กรุงเทพฯ--18 ก.ค.--โตโยต้า มอเตอร์
มร.เคียวอิจิ ทานาดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด แถลงสถิติการจำหน่ายรถยนต์ครึ่งแรกของปี 2556 มีปริมาณการขาย 740,795 คัน เพิ่มขึ้น 22.1% พร้อมปรับประมาณการตลาดรถยนต์ไทยปี 2556 เป็น 1,300,000 คัน ลดลง 9.5%
มร.ทานาดะ กล่าวว่า “ยอดขายรถยนต์ครึ่งแรกของปีนี้ ได้สร้างสถิติใหม่ของยอดขายรถยนต์ครึ่งปีแรกในประเทศไทยด้วยยอดขาย 740,795 คัน มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 22.1% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มียอดขายเพิ่มขึ้น 11.4% ตลาดรถยนต์นั่งมียอดขายเพิ่มขึ้น 36.7%ทั้งนี้ตลาดรถยนต์ในช่วง 4 เดือนแรกของปี มียอดขายที่สูงมากซึ่งเป็นผลจากการส่งมอบรถยนต์ที่ค้างจองจากโครงการรถยนต์คันแรก ประกอบกับกิจกรรมส่งเสริมการขายของค่ายรถยนต์ต่างๆที่เริ่มตั้งแต่ในช่วงต้นปี
สถิติการขายรถยนต์ ครึ่งแรกของปี 2556
- ปริมาณการขาย(คัน) เปลี่ยนแปลง
เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรกของ2555
- ปริมาณการขายรวม 740,795 +22.1%
- รถยนต์นั่ง 352,051 +36.7%
- รถเพื่อการพาณิชย์ 388,744 +11.4%
- รถกระบะ1 ตัน(รวมรถกระบะดัดแปลง) 326,195 +6.8%
- รถกระบะ1 ตัน(ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 295,705 +8.1%
โดยโตโยต้ามียอดขาย 237,318 คัน ลดลง 1.6% แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 99,337 คัน ลดลง 5.8%รถเพื่อการพาณิชย์ 137,981 คัน เพิ่มขึ้น 1.6% และรถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยอดขายรถเพื่อการพาณิชย์ 128,185 คัน เพิ่มขึ้น 2.2%
สถิติการขายรถยนต์ของโตโยต้า ครึ่งแรกของปี 2556
- ปริมาณการขายโตโยต้า 237,318 คัน ลดลง 1.6% ส่วนแบ่งตลาด 32.0%
- รถยนต์นั่ง 99,337 คัน ลดลง 5.8% ส่วนแบ่งตลาด 28.2%
- รถเพื่อการพาณิชย์ 137,981 คัน เพิ่มขึ้น 1.6% ส่วนแบ่งตลาด 35.5%
- รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 128,185 คัน เพิ่มขึ้น 2.2% ส่วนแบ่งตลาด 39.3%
- รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 112,420 คัน เพิ่มขึ้น 3.5% ส่วนแบ่งตลาด 38.0%
สำหรับการส่งออกในครึ่งปีแรก โตโยต้าได้ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปจำนวน 195,748 คัน ลดลง 4.3% คิดเป็นมูลค่า 85,855 ล้านบาท ตลอดจนการส่งออกชิ้นส่วน มูลค่า 31,499 ล้านบาท รวมเป็นมูลค่าการส่งออกที่ 117,354 ล้านบาท”
สำหรับแนวโน้มตลาดรถยนต์ครึ่งหลังของปี 2556 มร.ทานาดะ กล่าวว่า “ตั้งแต่ในเดือนพฤษภาคมตลาดได้เริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดช่วงครึ่งหลังของปี สะท้อนถึงสภาพตลาดที่กำลังปรับตัวเข้าสู่สภาวะปกติหลังจากการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในปีที่ผ่านมา ดังนั้นแนวโน้มของตลาดรถยนต์ในประเทศปีนี้จะมียอดขายรวมทั้งหมดอยู่ที่ 1,300,000 คัน ลดลงจากปีที่ผ่านมา 9.5%
ประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศ ปี 2556
- ปริมาณการขายรวม 1,300,000 คัน ลดลง 9.5%
- รถยนต์นั่ง 620,000 คัน ลดลง 7.8%
- รถเพื่อการพาณิชย์ 680,000 คัน ลดลง 11.0%
- รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 605,000 คัน ลดลง 9.2 %
- รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 545,000 คัน ลดลง 8.1%
โดยโตโยต้าตั้งเป้าหมายการขายสำหรับตลาดรถยนต์ในประเทศปีนี้ไว้ที่มากกว่า 450,000 คัน แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 172,000 คัน ลดลง 23.5% รถเพื่อการพาณิชย์ 278,000 คัน ลดลง 4.6% และ รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยอดขายรถเพื่อการพาณิชย์ 254,500 คัน ลดลง 5.6%
ประมาณยอดขายรถยนต์ในประเทศของโตโยต้า ปี 2556
- ปริมาณการขายรวม >450,000 คัน ลดลง 12.8% ส่วนแบ่งตลาด 34.6%
- รถยนต์นั่ง 172,000 คัน ลดลง 23.5% ส่วนแบ่งตลาด 27.7%
- รถเพื่อการพาณิชย์ 278,000 คัน ลดลง 4.6% ส่วนแบ่งตลาด 40.9%
- รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 254,500 คัน ลดลง 5.6% ส่วนแบ่งตลาด 42.1%
- รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 220,000 คัน ลดลง 5.7% ส่วนแบ่งตลาด 40.4%
สำหรับเป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปของโตโยต้าในปีนี้อยู่ที่ประมาณ 438,000 คัน คิดเป็นมูลค่า 185,000 ล้านบาท และการส่งออกชิ้นส่วนมูลค่า 66,000 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้นประมาณ 251,000 ล้านบาท”
มร.ทานาดะ กล่าวเพิ่มเติมว่า “สำหรับแผนงานในครึ่งปีหลัง เริ่มจากความต่อเนื่องของการแนะนำ วีออส ใหม่ ครั้งแรกของโลกที่ประเทศไทยและได้เริ่มทำการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศในอาเซียนตั้งแต่ช่วงต้นปี โดยเดือนสิงหาคมนี้ วีออสใหม่ จะเริ่มส่งออกไปยังกลุ่มประเทศนอกอาเซียน นับเป็นรถยนต์นั่งรุ่นแรกที่มีการส่งออกไปประเทศนอกภูมิภาคอาเซียน จากนั้นจะเป็นการเปิดตัวรถยนต์ อีโคคาร์ของโตโยต้าที่ทุกท่านรอคอย
นอกจากนี้เรายังมีกิจกรรมอีกมากมายที่จะมอบให้กับลูกค้าและสังคมไทย ทั้งในด้านการตลาดและกิจกรรมสังคม อาทิ Toyota Safe Driving Education หรือ การอบรมขับขี่ปลอดภัยเพื่อสร้างความเข้าใจในศักยภาพของผู้ใช้รถใช้ถนน การสนับสนุนกีฬาหลากหลายประเภท อาทิ ฟุตบอลโตโยต้าไทยพรีเมียร์ลีก โตโยต้าลีกคัพ และโตโยต้ามอเตอร์สปอร์ต
ทั้งหมดนี้ เพื่อส่งมอบความสุขให้กับคนไทยและสังคมไทย เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ตลอดไป ดั่งความมุ่งมั่นของเรา “โตโยต้า ขับเคลื่อนความสุข” มร.ทานาดะกล่าวในที่สุด
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เดือนมิถุนายน 2556
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 106,018 คัน ลดลง 14.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 38,060 คัน ลดลง 16.1% ส่วนแบ่งตลาด 35.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 17,701 คัน เพิ่มขึ้น 2.5% ส่วนแบ่งตลาด 16.7%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 17,345 คัน ลดลง 1.2% ส่วนแบ่งตลาด 16.4%
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 49,664 คัน ลดลง 17.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 16,844 คัน ลดลง 17.9% ส่วนแบ่งตลาด 33.9%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 16,280 คัน ลดลง 4.8% ส่วนแบ่งตลาด 32.8%
อันดับที่ 3 นิสสัน 3,674 คัน ลดลง 49.8% ส่วนแบ่งตลาด 7.4%
3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)
ปริมาณการขาย 47,092 คัน ลดลง 14.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 19,754 คัน ลดลง 14.4% ส่วนแบ่งตลาด 41.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 15,349 คัน ลดลง 1.8% ส่วนแบ่งตลาด 32.6%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 3,665 คัน ลดลง 48.4% ส่วนแบ่งตลาด 7.8%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 3,656 คัน
โตโยต้า 1,876 คัน - มิตซูบิชิ 1,052 คัน - เชฟโรเลต 575 คัน — อีซูซุ 119 คัน - ฟอร์ด 34 คัน
4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 43,436 คัน ลดลง 12.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 17,878 คัน ลดลง 10.7% ส่วนแบ่งตลาด 41.2%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 15,230 คัน ลดลง 0.6% ส่วนแบ่งตลาด 35.1%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,613 คัน ลดลง 47.1% ส่วนแบ่งตลาด 6.0%
5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 56,354 คัน ลดลง 10.8%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 21,216 คัน ลดลง 14.6% ส่วนแบ่งตลาด 37.6%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 17,701คัน เพิ่มขึ้น 2.5% ส่วนแบ่งตลาด 31.4%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 3,665 คัน ลดลง 48.4% ส่วนแบ่งตลาด 6.5%
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม — มิถุนายน 2556
1) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 740,795 คัน เพิ่มขึ้น 22.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 237,318 คัน ลดลง 1.6% ส่วนแบ่งตลาด 32.0%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 131,458 คัน เพิ่มขึ้น 172.1% ส่วนแบ่งตลาด 17.7%
อันดับที่ 3 อีซูซุ 120,419 คัน เพิ่มขึ้น 23.7% ส่วนแบ่งตลาด 16.3%
2) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 352,051 คัน เพิ่มขึ้น 36.7%
อันดับที่ 1 ฮอนด้า 117,406 คัน เพิ่มขึ้น 150.1% ส่วนแบ่งตลาด 33.3%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 99,337 คัน ลดลง 5.8% ส่วนแบ่งตลาด 28.2%
อันดับที่ 3 นิสสัน 43,534 คัน เพิ่มขึ้น 3.0% ส่วนแบ่งตลาด 12.4%
3) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)
ปริมาณการขาย 326,195 คัน เพิ่มขึ้น 6.8%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 128,185 คัน เพิ่มขึ้น 2.2% ส่วนแบ่งตลาด 39.3%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 107,445 คัน เพิ่มขึ้น 20.5% ส่วนแบ่งตลาด 32.9%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 33,470 คัน ลดลง 22.1% ส่วนแบ่งตลาด 10.3%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 30,490 คัน
โตโยต้า 15,765 คัน — มิตซูบิชิ 9,547 คัน — เชฟโรเลต 3,711 คัน - อีซูซุ 1,210 คัน - ฟอร์ด 257 คัน
4) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 295,705 คัน เพิ่มขึ้น 8.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 112,420 คัน เพิ่มขึ้น 3.5% ส่วนแบ่งตลาด 38.0%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 106,235 คัน เพิ่มขึ้น 21.9% ส่วนแบ่งตลาด 35.9%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 23,923 คัน ลดลง 21.1% ส่วนแบ่งตลาด 8.1%
5) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 388,744 คัน เพิ่มขึ้น 11.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 137,981 คัน เพิ่มขึ้น 1.6% ส่วนแบ่งตลาด 35.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 120,419 คัน เพิ่มขึ้น 23.7% ส่วนแบ่งตลาด 31.0%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 33,470 คัน ลดลง 22.1% ส่วนแบ่งตลาด 8.6%