กรุงเทพฯ--22 ส.ค.--อ็อกแฟม
เนึ่องจากเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ทะลุเกิน 400 พีพีเอ็มซึ่งเป็นปริมาณสูงสุดที่นักวิทยาศาสตร์ยอมรับได้ว่าจะไม่เกิดผลกระทบและความวุ่นวายต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และ นโยบายการพัฒนามากจนแก้ไขไม่ได้ ทั้งๆ ที่ตัวเลขทีปลอดภัยที่สุดคือ 350 พีพีเอ็ม ทางอ็อกแฟม ได้ร่วมมือกับองค์กรภาคเอกชน และหน่วยงานวิชาการจึงเห็นว่ามีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่ต้องมีการหารือถึงมาตรการรับมือและปรับตัวของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเกษตรซึ่งเป็นหัวเรือหลักของประเทศไทย
ทางอ็อกแฟมและหน่วยงานพันธมิตรจึงได้จัดงานเสวนาระดับชาติขึ้นมาในวันที่ 23 สิงหาคม ที่จะถึงนี้ เพื่อรวบรวมข้อมูลทั้งที่มีอยู่แล้ว ข้อมูลใหม่ๆ และข้อเสนอแนะของทุกกลุ่ม โดยเฉพาะของเกษตรกรข้าวหอมมะลิและพืชเศรษฐกิจเมืองหนาวที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา นักวิชาการด้านภูมิอากาศและด้านเกษตร ยื่นต่อหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะได้รับมือกับผลกระทบโลกร้อนได้ทันกาล และไม่ทำให้ปัญหาขาดความมั่นคงของอาหารในประเทศไทยไม่รุนแรงไปกว่าเดิม
กำหนดการ “ทิศทางนโยบายด้านการปรับตัวต่อสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงของเกษตรกรรายย่อย”
วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม 2556 โรงแรมวินเซอร์ สวีทส์ ซอยสุขุมวิท 20 กรุงเทพฯ
9:00 — 9:25 น. ลงทะเบียนและชมนิทรรศการ
9:25 — 9:30 น. กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมและเปิดงาน
9:30 — 10:00 น. แผนงานพัฒนาการพยากรณ์อากาศเพื่อลดความเสี่ยงภัยของเกษตรกร
โดย คุณวรพัฒน์ ทิวถนอม อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา
10:00 —10:30 น. ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศแตะ 400 ppm : เริ่มปรับตัวในวันนี้ คุ้มทุนหรือไม่
โดย ดร. เดชรัต สุขกาเนิด ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
10:30 —10:45 น. พักรับประทานอาหารว่าง พร้อมชมวิดีทัศน์ การปรับตัวของเกษตรกรรายย่อยในโครงการ
10:45 —11:30 น. เสวนาการปรับตัวของเกษตรกรรายย่อย ประสบการณ์จากโครงการ
ศูนย์ภูมิอากาศชุมชนและข้อมูลภูมิอากาศท้องถิ่น
โดย คุณภุมรินทร์ เตาวโรดม ศูนย์จัดการความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
กองทุนและต้นทุนในการปรับตัว
โดย คุณนาวิน โสภาภูมิ มูลนิธินโยบายสุขภาวะ
เทคนิคการปรับตัวของเกษตรกรรายย่อย
โดย คุณวราทิพย์ วีรกิจ มูลนิธิสายใยแผ่นดิน
ร้อยเรื่องเชื่อมประเด็นโดย คุณวิฑูรย์ ปัญญากุล สหกรณ์กรีนเนท
ดาเนินรายการ คุณนันทิยา ตั้งวิสุทธิจิตร
11:30 — 12:00 น. ช่วงถาม-ตอบ
12:00 — 13:00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13:00 — 14:30 น. ประชุมกลุ่มย่อย: การระดมความคิดวิเคราะห์นโยบายที่เอื้อ
กลุ่มย่อยที่ 1 — การจัดการองค์ความรู้และการสนับสนุนทางการเงิน
กลุ่มย่อยที่ 2 — ข้อมูลภูมิอากาศระดับท้องถิ่น
กลุ่มย่อยที่ 3 — นโยบายด้านการปรับตัวฯ ในประเทศไทย
14:30 — 15:30 น. นาเสนอผลการระดมความคิดเห็นกลุ่มย่อย โดย คุณวิฑูรย์ ปัญญากุล สหกรณ์กรีนเนท
15:00 — 16:00 น. กล่าวสรุปและปิดการประชุม