เจาะลึกกลวิธีวอชิงตันรับมือกับเรื่องอื้อฉาวของประธานาธิบดี พร้อมวิเคราะห์ผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก

ข่าวทั่วไป Tuesday November 3, 1998 14:35 —ThaiPR.net

กรุงเทพ--3 พ.ย.--เลแมน บราเธอร์ส
เมื่อเร็วๆ นี้ มร. โทมัส แกลเลเกอร์ กรรมการผู้จัดการของเลแมน บราเธอร์ส และหัวหน้าสำนักงานวิจัยหลักทรัพย์ประจำสำนักงานวอชิงตัน ดี.ซี. ได้มาวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ทางการเมืองของสหรัฐฯ และผลกระทบที่ประเทศไทยและประเทศต่างๆ ทั่วโลกอาจจะได้รับ พร้อมกล่าวถึงโอกาสที่บิลล์ คลินตันจะถูกถอดถอนออกจากเก้าอี้ประธานาธิบดี การรับมือของวอชิงตันต่อวิกฤติการณ์การเงิน และภาวะสินเชื่อตึงตัวจะส่งผลต่อนโยบายของรัฐบาล
แนวโน้มที่คลินตันจะถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มร. แกลเลเกอร์ ได้เดินทางมาประชุมกับลูกค้าของเลแมนในเอเชีย ซึ่งมีพอร์ตลงทุนขนาดใหญ่อยู่ในสหรัฐฯ เพื่ออธิบายสถานการณ์ทางการเมืองในสหรัฐฯ และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับภาวะการลงทุนของลูกค้า ในช่วงที่ท่านเยือนเอเชีย มร. แกลเลเกอร์ได้พบกับลูกค้าเอเชียหลายคนที่มองว่าประเด็นการถอดถอนประธานาธิบดีออกจากตำแหน่งไม่ใช่เรื่องสลักสำคัญมากนัก “พวกเขามองว่าเรื่องอื้อฉาวที่คลินตันก่อเป็นแค่เรื่องส่วนตัว และคงเป็นเรื่องแปลกหากคลินตันต้องหลุดจากเก้าอี้เพราะเรื่องนี้”
มร. แกลเลเกอร์ เชื่อว่า ประธานาธิบดีคลินตันคงจะยังคงเป็นผู้นำประเทศของสหรัฐฯ ต่อไป เนื่องจากยังคงได้รับแรงสนับสนุนจากมติมหาชน อย่างไรก็ดี แนวโน้มที่ที่คลินตันจะถูกถอดออกตำแหน่งนั้นขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของสมาชิกสภาคองเกรสสังกัดพรรคเดโมแครตเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากพรรครีพับลิกันยังไม่มีทีท่าว่าจะยอมรามือจากเรื่องนี้ ประเด็นนี้จะเป็นประเด็นที่ครอบงำการเมืองอเมริกันเรื่อยไปตลอดครึ่งปีหน้า สำหรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับตลาดเงินนั้น มร. แกลเลเกอร์กล่าวว่า เรื่องอื้อฉาวของประธานาธิบดีจะลงเอยอย่างไรนั้นมีความสำคัญน้อยกว่าเรื่องอื้อฉาวนี้จะได้รับการแก้ไขเร็วเพียงใด “ปัญหานี้จะไม่สามารถแก้ไขได้ในเร็ววัน และน่าจะจบลงด้วยการประนีประนอมโดยออกมาในรูปของการให้สมาชิกสภาคองเกรสมีมติประณามการกระทำของประธานาธิบดีมากกว่าเป็นการถอดถอนประธานาธิบดีออกจากตำแหน่งอย่างเต็มรูปแบบ กระบวนการถอดถอนประธานาธิบดีออกจากตำแหน่งจะยิ่งสร้างความผันผวนให้เกิดขึ้นกับตลาด”
แม้ว่าการถอดถอนประธานาธิบดีออกจากตำแหน่งจะเป็นกระบวนการที่รุนแรง แต่ มร. แกลเลเกอร์เชื่อว่า จะมีการขยายประเด็นว่าเรื่องอื้อฉาวทำให้ประธานาธิบดีเกิดความกังวล “ขณะที่ฐานะความเป็นผู้นำของเขากำลังถูกทำให้เสื่อมเสีย คลินตันไม่ควรที่จะต้องกังวลมากเกินไป ยุทธศาสตร์ของเขาคือ ‘ปฏิบัติหน้าที่’ ของเขาต่อไป และคลินตันจะยิ่งทุ่มความสนใจไปที่ปัญหาระหว่างประเทศมากขึ้น อย่างไรก็ดี ผู้นำบางประเทศอาจมองว่าคลินตันอ่อนแอ และกังวลกับกระบวนการถอดถอนประธานาธิบดีออกจากตำแหน่ง”
การเลือกตั้งกลางเทอมที่จะมีขึ้นในอาทิตย์หน้า แกลเลเกอร์ คาดว่า การที่สาธารณชนรู้สึกเบื่อหน่ายต่อการเมืองอาจส่งผลให้ยอดผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ได้ ถึงกระนั้นประชาชนยังคงพอใจกับภาวะเศรษฐกิจในขณะนี้ ถึงแม้ว่าปัญหาเริ่มก่อเค้าลางให้เห็นเบื้องหน้าแล้ว เขาเชื่อว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาเป็นกลางๆ จะยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงใหญ่โตเกิดขึ้นในวอชิงตัน
ปฏิกิริยาของวอชิงตันต่อวิกฤติการเงินโลก:นับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนสิงหาคมปีนี้เป็นต้นมา นักลงทุนสหรัฐฯ เริ่มวิตกกังวลมากขึ้นต่อสถานการณ์เศรษฐกิจระหว่างประเทศ หลังจากเกิดสถานการณ์ขึ้ในรัสเซีย มาเลเซีย และฮ่องกง วิธีที่คลินตันใช้รับมือกับวิกฤติการเงินโลกดังกล่าวนี้คือ หยุดการลุกลามและฟื้นฟูความเชื่อมั่นในระบบระหว่างประเทศขึ้นมา โดยอาศัยการสนับสนุนของไอเอ็มเอฟ ขณะเดียวกัน หลีกเลี่ยงการนำนโยบายควบคุมเงินทุนมาใช้กันอย่างแพร่หลายด้วย
การเพิ่มเงินทุนฉุกเฉินเข้าไอเอ็มเอฟเป็นแนวทางหลักที่คลินตันใช้ตอบโต้กับวิกฤติการเงินระหว่างประเทศ แม้ว่าการดำเนินการดังกล่าวจำเป็นต้องประนีประนอมกับพรรครีพับลิกันก็ตามในส่วนที่เกี่ยวกับเงื่อนไขการดำเนินการของไอเอ็มเอฟและการใช้เงิน ประเทศที่มีจะได้รับเงินกู้จากไอเอ็มเอฟนั้นจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของไอเอ็มเอฟ และวงเงินสินเชื่อที่จะปล่อยให้กับประเทศต่างๆ ที่ผ่าน เกณฑ์การพิจารณาแล้วว่าได้ดำเนินนโยบายเป็นที่น่าพอใจแต่ยังคงมีโอกาสที่ตกเป็นเหยื่อของวิกฤติการเงินที่ลุกลามไปยังประเทศต่างๆ
การช่วยเหลือบราซิลด้วยชุดมาตรการปฏิรูปการคลังถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอันดับแรก สำหรับในเอเชีย สหรัฐฯ จะยังคงกดดันญี่ปุ่นต่อไปเพื่อให้หันมาเน้นการออกกฎหมายด้านการธนาคารตลอดจนกดดันให้ญี่ปุ่นกระตุ้นเศรษฐกิจโดยผ่านนโยบายด้านการคลัง และการปฏิรูปโครงสร้างพันธบัตรคลังสหรัฐฯจะเคลื่อนไหวตามนโยบายค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งแกร่งพร้อมกับนโยบาย “ไม่แทรกแซง” สำหรับค่าเงินเยนของญี่ปุ่น
ผลกระทบจากภาวะสินเชื่อตึงตัวคะแนนนิยมในตัวคลินตันเป็นปัจจัยสำคัญต่อกระบวนการถอดถอนประธานาธิบดี จนถึงขณะนี้ คลินตันยังคงได้รับแรงสนับสนุนจากมหาชนอย่างหนักแน่นสำหรับการทำงานของเขาในตำแหน่งประธานาธิบดี ถึงแม้ว่าจะได้คะแนนรับรองความประพฤติอันเป็นผลมาจากเรื่องอื้อฉาว ภาวะการค้าที่ซบเซาในขณะนี้กำลังมีผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง และคงจะเกิดภาวะสินเชื่อตึงตัวในไม่ช้า แหล่งเงินทุนสำหรับการลงทุนของภาคธุรกิจจะเหือดแห้งลง หรืออาจมีต้นทุนสูงขึ้น
“ขณะที่ปัจจัยเหล่านี้จะทำให้คะแนนนิยมต่อคลินตันลดลงโดยรวม แต่คงมีผลกระทบเล็กน้อยต่อกระบวนการถอดถอนประธานาธิบดี” มร. แกลเลเเกอร์ กล่าวและว่า “ เราเชื่อว่าคะแนนนิยมของมหาชนต่อคลินตันอาจลดลงต่ำกว่า 50% ภายในสิ้นปีหน้า ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการผลักดันนโยบายของเขาเพื่อให้คองเกรสอนุมัติ”
นักเศรษฐศาสตร์ของเลแมน บราเดอร์ส คาดการณ์ว่าในปี 2542 เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะไม่มีการเติบโตอัตราคนว่างงานซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญในเชิงการเงินมาตลอด อาจเพิ่มขึ้นเป็น 4.5% ภายในสิ้นปี การขยายตัวของยอดขาดดุลงบประมาณจะชะลอตัวอลงอย่างเห็นได้ชัด และค่าเงินดอลลาร์จะอ่อนตัวลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีก่อน ทั้งหมดนี้จะมีผลต่อนโยบายของสหรัฐฯ ที่มีต่อการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งอาจมีผลกระทบอย่างยิ่งต่อการค้าของไทยกับสหรัฐ
กระแสลักธิปกป้องตลาดจะรุนแรงขึ้น เนื่องจากอัตราว่างงานและยอดขาดดุลการค้าจะเพิ่มขึ้นเหมือนกับช่วงทศวรรษที่ 1980 ที่ยอดขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ ส่งผลให้สหรัฐฯ แสดงปฏิกิริยาตอบโต้ด้วยนโยบายการค้าและค่าเงิน สหรัฐฯ อาจหันมาใช้กำแพงภาษี พร้อมกันนี้ ภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ บางประเภทจะผลักดันให้มีการออกกฎหมายต่อต้านการทุ่มตลาดโดยพุ่งเป้าไปที่บางประเทศ อย่างไรก็ดี ในแง่ของการส่งออกไทยยังคงรอดพ้นจากการถูกตั้งกำแพงภาษี ไม่เหมือนกับเมื่อเร็วๆ นี้ที่ญี่ปุ่น จีน และรัสเซียถูกตั้งกำแพงภาษีที่สหรัฐฯ นำมาใช้เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมเหล็กกล้าของสหรัฐ
มร. แกลเลเกอร์สรุปว่า ประธานาธิบดีคลินตันจะรอดพ้นจากกระบวนการถอดถอนประธานาธิบดี และยังสามารถเดินหน้าเพื่อแก้ปัญหาสถานการณ์เศรษฐกิจโลกได้ พัฒนาการด้านการเมืองของสหรัฐฯ จะไม่มีผลกระทบต่อตลาดพันธบัตร แต่ตลาดหุ้นจะยังคงผันผวนต่อไป ถึงกระนั้นค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ยังคงมีเสถียรภาพอยู่รายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อ:สุวิมล เดชอาคมเบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์โทร. 252 9871-7--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ