard และ #ConsumerConfidence ดัชนีสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภค มาสเตอร์การ์ด อินเด็กซ์ (MasterCard IndexTM of Consumer Confidence) เผยความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเพิ่มขึ้นอย่างสดใสท่ามกลางการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่มั่นคง นำโดยตลาดเกิดใหม่อย่างพม่า อินเดีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ส่วนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคไทย ยังคงเป็นไปในทางบวก โดยคะแนนความเชื่อมั่นในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2556 อยู่ที่ 74.9 จุดดัชนี เพิ่มขึ้น +5.3 จุดจากการสำรวจครั้งก่อน ทั้งยังพบการเพิ่มขึ้นของทัศนคติด้านความมั่นใจในทั้ง 5 ดัชนีย่อย ซึ่งได้แก่ เศรษฐกิจ แนวโน้มการจ้างงาน ตลาดหุ้นในประเทศ แนวโน้มของรายได้ และคุณภาพชีวิตในระยะ 6 เดือนข้างหน้านี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค มาสเตอร์การ์ด อินเด็กซ์ จัดทำขึ้นโดยการสำรวจในช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2556 โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 12,205 คน อายุระหว่าง 18-64 ปี จาก 27 ประเทศทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตะวันออกกลาง และแอฟริกา โดยครั้งนี้เป็นการสำรวจความมั่นใจของผู้บริโภคครั้งที่ 41 นับตั้งแต่เริ่มมีการสำรวจมาเมื่อปี พ.ศ. 2536 ดัชนีนี้ก้าวเข้าสู่ปีที่ 20 และเป็นการสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกที่ครอบคลุมและยาวนานมากที่สุด ผู้ตอบแบบสอบถามถูกถามคำถาม 5 ข้อเกี่ยวกับทัศนคติด้านเศรษฐกิจ แนวโน้มการจ้างงาน ตลาดหุ้นในประเทศ แนวโน้มของรายได้ และคุณภาพชีวิตของพวกเขาในระยะ 6 เดือนข้างหน้า โดยคะแนนจากทั้ง 5 ตัวชี้วัดจะมีคะแนนอยู่ในช่วงระหว่าง 0-100 ศูนย์คะแนนหมายถึงผลที่เป็นไปในทางลบมากที่สุด 100 คะแนนจะหมายถึงผลที่เป็นไปในทางบวกมากที่สุด ส่วน 50 คือผลที่เป็นกลาง ทั้งนี้ ผลสำรวจและรายงานประกอบต่างๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับผลประกอบการทางการเงินของมาสเตอร์การ์ดทั้งสิ้น หากมองในภาพรวม 10 จาก 16 ตลาดในเอเชียแปซิฟิกมีการปรับปรุงไปในทางบวกเมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีหลังของปี 2555 นำหน้ามาโดยประเทศพม่า (96.0 จุดดัชนี) อินเดีย (82.0 จุดดัชนี) อินโดนีเซีย (81.0 จุดดัชนี) และฟิลิปปินส์ (79.9 จุดดัชนี) โดยญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางด้านความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด ซึ่งคะแนนพุ่งสูงขึ้นจากการสำรวจครั้งที่แล้วจาก 37.0 เป็น 60.7 จุดดัชนีในครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เมื่อช่วงครึ่งปีหลังของปี 2548 ที่จุดดัชนีอยู่ที่ 63.0[1] ส่วนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวไต้หวันและเกาหลีก็ก้าวกระโดดขึ้นเช่นกัน โดยเพิ่มขึ้น 19.2 และ 14.8 จุดดัชนีตามลำดับ ซึ่งคะแนนดัชนีของไต้หวันนั้นเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวเมื่อเทียบกับการสำรวจเมื่อครั้งก่อน (25.7 จุดดัชนี) “โดยรวมแล้วชาวเอเชียยังคงมีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจของพวกเขา การก้าวกระโดดที่สูงขึ้นของความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เห็นในประเทศญี่ปุ่น สามารถนำมาประกอบกับมาตรการของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาภาวะเงินฝืด ส่วนกรณีของเกาหลีก็สามารถเชื่อมโยงเข้ากับมาตรการของรัฐบาลใหม่ที่ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยเฉพาะเรื่องการลดภาษีที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินด้วยเช่นกัน” ปิแอร์ เบอร์เรท์ หัวหน้าประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ทีปรึกษาของมาสเตอร์การ์ด กล่าว สำหรับสถานะปัจจุบันของความมั่นใจผู้บริโภคในประเทศไทยอยู่ที่ 74.9 จุดดัชนี ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 69.9 จุดในครึ่งปีหลังของปีที่แล้ว (เพิ่มขึ้น +5.3 จุด) นอกจากนั้น ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคไทยยังสูงขึ้นในทั้งห้าตัวชี้วัดสำคัญ อันได้แก่ เศรษฐกิจ — เพิ่มขึ้นจาก 64.5 เป็น 69.8 จุด (เพิ่มขึ้น +5.3 จุด) การจ้างงาน — เพิ่มขึ้นจาก 65.9 เป็น 75.7 จุด (เพิ่มขึ้น +9.8 จุด) ตลาดหุ้น — เพิ่มขึ้นจาก 70.8 เป็น 71.3 จุด (เพิ่มขึ้น +0.5 จุด) รายได้ประจำ — เพิ่มขึ้นจาก 84.4 เป็น 90.1 จุด (เพิ่มขึ้น +5.7 จุด) และ คุณภาพชีวิต — เพิ่มขึ้นจาก 62.3 เป็น 67.6 จุด (เพิ่มขึ้น +5.3 จุด) ส่วนประเทศที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงนั้นได้แก่บังคลาเทศ ซึ่งดัชนีความเชื่อมั่นลดลงจาก 39.5 เป็น 22.2 จุดดัชนี เนื่องมาจากความไม่แน่นอนทางการเมือง การนัดหยุดงานที่เกิดขึ้นหลายครั้ง และวิกฤตด้านอุตสาหกรรมเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม นอกจากนี้ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเวียดนามก็ลดลงเช่นเดียวกัน โดยลดลง 16.1 จุดดัชนีจากการสำรวจครั้งก่อนมาเป็น 58.4 จุดดัชนีในครั้งนี้ และยังพบการลดลงของคะแนนในดัชนีย่อยซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญทั้งหมดอีกด้วย โดยสรุปแล้ว ความเชื่อมั่นโดยรวมของผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกเพิ่มขึ้น 1.2 จุดดัชนี (จาก 62.1 จุดดัชนีในครึ่งปีหลังของปี 2555 เพิ่มเป็น 63.3 จุดดัชนี) ทั่วทั้งภูมิภาค ตัวบ่งชี้ความเชื่อมั่นทางการจ้างงานแสดงการเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ +3.2 จุดดัชนี (จาก 59.4 เป็น 61.3 จุดดัชนี) ตามมาด้วยตลาดหุ้น +2.3 จุดดัชนี (จาก 59.0 เป็น 61.3 จุด) สภาพเศรษฐกิจ +1.6 จุดดัชนี (จาก 60.0 เป็น 61.6 จุด) และรายได้ประจำ +0.4 จุดดัชนี (จาก 73.8 เป็น 74.2 จุด) อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นด้านคุณภาพชีวิตนั้นลดลง 1.5 จุดดัชนี (จาก 58.1 เป็น 56.6 จุด) สำหรับสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ 124 คอมมิวนิเคชั่นส คอนซัลติ้ง โทร 0 2 718 1886

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ