กรุงเทพฯ--17 ก.ค.--เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังเปิดห้องเรียนวิศวกรรมขนส่งทางราง ขนนักศึกษาวิศวกรรมระบบรางกลุ่มแรกของประเทศไทย ทดลองตรวจคุณรางรถไฟ สถานีพระจอมเกล้าลาดกระบัง ด้วยเครื่อง “Phased Array Ultrasonic” โดยนักศึกษาดังกล่าวผ่านการคัดกรองนักเรียนระดับมัธยมศึกษาระดับหัวกะทิทั่วประเทศกว่า 2,000 คน และคัดเลือกให้เข้าเรียนเพียง 50 คน เข้าศึกษาหลักสูตรการเรียนการสอนในสาขาวิชาวิศวกรรมขนส่งทางราง โดยนักศึกษาจะได้ศึกษาตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางราง องค์ประกอบและการออกแบบระบบรางรถไฟ ระบบขับเคลื่อนต่างๆของรถไฟ การควบคุมและติดตามการเดินรถไฟ การตรวจรอยร้าวของรางรถไฟแบบไม่ทำลายราง ศึกษาพฤติกรรมการสั่นสะเทือนของระบบราง และการส่งสัญญาณเพื่อควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ทางระบบราง จะเห็นได้ถึงการบูรณาการพื้นฐานวิศวกรรมหลายแขนงใช้พื้นฐานวิศวกรรมหลายแขนง อาทิ ด้านวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมโยธา และ วิศวกรรมไฟฟ้า จะนำไปใช้ในส่วนของระบบการเคลื่อนที่ของรถไฟวิศวกรรมไฟฟ้า นำไปใช้ในการพัฒนาการควบคุมการเดินรถ วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์โดยหลักสูตรสอนให้นักศึกษาได้รู้จักการบูรณาการจากเนื้อหาในหนังสือมาเพื่อที่จะนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริง ถือเป็นการพัฒนาบัณฑิตให้มีคุณภาพตรงตามหลักพันธกิจและวิสัยทัศน์ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยคาดว่าในปี 2562 สจล. จะสามารถผลิตบุคลากรด้านวิศวกรรมระบบรางไม่ต่ำกว่า 240 คน โดยปัจจุบันเส้นทางเดินรถไฟในประเทศไทย มีเส้นทางสายหลัก 5 สาย รวมทั้งประเทศไทยเป็นระยะทาง 8,278 กิโลเมตร อีกทั้งมีรถตรวจสภาพรางพิเศษ EM80 ซึ่งมีเพียงคันเดียวในประเทศ สำหรับวิ่งทดสอบรางรถไฟ อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีที่ใช้ในด้านระบบขนส่งทางรางทั่วโลกในปัจจุบัน เป็นระบบรถไฟความเร็วสูงที่ขับเคลื่อนด้วยพลังไฟฟ้าและพลังแม่เหล็ก มีความเร็วในการเดินรถ ตั้งแต่ 200 — 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รวมถึงรถไฟความเร็วสูงที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ไอพ่นเหมือนกับที่ใช้ในเครื่องบิน ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะช่วยลดต้นทุนในการติดตั้งระบบสายส่งไฟฟ้าไปยังตัวรถไฟได้ด้วยโดยประเทศที่มีการเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูง ส่วนใหญ่เป็นประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก อาทิ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เยอรมนี จีน เกาหลีใต้ ฯลฯ โดยสำหรับประเทศไทยในอนาคตมีโครงการที่ภาครัฐกระตุ้นให้เกิดขึ้นได้แก่ รถไฟรางคู่ทั่วประเทศ รวมถึงโครงการรถไฟความเร็วสูง ซึ่งคาดว่าภาคอุตสาหกรรมจะมีความต้องการบุคลากรวิศวกรระบบรางไม่ต่ำกว่า2,000 คน
สำหรับประชาชนทั่วไปที่สนใจ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หมายเลขโทรศัพท์0-2329-8400 ถึง 8411 ต่อ 285, 286
ศาสตราจารย์ ดร. ถวิล พึ่งมา อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า ปัจจุบันเส้นทางเดินรถไฟในประเทศไทย มีเส้นทางสายหลัก 5 สาย ได้แก่ สายเหนือ ระยะทาง 1,208 กิโลเมตร สายตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะทาง 1,545 กิโลเมตร สายใต้ ระยะทาง 4,758 กิโลเมตร สายตะวันออก ระยะทาง 703 กิโลเมตร และสายแม่กลอง 64 กิโลเมตร รวมทั้งประเทศไทยเป็นระยะทาง 8,278 กิโลเมตร โดยระบบรถไฟดังกล่าวเปิดบริการมายาวนานกว่า 100 ปี และได้การซ่อมบำรุงรางรถไฟอยู่เป็นประจำปัจจุบันรางรถไฟในประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตามประเทศไทยเป็นระบบรถไฟรางเดี่ยว เมื่อรถไฟสวนทางกันจะต้องรอสลับราง ซึ่งเป็นข้อเสียประการหนึ่งของระบบขนส่งทางราง ทำให้การเดินทางเกิดการล่าช้า และไม่สามารถคำนวณเวลาการเดินรถได้อย่างแม่นยำ อีกทั้งปัจจุบันประเทศไทยมีรถตรวจสภาพรางพิเศษ EM80 ซึ่งมีเพียงคันเดียวในประเทศ สำหรับวิ่งทดสอบรางรถไฟกว่า 8,278 กิโลเมตร ซึ่งทำให้การตรวจสอบรางทั้งหมด มีโอกาสเกิดการคาดเคลื่อนและต้องใช้ระยะเวลานานในการตรวจสอบ
ศาสตราจารย์ ดร. ถวิล กล่าวต่อว่า ขณะนี้เทคโนโลยีที่ใช้ในด้านระบบขนส่งทางรางทั่วโลก มักจะเป็นระบบรถไฟความเร็วสูงที่ขับเคลื่อนด้วยพลังไฟฟ้าและพลังแม่เหล็ก มีความเร็วในการเดินรถ ตั้งแต่ 200 — 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยประเทศที่มีการเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูง ส่วนใหญ่เป็นประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก อาทิ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เยอรมนี จีน เกาหลีใต้ ฯลฯ และในอนาคตเทคโนโลยีระบบรางรถไฟที่กำลังจะมีการนำมาใช้ คือ รถไฟความเร็วสูงที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ไอพ่นเหมือนกับที่ใช้ในเครื่องบิน ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะช่วยลดต้นทุนในการติดตั้งระบบสายส่งไฟฟ้าไปยังตัวรถไฟได้ด้วย นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีแมคเนติกเลวิเทชั่น หรือแมคเลฟ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีล่าสุดที่พัฒนามาจากพลังแม่เหล็ก และสำหรับประเทศไทยในอนาคตโครงการที่ภาครัฐกระตุ้นให้เกิดขึ้นได้แก่ รถไฟรางคู่ทั่วประเทศ รวมถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงด้วย ซึ่งในระบบรถไฟรางคู่ที่กำลังจะเกิดขึ้นจะช่วยทำให้ระบบการขนส่งทางรางของไทยมีประสิทธิภาพในการเดินรถมากขึ้น และแก้ปัญหาในเรื่องของระยะเวลาในการขนส่งได้ อย่างไรก็ตามการพัฒนาระบบรถไฟดังกล่าวประเทศไทยยังขาดบุคคลกรเฉพาะทางจึงมีความจำเป็นอย่างมากที่ภาคการศึกษาต้องสร้างบุคคลากรให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ซึ่ง สจล. ในฐานะของสถาบันการศึกษาชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย จึงได้ เปิดสอนหลักสูตร วิศวกรรมขนส่งทางราง เป็นปีแรกในปีการศึกษา 2556 โดยได้คัดกรองนักเรียนระดับมัธยมศึกษาระดับหัวกะทิทั่วประเทศกว่า 2,000 คน และคัดเลือกให้เข้าเรียนเพียง 50 คน โดยคาดว่าใน ปี 2562 สจล. จะสามารถผลิตบุคลากรด้านวิศวกรรมระบบรางไม่ต่ำกว่า 240 คน
ด้าน ดร.ณัฐวุฒิ หลิ่วพิริยะวงศ์ ประธานหลักสูตรวิศวกรรมขนส่งทางราง คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสูตรการเรียนการสอนในสาขาวิชาวิศวกรรมขนส่งทางราง โดยนักศึกษาจะได้ศึกษาตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางราง องค์ประกอบและการออกแบบระบบรางรถไฟ การตัดทางรถไฟ การซ่อมบำรุงรถไฟ หน้าที่และการทำงานของระบบต่างๆของรถไฟการวิเคราะห์แรงต้านและการใช้พลังงานของรถไฟ การสร้างและซ่อมบำรุงรางรถไฟการควบคุมการจราจรของรถไฟและระบบการส่งสัญญาณ หรือที่เรียกว่า ระบบอาณัติสัญญาณ (RAIL SIGNALING)การวางแผนงานระบบขนส่งทางราง ซึ่งใช้องค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการและเศรษฐศาสตร์ด้วย การวิเคราะห์ความปลอดภัยของการเดินรถไฟและรางรถไฟ การคาดคะเนการสึกหรอของระบบรถไฟและรางรถไฟ เพื่อให้สามารถซ่อมบำรุงระบบได้ก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุขึ้น การวิเคราะห์ปัญหาทางวิศวกรรมขนส่งทางราง รวมไปถึงระบบรถไฟความเร็วสูงที่กำลังมีการเร่งพัฒนากันอย่างมากด้วย ซึ่งองค์ความรู้ต่างๆเหล่านี้ จะใช้พื้นฐานวิศวกรรมหลายแขนง อาทิ ด้านวิศวกรรมเครื่องกล จะนำไปใช้ในส่วนของระบบการเคลื่อนที่ของรถไฟวิศวกรรมไฟฟ้า นำไปใช้ในการพัฒนาการควบคุมการเดินรถ วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ เพื่อใช้ในกระบวนการผลิตและพัฒนาเครื่องจักร เครื่องซ่อมบำรุง และวิศวกรรมโยธา เพื่อการออกแบบวางผังเมืองและเส้นทางเดินรถไฟ ฯลฯ ทั้งนี้หลักสูตรได้แบ่งเป็น การเรียนระดับขั้นพื้นฐานทางวิศวกรรมในช่วงสองงปีการศึกษาแรก และในอีก 32 ปีการศึกษาถัดไป จะเน้นเนื้อหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบขนส่งทางรางโดยตรง ดร.ณัฐวุฒิ กล่าว
นอกจากเนื้อหาทางด้านทฤษฎีต่างๆแล้ว โครงสร้างหลักสูตรวิศวกรรมขนส่งทางราง ของ สจล. ยังเน้นให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ในห้องเรียนมาเชื่อมโยงกับภาคปฏิบัติ สามารถคิดวิเคราะห์และนำความรู้มาประยุกต์เพื่อการปฏิบัติงานจริงได้ โดยมีวิชาที่ต้องทำการทดลองและปฏิบัติจริงในห้องทดลองเป็นจำนวนกว่า 13 วิชา หรือคิดเป็น 25% ของเนื้อหาวิชาเรียนทั้งหมดในหลักสูตรนี้ และข้อได้เปรียบอีกประการหนึ่งของนักศึกษา สจล. คือการที่มีรถไฟตัดผ่านกลางสถาบันและมีสถานีรถไฟภายในสถาบันถึง 2 สถานี ซึ่งทำให้นักศึกษาได้เห็นถึงการปฏิบัติงานภาคสนามของจริง สามารถเรียนรู้ได้ในสถานที่จริง ได้เห็นรูปแบบของปัญหาและการแก้ไขปัญหาจริง โดยสิ่งต่างๆจะทำให้บัณฑิตของ สจล. ที่จบออกไปนั้น สามารถปฏิบัติงานได้ทันทีอย่างไรก็ตามเครื่องมือ อุปกรณ์และเทคโนโลยีต่างๆที่ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน ก็มีความทันสมัยและเป็นอุปกรณ์ที่หน่วยงานต่างๆเกี่ยวกับระบบขนส่งทางรางใช้อยู่จริงด้วยอาทิ
เครื่องมือตรวจวัดรอยร้าวในรางรถไฟด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง Phased Array Ultrasonic เป็นเครื่องที่ใช้ตรวจสอบรอยร้าวในรางรถไฟด้วยคลื่น Ultrasonic ซึ่งมีความปลอดภัยและรวดเร็วในการตรวจสอบ สามารถแสดงผลได้ชัดเจนและแม่นยำด้วย โดยจะแสดงผลผ่านหน้าจอในรูปแบบของภาพคลื่นความถี่และตัวเลข และการศึกษาการทำงานของ AC/DC motor เพื่อให้เข้าใจการขับเคลื่อนของรถไฟฟ้าเป็นต้น รวมถึง สจล. ยังมีความร่วมมือกับ หน่วยงานภาครัฐบาลและเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมรถไฟ อาทิ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) และรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด(มหาชน) จึงทำให้ นักศึกษาได้รับองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสูงสุด
ด้านตัวแทนนักศึกษาชั้นปีที่ 1 กล่าวถึงรูปแบบการเรียนการสอนในหลักสูตรวิศวกรรมขนส่งทางราง โดยยกตัวอย่างการเรียนในวิชาวิศวกรรมขนส่งทางราง ที่เน้นการเรียนวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มีโอกาสเข้าร่วมสัมมนาด้านรถไฟ การตรวจสอบคุณภาพและการซ่อมบำรุงรางรถไฟ ฯลฯ ซึ่งต้องมีการสอนเนื้อหาในห้องเรียนก่อนเพื่อให้รู้ถึงองค์ประกอบและส่วนต่างๆเกี่ยวกับรางรถไฟ รวมไปถึงสอนให้รู้จักกับอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการตรวจสอบและซ่อมบำรุงรางรถไฟด้วย จากนั้นอาจารย์จึงได้นำอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนภาคปฏิบัติมาสาธิตให้เห็นถึงวิธีการใช้งาน พร้อมกับให้นักศึกษาได้ทดลองใช้อุปกรณ์นั้นๆ ในห้องปฏิบัติการหรือห้องทดลอง และพานักศึกษาไปลงพื้นที่ที่รางรถไฟ ซึ่งอยู่ภายในสถาบัน โดยตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนวิชานี้ คือ “Phased Array Ultrasonic”ซึ่งการเรียนด้วยเครื่องนี้จะต้องเรียนรู้ถึงวิธีการและกระบวนการในการทดสอบ รวมไปถึงจะต้องศึกษาถึงวิธีการอ่านผลและค่าทางตัวเลข พร้อมกับนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์และประมวลผลทางเทคนิคอื่นๆ ด้วยในปัจจุบันเครื่อง “Phased Array Ultrasonic” เป็นเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้ในการตรวจสอบคุณภาพรางรถไฟ ซึ่งอุปกรณ์ส่วนใหญ่จะถูกพัฒนาให้มีขนาดเล็กลง เพื่อให้เหมาะสมแก่การทำงานภาคสนามยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม อีก 4 ปี ข้างหน้าเมื่อจบการศึกษาตั้งเป้าว่าจะนำความรู้ดังกล่าวมาพัฒนา ระบบรถไฟของประเทศไทย ตลอดจนถ้ามีโอกาสจะศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและเอก เพื่อหวังว่าจะนำความรู้ดังกล่าวมาถ่ายทอดให้รุ่นน้องต่อๆไป
ทั้งนี้การเรียนในห้องเรียนภาคทฤษฎีเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของการศึกษาในหลักสูตรวิศวกรรมขนส่งทางรางของ สจล. เท่านั้น และสิ่งที่สำคัญในการเรียนสาขาวิชานี้คือ ต้องสามารถปฏิบัติงานได้จริง ซึ่งความรู้ในวิชาต่างๆ ที่ได้เรียนไปนี้จะถูกนำไปใช้ในการพัฒนาโครงสร้างระบบขนส่งของประเทศได้ อาทิ การพัฒนารางรถไฟ หัวรถไฟ ระบบจราจรของรถไฟ ให้มีความปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้บริการทั้งขนส่งมวลชนและขนส่งสินค้า และนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ในด้านการลดต้นทุนค่าขนส่งสินค้าและประหยัดพลังงานด้วย ดังนั้นหลักสูตรวิศวกรรมขนส่งทางรางของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จึงเป็นการสอนให้นักศึกษาได้รู้จักการบูรณาการจากเนื้อหาในหนังสือมาประยุกต์ใช้งานได้จริง ถือเป็นการพัฒนาบัณฑิตให้มีคุณภาพ ตรงตามหลักพันธกิจและวิสัยทัศน์ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวสรุป
สำหรับประชาชนทั่วไปที่สนใจ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หมายเลขโทรศัพท์0-2329-8400 ถึง 8411 ต่อ 285, 286