สายการบินเอทิฮัดและรัฐบาลเซอร์เบียประกาศความเป็นพันธมิตรเพื่อสร้างหลักประกันอนาคตให้กับสายการบินแห่งชาติของเซอร์เบีย

ข่าวท่องเที่ยว Monday August 5, 2013 11:25 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--5 ส.ค.--โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ สายการบินเอทิฮัดได้สิทธิครอบครอง 49 เปอร์เซ็นต์ในสายการบินแจ็ทแอร์เวย์ สายการบินแจ็ทแอร์เวย์เปลี่ยนชื่อและสร้างแบรนด์ใหม่ภายใต้ ‘สายการบินแอร์เซอร์เบีย’ สายการบินเอทิฮัดได้รับสัญญาในการบริหารงานในสายการบินแอร์เซอร์เบีย 5 ปี สายการบินเอทิฮัดและรัฐบาลเซอร์เบียเตรียมอัดฉีด 40 ล้านเหรียญสหรัฐ สายการบินเอทิฮัดและรัฐบาลเซอร์เบียเตรียมพร้อมจัดสรรเพิ่มรายละ 60 ล้านเหรียญสหรัฐ สายการบินแอร์เซอร์เบียเปิดตัวเที่ยวบินมุ่งสู่กรุงอาบูดาบีตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 เป็นต้นไป สายการบินเอทิฮัด สายการบินแห่งชาติสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เปิดเผยแผนการที่จะเข้าครอบครองสิทธิในสายการบินแจ็ทแอร์เวย์ถึง 49 เปอร์เซ็นต์ และทำสัญญาในการบริหารงานในสายการบินเป็นเวลา 5 ปี สองสิ่งนี้เป็นส่วนสำคัญในข้อตกลงความเป็นพันธมิตรทางกลยุทธ์ซึ่งลงนามโดยสายการบินเอทิฮัดและรัฐบาลเซอร์เบีย โดยรวมถึงฝูงบินพร้อมเครื่องโดยสารลำใหม่และการเพิ่มขึ้นของจุดหมายปลายทางระหว่างประเทศซึ่งจะทำให้เกิดการเดินทางสู่สาธารณรัฐเซอร์เบียทั้งเพื่อธุรกิจและท่องเที่ยวมากขึ้นด้วยเช่นกัน ข้อตกลงประวัติศาสตร์ครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากการเปิดให้บริการเที่ยวบินระหว่างกรุงอาบูดาบี-เบลเกรดในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา และคาดการณ์ว่าจะช่วยขยายฐานความสัมพันธ์ด้านการค้าและการลงทุนระหว่างสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และสาธารณรัฐเซอร์เบีย ตลอดจนกระตุ้นภาคการท่องเที่ยวให้คึกคักมากขึ้นอีกด้วย สายสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศที่มีมูลค่าโดยรวมกว่า 23.3 ล้านยูโร ในปี 2555 มากกว่าปี 2554 ถึงสามเท่านั้นส่งผลให้เกิดการขยายธุรกิจผ่านข้อตกลงสำคัญหลายอย่างระหว่างรัฐบาลที่เกิดขึ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ซึ่งจะเห็นได้จากการลงทุนในภาคเกษตรกรรม การป้องกันประเทศ เทคโนโลยี และการท่องเที่ยว มร. เจมส์ โฮแกน ประธานและประธานกรรมการบริหาร สายการบินเอทิฮัด เป็นผู้ประกาศข้อตกลงความเป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ร่วมกับมร. อเล็กซานดาร์ วูซิค รองนายกรัฐมนตรี ประเทศเซอร์เบีย ในงานแถลงข่าวที่เมืองเบลเกรดในวันที่ 1 สิงหาคม 2556 ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว สายการบินเอทิฮัดจะสนับสนุนเงินกู้จำนวน 40 ล้านเหรียญสหรัฐซึ่งจะเปลี่ยนเป็นกรรมสิทธิ์หุ้นในวันที่ 1 มกราคม 2557 โดยให้เป็นไปตามข้อตกลง ซึ่งจะสัมพันธ์กับจำนวนเงินอัดฉีดที่ได้รับจากรัฐบาลเซอร์เบีย นอกจากนี้ สายการบินเอทิฮัดและรัฐบาลเซอร์เบียยังจะจัดสรรเงินลงทุนรายละ 60 ล้านเหรียญสหรัฐ ผ่านระบบเงินกู้ของผู้ถือหุ้นและกลไกการจัดหาเงินทุนอื่นๆ เพื่อให้มีเงินทุนเพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจและส่งเสริมการพัฒนาเครือข่ายให้กับสายการบินแอร์เซอร์เบีย มร. เจมส์ โฮแกน กล่าวว่า “สายการบินเอทิฮัดรู้สึกยินดีที่ได้สายการบินแอร์เซอร์เบียมาร่วมทีมพันธมิตรซึ่งถือครองหุ้นกับเรา และหวังให้เกิดการทำงานที่มุ่งการพัฒนาร่วมกันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรายอื่นๆ ด้วย เพื่อสร้างสายการบินที่มีพร้อมทั้งกำไร ความสามารถในการแข่งขัน และความยั่งยืน “นอกจากการสร้างขนาดของธุรกิจแล้ว โครงสร้างธุรกิจของเรายังมีแพลตฟอร์มที่ไม่ซ้ำใครเพื่อช่วยผลักดันให้เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกันและการประหยัดค่าใช้จ่ายซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อสายการบินแอร์เซอร์เบียซึ่งเป็นสายการบินที่กำลังพัฒนา "การตัดสินใจแต่ละครั้งต่อไปนี้จะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่การลงทุนทางการเงินโดยสายการบินเอทิฮัดและรัฐบาลของประเทศเซอร์เบีย ประกอบกับผลกระทบเชิงบวกจากความเชี่ยวชาญทางด้านการจัดการร่วมกันและประสบการณ์ของเรา สามารถรับประกันได้ว่าสายการบินที่มีประวัติศาสตร์อันน่าภาคภูมิใจนี้มีอนาคตที่สดใสรอยอยู่เบื้องหน้าอย่างแน่นอน" มร.อเล็กซานดาร์ วูซิค รองนายกรัฐมนตรีของรัฐบาลเซอร์เบียกล่าวว่า "ชื่อเสียง ความแข็งแกร่งทางการเงิน และความมั่นคงของสายการบินเอทิฮัดถือเป็นคุณประโยชน์สำคัญที่ก่อให้เกิดผลดีกับสายการบินแอร์เซอร์เบีย เราจึงยินดีที่ได้เปิดตัวการเป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ในครั้งนี้ และในไม่ช้า นักเดินทางทางอากาศทั้งขาเข้าและขาออกระหว่างสาธารณรัฐเซอร์เบียก็จะได้รับประโยชน์และเพลิดเพลินไปกับผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ที่น่าประทับใจของสายการบิน " “ความร่วมมือที่เกิดขึ้นจะก่อให้เกิดเครือข่ายการบินที่ครอบคลุมและการเปลี่ยนเครื่องที่เป็นไปด้วยความราบรื่น อีกทั้งจะสร้างความเป็นหนึ่งเดียวและขยายขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับทั้งสองสายการบินในช่วงระยะเวลาอีกไม่กี่เดือนที่ความสัมพันธ์ระหว่างกันก็จะแข็งแกร่งและแนบแน่นมากยิ่งขึ้นด้วย” การเปลี่ยนชื่อและรีแบรนด์ของสายการบินแจ็ทแอร์เวย์ มาเป็นสายการบิน ‘แอร์เซอร์เบีย’ เป็นช่วงเวลาอันสำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์ของสายการบินแห่งชาติเซอร์เบียซึ่งมีอายุกว่า 80 ปี ที่หางของเครื่องบินโดยสารของสายการบินแอร์เซอร์เบีย จะแสดงให้เห็นตราประจำชาติเซอร์เบียและสีประจำประเทศบนปีกท้ายทั้งสองข้าง ตราสินค้าแบบใหม่ของสายการบิน ได้รับการออกแบบโดยทีมงานชาวเซอร์เบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งยังคงแสดงออกถึงลักษณะและความรู้สึกของการเป็นสายการบินแห่งชาติ การออกแบบนี้มุ่งสร้างความแปลกใหม่ไปจากแนวปฏิบัติในอดีต แต่ยังคงมรดกความเป็นเซอร์เบียและแสดงออกถึงอัตลักษณ์ประจำชาติอย่างแท้จริง หนึ่งในแผนการพัฒนาสายการบินคือการขยายเครือข่ายเที่ยวบินออกไป การให้บริการเที่ยวบินร่วมระหว่างสายการบินเอทิฮัดและสายการบินแอร์เบอร์ลิน เพิ่มจุดหมายปลายทางขึ้นอีก 12 แห่งในทวีปแอฟริกา ยุโรป และตะวันออกกลางเพื่อมุ่งสู่จุดหมายปลายทาง 33 แห่งในเครือข่ายปัจจุบันของสายการบินแอร์เซอร์เบีย จุดหมายปลายทางแห่งใหม่คือ กรุงอาบูดาบี (ขานรับเที่ยวบินประจำวันของสายการบินเอทิฮัด) และรวมไปถึงเมืองบันจาลูกา เบรุต บูชาเรสต์ บูดาเปสท์ ไคโร เคียฟ ลูบลิยานา ปราก โซเฟีย วาร์นา และกรุงวอร์ซอ ในจำนวนจุดหมายปลายทางใหม่ที่จะมีการเปิดตัวโดยสายการบินแอร์เซอร์เบียนี้ จะมีเที่ยวบินระหว่างกรุงเบลเกรดและกรุงอาบูดาบีจำนวน 4 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ สายการบินแอร์เซอร์เบียจะเริ่มให้บริการเสริมไปกับเที่ยวบินประจำวันในปัจจุบันของสายการบินเอทิฮัด ในเดือนตุลาคม 2013 และจะปรับเป็นการให้บริการเที่ยวบินประจำวันจากสายการบินเองเมื่อมีจำนวนของเครื่องบินเพียงพอต่อความต้องการให้บริการที่เพิ่มขึ้น เครื่องบินโดยสารแอร์บัส A319 จะเป็นเครื่องบินประจำของสายการบินแอร์เซอร์เบีย ซึ่งห้องโดยสารจะได้รับการตกแต่งใหม่ให้มีความทันสมัยพร้อมกับมาตรฐานที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อนและพร้อมปฏิบัติการไปนอกกรุงเบลเกรด เครื่องบินโดยสารโบอิ้ง 737-300 ของสายการบินแจ็ทแอร์เวย์ จำนวน 10 ลำจะถูกปลดออกจากตารางการบินและจะมีการนำเครื่องบินที่มีขนาดลำตัวแคบกว่ามาแทน แผนการณ์ในระยะยาวของสายการบินแอร์เซอร์เบียคือการสั่งซื้อเครื่องบินที่มีขนาดลำตัวแคบอีกจำนวน 10 ลำ การร่วมมือเชิงกลยุทธ์ครั้งนี้ยังเป็นการสร้างโอกาสพัฒนาทางอาชีพให้แก่ลูกเรือและผู้ให้บริการภาคพื้นดินของสายการบินแอร์เซอร์เบียอีกด้วย เนื่องจากพวกเขาจะได้รับการอบรมโดยสถาบันอบรมของสายการบินเอทิฮัดซึ่งมีคุณภาพระดับโลก ณ กรุงอาบูดาบี สายการบินแอร์ เซอร์เบีย เป็นพันธมิตรทางหุ้นส่วนรายที่หกของสายการบินเอทิฮัด ภายหลังจากการลงทุนกับสายการบินแอร์เบอร์ลิน (29.21 เปอร์เซ็นต์) สายการบินแอร์เซเชลส์ (40 เปอร์เซ็นต์) สายการบินเวอร์จิ้น ออสเตรเลีย (10.5 เปอร์เซ็นต์) สายการบินแอร์ลิงกัส (2.99 เปอร์เซ็นต์) และล่าสุดคือ สายการบินเจ็ท แอร์เวย์ของอินเดีย (24 เปอร์เซ็นต์ และอยู่ระหว่างรอการอนุมัติอย่างเป็นทางการ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ