หลักเกณฑ์ราคากลางการจ้างที่ปรึกษา

ข่าวทั่วไป Friday August 9, 2013 09:53 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--9 ส.ค.--กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง นางสาวจุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ได้ชี้แจงว่าสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะได้นำหลักเกณฑ์ราคากลางการจ้างที่ปรึกษาเสนอคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2556 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ ที่ปรึกษาอิสระ สถาบันการศึกษาของรัฐ บริษัทที่ปรึกษา ตัวคูณอัตราค่าตอบแทน (Mark-Up Factor) 1.43 1.76 2.64 1. แนวทางการใช้อัตราเงินเดือนพื้นฐาน (Basic Salary) ข้อมูลอัตราเงินเดือนพื้นฐาน (Basic Salary) ของ 5 กลุ่มวิชาชีพ ประกอบด้วย กลุ่มวิชาชีพวิศวกรรม สถาปัตยกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) การเงิน และงานวิจัย โดยแยกระดับวุฒิการศึกษาเป็นระดับ ปริญญาตรี โท และเอก ยกเว้นกลุ่มวิชาชีพสถาปัตยกรรมมีเฉพาะระดับปริญญาตรีที่ประกอบธุรกิจที่ปรึกษาที่เป็นนิติบุคคล ประสบการณ์การทำงานของแต่ละกลุ่มวิชาชีพแยกเป็นรายปีตั้งแต่ 5 ปี จนถึง 30 ปี และมากกว่า 30 ปีขึ้นไป 2. แนวทางการใช้ตัวคูณอัตราค่าตอบแทน (Mark-Up Factor) ตัวคูณอัตราค่าตอบแทน (Mark-Up Factor) มีพื้นฐานมาจากการคิดรวมค่าสวัสดิการสังคม (Social Charges) ค่าโสหุ้ย (Overhead) และค่าวิชาชีพ (Professional Fee) กับเงินเดือนพื้นฐาน (Basic Salary) ของที่ปรึกษา โดยคิดเป็นร้อยละของเงินเดือนพื้นฐานซึ่งตัวคูณอัตราค่าตอบแทน (Mark-Up Factor) สรุปได้ดังนี้ 1. แนวทางและหลักเกณฑ์ในการคำนวณราคากลางค่าจ้างที่ปรึกษา การคำนวณค่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อดำเนินโครงการประกอบด้วยค่าใช้จ่าย 2 ส่วนคือ ค่าตอบแทนบุคลากร (Remuneration) และค่าใช้จ่ายตรง (Direct Cost)โดยมีแนวทางและหลักเกณฑ์ในการคำนวณราคาค่าใช้จ่ายดังนี้ (1) ค่าตอบแทนบุคลากร (Remuneration) ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนจะมีอัตราค่าตอบแทนต่อเดือน (Billing Rate หรือ Man - Month Rate) เฉพาะของคน ซึ่งอัตราค่าตอบแทนนี้ได้จากอัตราเงินเดือนพื้นฐาน (Basic Salary) คูณด้วยตัวคูณอัตราค่าตอบแทน (Mark Up Factor) ซึ่งค่าบริการของผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนในงานโครงการคือ จำนวนเวลาทำงาน คิดเป็นจำนวนคน-เดือน (Man — Month) คูณด้วยอัตราค่าตอบแทนต่อเดือน ( Billing Rate) ค่าตอบแทนบุคลากร (Remuneration) ของที่ปรึกษาทั้งโครงการ คือ ผลรวมค่าบริการของ ที่ปรึกษาแต่ละคนในโครงการรวมกัน (2) ค่าใช้จ่ายตรง (Direct Cost) คือค่าใช้จ่ายที่นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายบุคลากร ที่เกิดขึ้นในการดำเนินโครงการโดยทั่วไปจะประกอบด้วยค่าเช่าสำนักงาน ค่าติดต่อสื่อสาร ค่าเดินทาง ค่าวัสดุสิ้นเปลือง ค่าที่พักและเบี้ยเลี้ยง ค่าจัดประชุมสัมมนา ฯลฯ การกำหนดหลักเกณฑ์ราคากลางการจ้างที่ปรึกษาดังกล่าวเพื่อให้ส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐสามารถใช้หลักเกณฑ์ราคากลางการจ้างที่ปรึกษา คำนวณ ราคากลางเพื่อใช้เป็นราคาอ้างอิงในกระบวนการจ้างที่ปรึกษาซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดให้มีการประกาศเปิดเผยราคากลางรวมทั้งรายละเอียดของการคำนวณราคากลางให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งผู้สนใจทั่วไปได้ทราบ ซึ่งจะเป็น การส่งเสริมและสนับสนุนให้กระบวนการจัดจ้างที่ปรึกษาของทางราชการ เป็นไปอย่างโปร่งใสตรวจสอบได้ และสร้างความเป็นธรรมให้กับทุกฝ่ายยิ่งขึ้น ทั้งนี้ กรมบัญชีกลางจะดำเนินการแจ้งเวียนหลักเกณฑ์ราคากลางการจ้างที่ปรึกษาให้ ส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ ถือปฏิบัติต่อไป สำนักบริหารการระดมทุนโครงการลงทุนภาครัฐสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ 02-2717999 ต่อ 5702, 5712, 5718

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ