BOT: การจัดตั้งโครงการเพื่อแก้ปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์

ข่าวทั่วไป Wednesday March 12, 1997 18:47 —ThaiPR.net

กรุงเทพ--12 มี.ค.--ธนาคารแห่งประเทศไทย
ตามที่ภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้ซบเซาและส่งผลกระทบต่อความ เชื่อมั่นในระบบสถาบันการเงิน ธุรกิจที่ต่อเนื่องกับอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งประชาชน ผู้จองซื้อโครงการต่าง ๆ เกิดความไม่แน่ใจว่าโครงการจะสามารถดำเนินการจน เสร็จสิ้นหรือไม่ นั้น
กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยได้พิจารณาร่วมกันแล้ว เห็นว่า จำเป็นต้องมีมาตรการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ และคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็น ชอบในการจัดตั้ง "องค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์" เพื่อรับซื้อลูกหนี้จาก สถาบันการเงิน พร้อมโอนหลักประกันเพื่อนำไปบริหารฟื้นฟู โดยองค์การฯ นี้ใช้ทุน จากงบประมาณจำนวน 1 ล้านบาท และเงินมอบให้จากสถาบันการเงินที่เข้าร่วม โครงการนี้อีกไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท แต่เงินหมุนเวียนในการดำเนินการจะออก พันธบัตรโดยมีกระทรวงการคลังค้ำประกัน ขายแก่นักลงทุนทั่วไป
สินเชื่อที่องค์การฯ รับซื้อจะต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีอยู่ในปัจจุบันและ อยู่ระหว่างการพัฒนาเท่านั้น และจะต้องมีการประเมินค่าหลักประกันใหม่ โดยเจ้า ของอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นลูกหนี้และสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้เดิมต้องยอมรับความ เสียหายเสียก่อน นอกจากนั้น สถาบันการเงินที่ขายต้องค้ำประกันหนี้ที่โอนมายัง องค์การฯ อีกร้อยละ 50 รวมทั้งมีเงื่อนไขต้องให้กู้ยืมเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนให้ดำเนิน โครงการจนแล้วเสร็จ อัตราดอกเบี้ยที่องค์การฯ จะเรียกเก็บให้เป็นอัตราตลาด ส่วนลูกหนี้จะได้ประโยชน์จากการจัดโครงสร้างหนี้ใหม่ โดยผ่อนคลายให้ชำระหนี้ และดอกเบี้ยต่อเมื่อขายโครงการได้ แต่ทั้งนี้ ลูกหนี้จะต้องมีแผนแก้ปัญหาการตลาดที่ ชัดเจน
องค์การฯ นี้จะอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงการคลัง โดยมีคณะ กรรมการ 11 คน ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรองประธาน สถาบันการเงินที่ขายสินเชื่อและร่วมค้ำ ประกันจะต้องส่งบุคลากรมาร่วมบริหารลูกหนี้ด้วย และองค์การฯ จะต้องเปิดเผย การดำเนินงานอย่างโปร่งใส ทั้งในเรื่องการประเมินค่าหลักประกัน การซื้อสินเชื่อ และงบดุล บัญชีกำไรขาดทุนทุก 6 เดือน
โครงการนี้จะเป็นโครงการที่เอกชนร่วมมือกันแก้ไขปัญหา และเป็นการ ใช้แหล่งเงินจากตลาดทั่วไป จึงเป็นไปตามหลักการรักษาวินัยทางการเงินการคลัง ผลที่ได้รับจะทำให้ระบบสถาบันการเงินมั่นคง คุ้มครองประชาชนผู้จองซื้อโครงการ อสังหาริมทรัพย์ ช่วยฟื้นฟูฐานะของธุรกิจต่าง ๆ ที่ต่อเนื่องกับอสังหาริมทรัพย์ และ ทำให้บรรยากาศการลงทุนแจ่มใสขึ้น
ทางการมั่นใจว่ามาตรการนี้จะช่วยเสริมสร้างฐานะและความมั่นคงใน ระบบสถาบันการเงินอย่างต่อเนื่อง
แนวทางในการจัดตั้งองค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์
(Property Loan Management Organization หรือ PLMO)
1. จัดตั้งองค์การของรัฐ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล พ.ศ. 2496 เรียกชื่อว่า องค์การบริหารสินเชื่อ อสังหาริมทรัพย์ (Property Loan Management Organization หรือ PLMO) เพื่อรับซื้อลูกหนี้อสังหาริมทรัพย์จากสถาบันการเงินที่มีอยู่ในปัจจุบัน
2. องค์การฯ นี้จัดตั้งขึ้นโดยใช้ทุนจดทะเบียนจากงบประมาณจำนวน 1 ล้านบาท ส่วนเงินทุนหมุนเวียนจะใช้วิธีออกพันธบัตร โดยมีกระทรวงการคลังค้ำประกัน ขายแก่นักลงทุนทั่วไป
3. วิธีการซื้อลูกหนี้ องค์การฯ จะจัดให้มีการประเมินค่าหลักประกัน ตามสภาวะตลาดในปัจจุบัน โดยใช้ผู้ประเมินอิสระที่มีมาตรฐาน 3 ราย และองค์การฯ จะเลือกราคาที่ต่ำสุด หรือไม่เกินยอดหนี้เงินต้นคงค้าง แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า ทั้งนี้ สถาบันการเงินผู้ขายลูกหนี้จะต้องค้ำประกันลูกหนี้ดังกล่าวร้อยละ 50 ของ ราคาขาย
4. หากสถาบันการเงินมีผลขาดทุนจากการขายลูกหนี้ให้องค์การฯ สถาบัน การเงินจะต้องตัดบัญชีผลขาดทุน แต่ภายหลังเมื่อสภาวะตลาดฟื้นตัว สถาบันการเงิน จะขอซื้อลูกหนี้คืนก็ได้
5. โครงการนี้จะเอื้ออำนวยให้สถาบันการเงินให้การสนับสนุนทางการ เงินเพิ่มเติมแก่ลูกหนี้ เพื่อให้ดำเนินโครงการอสังหาริมทรัพย์จนแล้วเสร็จ และเมื่อ ลูกหนี้ขายโครงการได้เมื่อไร เงินที่ทยอยชำระหนี้ องค์การฯ จะจัดสรรให้แก่เจ้า หนี้ต่าง ๆ ตามสัดส่วนที่องค์การฯ กำหนด
6. สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานขององค์การฯ จะคิดเอาจาก สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการและจากลูกหนี้ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ดังนี้
ก) สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการต้องจ่ายเงินสมทบรายละ 1 ล้านบาท
ข) องค์การฯ คิดค่าบริหารร้อยละ 0.2 ต่อปี โดยให้สถาบันการ เงินและลูกหนี้รับภาระเท่า ๆ กัน
ค) ลูกหนี้ที่ขายโครงการได้จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเมื่อขาย โครงการได้อีกจำนวนหนึ่ง โดยหากเร่งขายโครงการได้ในปีแรก จะไม่คิดค่า ธรรมเนียม จะคิดตั้งแต่ปีที่สองเป็นต้นไป และจะเพิ่มในอัตราก้าวหน้าแต่ละปี เพื่อ เร่งรัดให้ผู้ประกอบการแก้ไขปัญหาและขายโครงการออกไป
7. องค์การฯ จะจัดโครงสร้างหนี้ใหม่ให้แก่ลูกหนี้ โดยคิดดอกเบี้ยใน อัตราตลาด ชำระเมื่อสิ้นสุดโครงการ หรือเมื่อมีการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ แต่ลูก หนี้จะต้องกำหนดแผนแก้ปัญหาการตลาดที่ชัดเจนทั้งด้านราคาและการส่งเสริมการขาย อื่น ๆ
8. องค์การฯ นี้ จะอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงการคลัง มีคณะ กรรมการประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องและผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมี ปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นรอง ประธาน และมีการดำเนินการที่โปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูล งบการเงิน รวมทั้ง มาตรฐานและขั้นตอนการประเมินทรัพย์สินต่าง ๆ
9. ในด้านการบริหารลูกหนี้และฟื้นฟูโครงการอสังหาริมทรัพย์นั้น สถาบัน การเงินที่ขายลูกหนี้และร่วมค้ำประกันจะส่งบุคลากรที่คุ้นเคยกับลูกหนี้มาร่วมบริหาร ลูกหนี้ โดยองค์การฯ ไม่ต้องมีภาระค่าตอบแทน ทั้งนี้ องค์การฯ จะรับซื้อลูกหนี้ เฉพาะรายที่ลูกหนี้ให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา ไม่รับหลักประกันประเภทที่ดิน ยังไม่มีการพัฒนา ทั้งนี้ องค์การฯ จะไม่เข้าไปทำการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ด้วยตน เอง รวมทั้งไม่ให้กู้ยืมเงินเพิ่มเติมแก่ลูกหนี้ใด ๆ--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ