กรุงเทพฯ--30 ก.ค.--Frost & Sullivan
หลังจากที่ แอปเปิ้ล เปิดตัวระบบปฎิบัติการ iOS7 สำหรับผู้ผลิตรถยนต์ โดยออกแบบการใช้งานและระบบสั่งการด้วยเสียง (SIRI) ให้เหมาะกับการใช้งานในรถยนต์เป็นพิเศษนั้น ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลก ออกมาให้ความเห็นว่า การประกาศนี้ดูเป็นเพียงข่าวต่อเนื่องจากการการประกาศ SIRI EyesFree เมื่อปีที่แล้ว และเพื่อทดลองดูการตอบสนองจากตลาดมากกว่า เนื่องจากผู้ผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่ ต่างก็มีระบบ infotainment ของตนเอง ที่ไปไกลกว่าสิ่งที่ แอปเปิ้ล นำเสนอมาอยู่แล้วมาก
นาย กฤษณะ จายารามาน นักวิเคราะห์ด้านไอซีที จากบริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลก ได้ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า “เมื่อเปรียบเทียบกับ Microsoft และ Google จะเห็นได้ว่า แอปเปิ้ล ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการเชื่อมต่อกับรถยนต์ และการเปิดตัว EyesFree กับการเชื่อมต่อกับ iOS ก็ดูเป็นเพียงความพยายามที่จะสร้างข่าว เพื่อไม่ให้ตัวเองต้องหลุดออกไปจากการเป็นตัวเลือกของค่ายผู้ผลิตรถยนต์เท่านั้น”
แอปเปิ้ล และบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ 9 รายได้ประกาศความร่วมมือในการติดตั้งเทคโนโลยี EyesFree ในรถยนต์ตั้งแต่ปี 2555 ซึ่ง แอปเปิ้ล หวังว่ามันจะเป็นโอกาสที่จะเปิดตลาดใหม่ในการเป็นระบบมาตรฐานบนรถยนต์ แต่จนถึงวันนี้ มีเพียง GM, Honda และ Mercedes-Benz เท่านั้น ที่เริ่มเสนอระบบนี้ให้กับผู้บริโภค ส่วนผู้ผลิตรายอื่นยังคงเลือกที่จะพัฒนาระบบสั่งการด้วยเสียงด้วยตัวเอง โดยซื้อเทคโนโลยีจากบริษัทอื่น ๆ เช่น Nuance ไว้ใช้เป็นระบบหลัก โดย GM ได้พัฒนา Spark และ Sonic ซึ่งเป็นระบบที่รวมกับ SIRI ได้ และ BMW คงจะมีระบบคล้ายคลึงกันนี้ใหัเป็นมาตรฐานกับรถรุ่นปี 2557
นอกจากนี้ นักวิเคราะห์จากฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน ยังมองว่า ถึงแม้ว่า ระบบของ แอปเปิ้ล จะไม่เป็นคู่แข่งสำคัญกับอุตสาหกรรมระบบ infotainment ประจำรถยนต์ แต่ระบบสำเร็จรูปเช่นนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากกับผู้ผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่ โดยระบบของ แอปเปิ้ล มีข้อได้เปรียบหลักคือ เป็นระบบที่ใช้งานอย่างแพร่หลายใน Smartphone ทำให้ผู้ผลิตรถยนต์ไม่ต้องสร้าง ฟังก์ชั่น ต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์ ระบบแนะนำหาเส้นทาง หรือเล่นเพลง ขึ้นมาซ้ำซ้อนกับ Smartphone อีก
“แอปเปิ้ล บอกว่า ผู้ผลิตหลายราย อาทิ Honda, Mercedes-Benz, Nissan, Ferrari, Chevrolet, Infiniti, Kia, Hyundai, Volvo, Vauxhall/Opel, และ Jaguar จะนำ iOS สำหรับไปใช้ในรถยนต์ ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า BMW ไม่อยู่ในรายชื่อด้วย” นาย กฤษณะ ตั้งข้อสังเกต
“เป็นการยากสำหรับบริษัทรถยนต์ที่มีระบบ infotainment ที่ค่อนข้างสมบูรณ์แล้วจะเปลี่ยนแพลตฟอร์มมาใช้ระบบใหม่ ยังดีที่ แอปเปิ้ล ยังมีข้อได้เปรียบที่ผู้ผลิตส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ดีกับการที่รถยนต์ของตนจะเชื่อมต่อกับผลิตภัณฑ์ของ แอปเปิ้ล ได้ และไม่ได้อยากจะพัฒนาระบบเฉพาะของตนมากนัก”
ความท้าทายอย่างหนึ่งในการพัฒนาระบบ infotainment ยุคใหม่ คือ การหาจุดสมดุลย์ระหว่าง features และความปลอดภัย ตัวอย่างเช่น Ford ได้ประกาศว่าจะถอยกลับไปใช้ปุ่มแทนที่ Touch Screen เพราะใช้งานง่ายกว่าในเวลาขับรถ นอกจากนี้ปัญหาเรื่องระบบแผนที่ตั้งแต่สมัย iOS6 ก็เป็นเรื่องที่น่าวิตกด้วยเช่นกันว่าจะมีผลต่อความเสถียรของระบบของรถยนต์หรือไม่
“ถึงแม้ว่า แอปเปิ้ล จะไม่มีประสบการณ์กับอุตสาหกรรมรถยนต์มาก่อน การที่รถยนต์จะสามารถเชื่อมต่อกับ iOS7 และสั่งการด้วย SIRI ได้ก็อาจจะเป็นจุดขายที่น่าสนใจได้อยู่ดี”
นาย กฤษณะ ยังเสริมอีกด้วยว่า แอปเปิ้ล กำลังเข้าสู่ตลาดนี้อย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยอาศัยฐานความนิยมที่มีต่อ Smartphone ของตน ซึ่งการเปิดตัวโดยวางตำแหน่งให้อุปกรณ์ของตนเป็นผู้เชื่อมต่อระบบย่อยอื่น ๆ ให้เข้ากับรถยนต์ได้ในอนาคต ซึ่งนับว่าเป็นไอเดียที่ดี
Ford, GM, BMW, Mercedes-Benz, Chrysler และ Audi ได้ลงทุนกับระบบ infotainment ที่สามารถเชื่อมต่อกับ smartphone ได้ไปแล้วเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ผู้ผลิตรายอื่น ๆ ก็ซื้อระบบจากภายนอก เช่น Aha ของ Harman มาใช้อยู่แล้ว จึงเหลือช่องว่างให้ แอปเปิ้ล เข้าไปได้น้อยลง แต่กลุ่มเป้าหมายที่เล็กลง ก็อาจจะทำให้การเชื่อมต่อเป็นไปอย่างจำเพาะเจาะจงกับรถยนต์แต่ละรุ่นมากขึ้น และใช้งานได้ดีขึ้นก็เป็นได้
นาย กฤษณะกล่าวสรุปว่า เป็นโอกาสอันดีสำหรับผู้ผลิตรถยนต์ที่จะรับ iOS ของ แอปเปิ้ล ไปใช้เป็นโครงสร้างหลักสำหรับระบบ infotainment ของตน และถ้า แอปเปิ้ล สามารถหาทางออกให้กับรถยนต์รุ่นเก่า เช่น หาวิธีเชื่อมต่อกับระบบ infotainment อื่น ๆ ที่เจ้าของรถยนต์สามารถซื้อมาเปลี่ยนได้เอง เป็นต้น ก็จะยิ่งเป็นการทำให้ แอปเปิ้ล ขยายตลาดได้เร็วขึ้น