อุตสาหกรรมการบิน ประกาศความสำเร็จก้าวสู่ทศวรรษ พร้อมที่จะนำพาประเทศไทยมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการซ่อมอากาศยานในระดับภูมิภาคอาเซียน

ข่าวทั่วไป Friday August 23, 2013 11:09 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--23 ส.ค.--Ninety Nine Communications บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด ผู้ให้บริการซ่อมบำรุงอากาศยานครบวงจรระดับมาตรฐานสากลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประกาศความสำเร็จของการให้บริการซ่อมบำรุงอากาศยานครบวงจรระดับมาตรฐานสากลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ตั้งเป้าเติบโตปีละ 10-15% โกยรายได้ปีนี้ 2,700 ล้าน พลอากาศเอก วีรนันท์ หาญสวธา กรรมการผู้จัดการ บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากนโยบายของรัฐบาลในปี 2546 ที่วางเป้าหมายให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการบินในการให้บริการซ่อมบำรุงอากาศยานครบวงจรระดับมาตรฐานสากลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อกระตุ้นให้กิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับการบินขยายตัวเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดความต้องการในการซ่อมบำรุงอากาศยานเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ประเทศไทยในขณะนั้นยังไม่มีศูนย์ซ่อมอากาศยานในประเทศ ดังนั้นรัฐบาลไทยจึงได้มีการจัดตั้งศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานขึ้นในประเทศไทยขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2547 ภายใต้วิสัยทัศน์ในการ มุ่งมั่น พัฒนา และปรับปรุงในการให้บริการทางด้านอากาศยาน อย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนอง ความต้องการสูงสุดของลูกค้า ในระดับมาตรฐานสากล ตลอด 9 ปีของการดำเนินกิจการ ศูนย์ซ่อมอากาศยานครบวจร นั้นได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากกลุ่มลูกค้า และตลาดเป้าหมายก็มีการเติบโต และขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มลูกค้าหลักของศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน จะมุ่งเน้นการให้บริการซ่อมบำรุงอากาศยานในหน่วยงานภาครัฐ และวางเป้าหมายขยายการให้บริการ เพื่อรองรับการซ่อมบำรุงอากาศยานส่วนบุคคล และเครื่องบินพาณิชย์ ให้เพิ่มขึ้นทั้งในและนอกประเทศ ในอนาคตต่อไปอีกด้วย ปัจจุบัน บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด ให้บริการซ่อมบำรุงอากาศยานทางทหารของกองทัพ หน่วยงานภาครัฐ และเครื่องบินพาณิชย์หลากหลายแบบ เครื่องบินขนาดเล็กและเครื่องบินฝึก : ศูนย์ซ่อมเครื่องบินขนาดเล็กทั้ง 2 แห่ง ปัจจุบันทำการซ่อมบำรุงเครื่องบิน CT-4, PC-9, T-41 ตั้งแต่ขั้น Flight Line จนถึงการซ่อมบำรุงระดับ Depot เครื่องบินลำเลียง : ให้บริการซ่อมบำรุงเครื่องบินลำเลียงขนาดกลางและขนาดใหญ่ ได้แก่ C-130, G-222, Avro 748, Learjet 35A, CN 235 และ CASA-212 เครื่องบินขับไล่และเครื่องบินโจมตี : สามารถซ่อมบำรุงเครื่องบินขับไล่และเครื่องบินโจมตีของกองทัพอากาศซึ่งได้แก่ F-16 และ L-39 เป็นต้น เพิ่มขีดความสามารถในการปรับปรุง (Upgrade) เครื่องบินดังกล่าวให้ทันสมัย รวมถึงโครงการปรับปรุงโครงสร้างเครื่องบิน F-16 ตามโครงการ Falcon Up, Falcon Star ของกองทัพอากาศและการตรวจซ่อมโครงสร้างระดับโรงงานให้กับเครื่องบิน L-39 เฮลิคอปเตอร์ : ซ่อมบำรุงทุกระดับของเฮลิคอปเตอร์ ได้แก่ UH-1H, Bell Euro copter 205, 206, 212, 412, AS350 B2 เครื่องบินพาณิชย์ : บริษัท ฯ กำลังขยายขีดความสามารถในการซ่อมบำรุงเครื่องบินพาณิชย์ในระดับ ต่าง ๆ ให้เครื่องบินโดยสารขนาดกลางและขนาดเล็ก ได้แก่ Boeing 737-300, 737-400, Airbus 319CJ นอกจากนี้ ขอบเขตการให้บริการของศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน ยังสามารถให้บริการ ซ่อมบำรุงบริภัณฑ์อากาศยาน โดยการตรวจซ่อมและซ่อมใหญ่อุปกรณ์ได้หลากหลายชนิด ตั้งแต่ใบพัด Directional Gyros รวมถึงการซ่อมใหญ่อุปกรณ์ Avionics ซึ่งได้แก่เครื่องวัดประกอบการบิน, วิทยุสื่อสาร, เรดาห์ตรวจอากาศ, Air Traffic Control, Radar Warning Receiver เป็นต้น การบริการซ่อมเครื่องยนต์ บริษัท ฯ มีหน่วยงานสนับสนุนการซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ อาทิ เครื่องยนต์ลูกสูบ เครื่องยนต์ General Electric J85, เครื่องยนต์ Honey Well T53 และมีแผนพัฒนาความสามารถในการซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ Roll Royce Allison T56 และเครื่องยนต์ Pratt & Whitney F100ศูนย์ปรับเทียบมาตรฐานเครื่องมือและเครื่องวัด บริษัท ฯ ได้เปิดให้บริการปรับเทียบอุปกรณ์ และเครื่องมือในส่วนของ Aviation Test Equipment, Electrical Instrument, Physical/Mechanical Instrument, Optic/Laser and Dimension ศูนย์ซ่อมอุปกรณ์สื่อสารอิเล็กโทรนิกส์ ภาคอากาศ มีความสามารถในการซ่อมบำรุง ระบบวิทยุภาคอากาศ, ระบบเครื่องช่วยเดินภาคอากาศ, ระบบเรดาห์ภาคอากาศ “กลุ่มลูกค้าที่มีการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง คือ ภาคเอกชน โดยเฉพาะสายการบินโลว์คอร์ส อาทิ นกแอร์ แอร์เอเชีย และสายการบินอื่นๆ ในช่วงนี้นับเป็นโอกาสที่ดีของบริษัทในตลาดการให้บริการซ่อมบำรุง เพราะสายการบินโลว์คอร์ส มีอัตราการเติบโตสูงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค เนื่องจากสายการบินโลว์คอร์สไม่มี นโยบาลลงทุนสร้างศูนย์ซ่อมอากาศยานเอง ทั้งนี้เพื่อประหยัดต้นทุนการในให้บริการ อย่างไรก็ตามใน1-2 ปีนี้ บริษัทมีนโยบายลงทุน ประมาณ 500 ล้านบาท เพื่อสร้างโรงเก็บเครื่องบินโลว์คอร์ส อาทิ โบอิ้ง 737, โบอิ้ง 767 และแอร์บัส 320 เนื่องจากโรงเก็บเครื่องบินเดิมมีขนาดเล็ก ไม่เพียงพอต่อการให้บริการที่มีการขยายตัว ด้านรายได้ตลอด 9 ปี ของการดำเนินธุรกิจ และจะครบรอบ 10 ปีในเดือนกันยายน 2556 นี้ บริษัทอุตสาหกรรมการบินมีการขยายตัวของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง คาดว่าสิ้นปีนี้จะมีรายได้ 2,700 ล้านบาท และมีการเติบโตต่อเนื่องทุกปี 10-15 % กรรมการผู้จัดการกล่าว ปัจจุบัน บริษัท ฯ มีบุคลากรทางด้านวิศวกรรมและการช่างอากาศยาน ที่มากด้วยประสบการณ์และความชำนาญจากกองทัพอากาศ มากกว่า 600 คน มีนโยบายสร้างความสัมพันธ์กับบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินชั้นนำของโลก บริษัทซ่อมบำรุงอากาศยาน และบริษัทจำหน่ายอะไหล่อากาศยานต่าง ๆ เพื่อความร่วมมือในส่วนการค้า การสนับสนุน ด้านเทคนิค วิศวกรรม พัสดุอะไหล่ และการฝึกอบรม เช่น บริษัท Lockheed Martin, Pratt & Whitney, Bell Helicopter Textron, Derco Aerospace, Samsung Aero, ST Aero, Rolls Royce และ British Aerospace เป็นต้น ต้องการสอบถามข้อมูลประชาสัมพันธ์เพิ่มเติม ติดต่อ บริษัท ไนน์ตี้ไนน์ คอมมิวนิเคชั่น เอเจนซี่ จำกัด 02-861-7163

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ