พลเมืองอาเซียนกับภาคการศึกษา

ข่าวทั่วไป Thursday August 22, 2013 11:28 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--22 ส.ค.--คอร์ แอนด์ พีค จากการที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมของทุกภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (เออีซี) ซึ่งหลายภาคส่วนทั้งหน่วยงานรัฐ และเอกชนให้ความสำคัญ ซึ่งหากคิดเป็นเปอร์เซ็น ประเทศไทยมีความพร้อมอยู่ที่ระดับ 70 % และเชื่อว่าจะมีความพร้อมมากขึ้นเมื่อเปิดเออีซีในปี 2558 ในเวทีสัมมนา “ AEC and SMEs Challenge: Next Step ซึ่งจัดโดย สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กระทรวงอุตสาหกรรม และสภาหอการค้าไทย เมื่อเร็วๆ นี้นับว่าเป็นเวทีหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากทุกภาคส่วนเข้ารับฟังข้อมูล ในหัวข้อต่างๆ อาทิ การอยู่ร่วมกันภายใต้ความแตกต่างในหภูมิภาคอาเซียน ทางด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคง สังคม และวัฒนธรรม , ความท้าทายของเสาหลักสามเสาในประชาคมอาเซียน,ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจหรือไม่อย่างไร , พลเมืองอาเซียนกับการอยู่ร่วมกัน อย่างคับคั่ง โดยงานสัมมนามีเป้าหมายเพื่อให้ทุกภาคส่วนเตรียมความพร้อม พร้อมส่งเสริมให้สมาชิก 10 ประเทศในอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้ความแตกต่างทั้งด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคง สังคมและวัฒนธรรม ซึ่งเวทีอภิปรายในหัวข้อ “พลเมืองอาเซียนกับการศึกษา” ชี้ให้เห็นถึงความตั้งใจจริงของรัฐบาล ในการสนับสนุนภาคการศึกษา ส่งเสริมพัฒนาหลักสูตรอาเซียน เพื่อให้เป็นหลักสูตรนำร่อง สอนทั้งในระดับอนุบาล ประถมศึกษา และระดับมัธยม แต่เป็นนโยบายมุ่งไปที่โรงเรียนในสังกัดของรัฐบาล ซึ่งการสนับสนุนมาไม่ถึงโรงเรียนเอกาชน อย่างไรก็ตามนโยบายหลักสูตรอาเซียนนับเป็นการวางรากฐาน และสร้างความตระหนักให้กับนักเรียนทุกระดับชั้นปี อาจารย์จินดา ตันตราจิณ ประธานกลุ่มเครือข่ายผู้บริหาร สถานศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร และผู้อำนวยการโรงเรียนจินดาพงศ์ กล่าวในเวทีอภิปรายในหัวข้อ “พลเมืองอาเซียนกับการศึกษา”ว่า ปีนี้ภาคการศึกษามีการตื่นตัวเรื่องประชาคมอาเซียนค่อนข้างมาก แต่ก็ยังต้องบริหารจัดการอีกหลายด้าน เพราะยังไม่พร้อมเท่าที่ควร เนื่องจากแต่ละโรงเรียนเตรียมพร้อมกันจริงๆ เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา หรือในช่วงปีการศึกษา 2554 โดยเฉพาะโรงเรียนในสังกัดของรัฐบาลมีการเดินหน้าไปก่อน โดยเฉพาะในโครงการจัดตั้งโรงเรียนนำร่องจำนวน 54 แห่ง ให้เป็นโรงเรียนต้นแบบในการเรียน การสอนหลักสูตรอาเซียน ซึ่งประกอบด้วย 1. โรงเรียนนำร่องเพื่อสอนภาษาอังกฤษล้วนๆ หรือเรียกว่า “Sitter School” ซึ่งโรงเรียนกลุ่มนี้ต้องจัดให้สอนภาษาอาเซียน ภาษาใด ภาษาหนึ่งได้ อีก 1 ภาษา และต้องมีศูนย์อาเซียนอยู่ภายในโรงเรียน ปัจจุบันมีการคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบได้แล้ว 30 แห่ง จากทั่วประเทศ 2. โรงเรียนที่มุ่งเน้นสอนภาษาอาเซียน 1 ภาษาในโรงเรียน หรือเรียกว่า “Buffer School” โดยรัฐบาลตั้งเป้าให้มี 24 โรง รวมโรงเรียนกลุ่ม1 และโรงเรียนกลุ่ม 2 มีจำนวน 54 โรงแล้วในปัจจุบัน และ 3. จัดให้มีการจัดตั้งศูนย์การศึกษาในภูมิภาค หรือเรียกว่า “ Education Hub” เพื่อให้พลเมืองในอาเซียนได้มาเรียนภาษา ในส่วนของโรงเรียนเอกชนถือว่ายังไม่ได้เริ่ม เนื่องจากขาดการนสนับสนุนด้านงบประมาณ ดังนั้นภาพรวมของการเตรียมความพร้อมของโรงเรียนเอกชนอยู่ที่ว่า โรงเรียนเอกชนแห่งใด มีความพร้อมก็ให้ดำเนินการไปกันก่อน ฐานะของโรงเรียนเอกชนจึงอยู่ในลักษณะช่วยเหลือตัวเอง ซึ่งในปัจจุบันจึงมีการร่วมกลุ่มกันระหว่างโรงเรียนเอกชนกว่า 700 แห่งในกรุงเทพฯ เพื่อทำหลักสูตรอาเซียนร่วมกัน มีการส่งตัวแทนของโรงเรียนเอกชนแต่ละแห่งไปดูงานที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยเชิญเอกอัครราชทูตลาวร่วมให้คำแนะนำ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการในส่วนของการพัฒนาหลักสูตรอาเซียน ของโรงเรียนเอกชน คาดว่าจะเสร็จไม่เกิน 1 เดือนข้างหน้า ครอบคลุม 8 กลุ่มสาระ ประกอบด้วย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ อาจารย์จินดา กล่าวโดยสรุป ประเทศไทยค่อนข้างเนื้อหอม เพราะมีทรัพยากรมาก และนับเป็น 1 ใน 10 ประเทศอาเซียน ที่น่าสนใจ ที่ประเทศสมาชิกจะเข้ามาลงทุน อย่างไรก็ตาม เราต้องมีความพร้อมด้านกฎหมาย ซึ่งต้องมีการบังคับใช้กฎหมายเหมือนๆ กัน เพื่อให้ 3 เสาหลัก ด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคง สังคมและวัฒนธรรม อยู่ร่วมกันได้ อย่างสันติสุข สำหรับโรงเรียนจินดาพงศ์ ปัจจุบันมีการจัดสร้างศูนย์การเรียนรู้อาเซียน ซึ่งอยู่ที่โรงเรียนจินดาพงศ์ มีการทำฐานความรู้ของประเทศสมาชิก 10 ประเทศในอาเซียนไว้ในฐาน 10 ฐาน เพื่อประกอบการเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้ศึกษา ค้นคว้า และทำรายงาน หากโรงเรียนใดจะเข้ามาดูงาน อนุญาตเปิดกว้างเพื่อถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับอาเซียนร่วมกัน
แท็ก อาเซียน  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ