กรุงเทพฯ--7 ส.ค.--มทร.ธัญบุรี
ในปัจจุบันอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ได้ให้ความสำคัญกับวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมขึ้นมาทดแทนวัสดุก่อสร้างเดิมเช่นแผ่นไม้อัดแผ่นไม้ปาร์ติเคิลนักวิจัยต่างศึกษาและพัฒนาวัสดุก่อสร้างที่ยั่งยืนจากแหล่งวัตถุดิบจากธรรมชาติที่สามารถผลิตทดแทนได้ในเวลาที่รวดเร็วโดยมุ่งเน้นไปที่การใช้เส้นใยธรรมชาติเป็นวัสดุผสม
จากศักยภาพของเส้นใยนี้เองที่ทำให้ อาจารย์วชิระแสงรัศมี อาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี นำเยื่อกระดาษเหลือใช้ที่มีอยู่จำนวนมากในทุกพื้นที่ทดแทนเส้นใยจากพืชผลทางการเกษตรที่มีขั้นตอนยุ่งยากซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าที่จะได้เส้นใยที่พร้อมใช้งานส่วนประกอบของกระดาษมากกว่าร้อยละ 90 เป็นเยื่อ/เส้นใยจากต้นไม้และพืชที่สามารถปลูกทดแทนได้ปริมาณมากในเวลาที่รวดเร็ว
อ.วชิระเปิดเผยว่าโครงการนี้เป็นการนำเส้นใยที่เหลือใช้มาเป็นส่วนผสมเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เยื่อกระดาษเหลือใช้ผสมกับปูนซีเมนต์ยิบซัมทรายและน้ำผลิตเฟอร์นิเจอร์และวัสดุตกแต่งโดยค้นหาสมบัติทางกายภาพทางกลและประสิทธิภาพในการผลิตวัสดุผสมเยื่อกระดาษในปริมาณต่างๆและการใช้ตาข่ายพลาสติกเสริมการรับแรง
จากการศึกษาพบว่าการใช้เยื่อกระดาษเป็นวัสดุผสมส่งผลให้วัสดุมีศักยภาพที่ดีขึ้นกล่าวคือการเพิ่มปริมาณกระดาษจะทำให้ค่าความหนาแน่นต่ำลง(มวลเบา) วัสดุสามารถตัดเจาะยึดและตกแต่งได้ง่ายขึ้นการใช้ตาข่ายพลาสติกเสริมในวัสดุทำให้สามารถรับแรงดัดได้เพิ่มขึ้นเมื่อทดลองผลิตเก้าอี้สาหรับเด็กที่เสริมแกนกลางด้วยขวดน้ำพลาสติก สามารถช่วยลดปริมาณวัสดุลดน้ำหนักและเพิ่มการรับแรงอัดได้ประสิทธิภาพและสมรรถนะตามต้องการแผ่นตกแต่งเสริมด้วยตาข่ายพลาสติกมีสมบัติของวัสดุเทียบเท่าไม้เนื้ออ่อนและไม้อัดการประกอบเป็นเฟอร์นิเจอร์ทดแทนไม้อัดทำได้ผลดีและมีจุดเด่นที่น่าสนใจคือสมบัติในการพองตัวเมื่อแช่น้ำมีค่าต่ำกว่าไม้อัดทั่วไปในท้องตลาดสามารถนำไปผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ของตกแต่งในบ้านเรือนอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นชั้นวางของ โต๊ะ เก้าอี้ ของเล่นต่างๆ นับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจในการส่งเสริมและพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้อย่างสบาย
มณีรัตน์ ปัญญพงษ์
กองประชาสัมพันธ์ มทร.ธัญบุรี