ก.ค.2540 กทพ.จะนำเสนอผลการสำรวจสภาพการจราจรและการขนส่งในจ.พิษณุโลก

ข่าวทั่วไป Monday June 9, 1997 17:25 —ThaiPR.net

กรุงเทพ--9 มิ.ย.--กทพ.
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย กระทรวงมหาดไทย ได้ทำการสำรวจข้อมูลและศึกษาสภาพการจราจรในจังหวัดพิษณุโลก เพื่อเป็นการวางแผนแก้ไขปัญหาและหามาตรการรองรับปัญหาอัตราการเจริญเติบโตของเมืองที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกวัน คาดว่าจะนำเสนอผลการสำรวจและศึกษาสภาพการจราจรและการขนส่งในจังหวัดพิษณุโลก ให้ประชาชนในจังหวัดพิษณุโลกได้ทราบภายในเดือนกรกฎาคม 2540 นี้
สำหรับรายละเอียดของการสำรวจและศึกษาสภาพการจราจรการขนส่งในจังหวัดพิษณุโลกนั้น ประกอบด้วย ปริมาณการจราจรบนโครงข่ายถนน ตารางการเดินรถ ทิศทางความต้องการในการเดินทางและการแก้ไขปัญหาจราจรบนถนนสายหลัก พร้อมทั้งระบบขนส่งสาธารณะในจังหวัดพิษณุโลก โดยบริษัทที่ปรึกษาได้เสนอระบบรถเมล์ราง ซึ่งเป็นระบบที่เหมาะสมสำหรับจังหวัดพิษณุโลก โดยมี 4 แนวสายทางเลือก
แนวทางเลือกที่ 1 ระบบขนส่งมวลชนลักษณะวงแหวน (GB1) ระยะทาง 17.7 กิโลเมตร แนวสายทางเริ่มจากถนนสนามบินไปทางทิศตะวันตกตามแนวของโครงการถนนสายหลักด้านใต้ของสำนักพัฒนาเมือง ข้ามทางรถไฟไปบรรจบกับถนนบรมไตรโลกนาถ ข้ามแม่น้ำน่าน ฝากถนนประชาอุทิศ ถนนไชยานุภาพ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1161 แล้วบรรจบกับถนนสิงหวัฒน์ บริเวณพื้นที่ในเขตตำบลพลายชุมพล ต่อจากนั้นจะมีแนวสายทางไปตามถนนพิชัยสงคราม ถนนสนามบินและครบวงแหวนที่บริเวณด้านเหนือของสนามบินพิษณุโลก
แนวทางเลือกที่ 2 ระบบขนส่งมวลชน ลักษณะกากาท (GB2) ระยะทาง 16.5 กิโลเมตรในแนวเหนือ-ใต้ มีจุดเริ่มต้นทางด้านเหนือของต้นเอกาทศรฐมาตามแนวเขตทางรถไฟ จนถึงบริเวณสถานีรถไฟแล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนนเรศวร จากนั้นเยวซ้ายเข้าถนนบรมไตรโลกนาถ มาสิ้นสุดบริเวณจุดตัดระหว่างทางหลวงหมายเลข 1058 กับถนนบรมไตรโลกนาถ ส่วนในแนวตะวันออก-ตะวันตก จุดเริ่มต้นเริ่มที่ทางแยกถนนพิชัยสงคราม ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 จากนั้นแนวสายทางจะอยู่บนทางหลวงหมายเลข 12 และสิ้นสุดที่บริเวณทางแยกหลวงหมายเลข 1161 ตัดกับทางหลวงหมายเลข 12
แนวทางเลือกที่ 3 ระบบขนส่งมวลชนลักษณะวงแหวน (GB3) ระยะทาง 17.20 กิโลเมตร โดยแนวสายทางส่วนใหญ่จะเหมือนกับแนวทางเลือกที่ 1 ยกเว้นช่วงจากสะพานนเรศวร ไปทิศตะวันออกจนถึงสามแยกถนนมิตรภาพตัดกับถนนพิชัยสงคราม ซึ่งได้ทำการปรับแก้แนวสายทางโดยระบบขนส่งมวลชนที่มีแนวตามถนนสิงหวัฒน์ จนมาถึงถนนพระร่วง แล้วจึงเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนพระร่วง ตัดผ่านถนนประชาอุทิศ้ามแม่น้ำน่าน ตามแนวสะพานเอกาทศรฐไปตามถนนนเรศวร จนถึงสถานีรถไฟ ใช้เขตทางรถไฟ ขึ้นไปทางด้านเหรือเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนพระองค์ดำไปจนถึงห้าแยกโคกมะตูม แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามถนนพิชัยสงคราม โดยจะไปสิ้นสุดโครงการที่สามแยกถนนมิตรภาพตัดกับถนนพิชัยสงครม
แนวทางเลือกที่ 4 ระบบขนส่งมวลชนลักษณะกากบาท (GB4) ระยะทาง 16.5 กิโลเมตร โดยในแนวเหนือ-ใต้ ส่วนใหญ่ยังคงเป็นไปตามแนวทางเลือกที่ 2 คืออยู่บนถนนเอกาทศรฐ ถนนนเรศวร แต่ได้มีการปรับแนวถนนจากถนนบรมไตรโลกนาถเป็นถนนพุทธบูาเลียบขนานกับแม่น้ำน่าน ลงไปทางใต้จนถึงถนนสังฆบูชา แล้วเลี้ยวไปทางทิศตะวันออก และเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนบรมไตรโลกนาถตามแนวสายทางเดิม
จากการศึกษาผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมของระบบทางพิเศษในจังหวัดพิษณุโลก พบว่าแนวทางเลือกที่ 1 และ 2 ในช่วงข้ามสะพานนเรศวรนั้น มีโบราณสถานที่สำคัญ 3 แห่งคือ วัดพระพุทธชินราชฯ วัดราษฎรบูรณะ และวัดนางพญา ซึ่งอาจจะเป็นข้อจำกัดในการดำเนินโครงการ และจากการศึกษายังพบอีกว่าในอนาคตจะมีการขยายผิวการจราจร และมีสิ่งปลูกสร้างอันเนื่องมาจากโครงการเกิดขึ้นอีกมากมาย บริษัทที่ปรึกษาจึงได้พิจารณาแนวทางเลือกที่ 3 และ 4 เพิ่มขึ้น
จากแนวสายทางของระบบขนส่งมวลชนทั้ง 4 แนวทางเลือกนี้ จะเป็นเส้นทางหลักของการขนถ่ายประชาชนให้เข้า-ออก พื้นที่ย่านธุรกิจ สถานที่ราชการ และสถานศึกษาในเขตเทศบาลเมือง และบริเวณโดยรอบของจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งคาดว่าจะมีการเจริญเติบโตของเมืองและปัญหาการจราจรเพิ่มมาก ขึ้น สมควรให้มีการสำรวจแรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับระบบขนส่งและการจราจร เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยการทางพิเศษฯ คาดว่าจะนำเสนอผลการสำรวจและศึกษาสภาพการจราจรและการขนส่งในจังหวัดพิษณุโลก ในเดือนกรกฎาคม 2540 นี้ จึงขอเรียนเชิญาวพิษณุโลกทุกท่านเข้าร่วมแสดงความเห็นในโครงการดังกล่าวด้วย--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ