กรุงเทพฯ--4 ก.ย.--สำนักส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
หลักสูตร SMEs Advance ของ สสว. ชู “อนุบาลเด่นหล้า —ส.ขอนแก่น” 2 ธุรกิจตัวอย่างเด่นด้านการบริหารการจัดการทางธุรกิจSMEs เป็นกรณีข้อศึกษาและเรียนรู้ธุรกิจ SMEs ที่ประสพความสำเร็จ ชี้แนะการสร้างจุดเด่นเพื่ออยู่เหนือการแข่งขันทางธุรกิจ แก่ผู้บริหารSMEs ต้องสร้างวิสัยทัศน์กว้างไกล รอบรู้ รู้ลึก ปรับตัวตลอดเวลา คำนึงถึงการบริหารบุคคลกรเป็นหัวใจขององค์กร
ในการปฐมนิเทศการอบรมนักบริหาร SMEs ระดับสูง “SMEs Advance” รุ่นที่ 1 จำนวน 100 คน ภายใต้โครงการยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการธุรกิจSMEs จัดโดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อเร็วๆนี้
นายเจริญ รุจิราโสภณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ส. ขอนแก่นฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) เจ้าของธุรกิจ ส.ขอนแก่น และ ดร.ต่อยศ ปาลเดชพงศ์ รองผู้อำนวยการ โรงเรียนอนุบาลเด่นหล้า ทายาทรุ่นที่ 2 ของผู้ก่อตั้งโรงเรียนอนุบาลชื่อดังแห่งนี้ ให้เกียรติมาเป็นวิทยากร และร่วมเสวนา “การสร้างจุดเด่นเพื่ออยู่เหนือการแจ่งขันทางธุรกิจ” ให้กับผู้บริหารระดับสูง SMEs ที่เข้าร่วมอบรมในโครงการเพื่อเป็นแนวทางการประกอบธุรกิจที่มาจากวิสัยทัศน์กว้างและก้าวไกลของผู้บริหารองค์กร เรียนรู้การเปลี่ยนแปลงรอบตัวอยู่ตลอดเวลา และมีการบริหารจัดการในระบบปฏิบัติการทางธุรกิจที่ดี
นายเจริญ กล่าวว่า อาหารไทยมีศักยภาพไปทั่วโลก จึงมองเป็นโอกาสขยายธุรกิจ ประสบการณ์กว่า 10 ปีทำงานกับเครือซีพี จะไม่ทำธุรกิจเดียวกับซีพี เมื่อเครือซีพีมาในแนวอาหารฝรั่ง Western จึงมาจับอาหารแนว Eastern สร้างความแตกต่าง เริ่มต้นจากการทำธุรกิจลูกชิ้นปลาด้วยตัวเอง มีเงินทุนเพียงแค่ 3 แสนบาท ขณะนี้มีกำลังการผลิตเพิ่มเป็นพันตันต่อวัน ใช้คนงาน 500 คน
“ อดีตขยายตั้งบริษัททำธุรกิจหลายอย่าง พบว่าทำธุรกิจที่ชำนาญและถนัดจะดีกว่า จึงตัดสินใจเลือกทำเพียง บริษัท ส.ขอนแก่น อย่างเดียว ผมมองการทำธุรกิจเล็กในวันนี้ เพื่อโตไปข้างหน้า และขยายไปข้างนอกประเทศ จนเป็นเกษตรอุตสาหกรรมที่ครบวงจร ทั้งหมดเกิดจากการดีไซน์ธุรกิจในมุมมองวิสัยทัศน์ของผม ซึ่งทุกคนเป็นสถาปนิคของตัวเองได้ คนเล็กสามารถเกิดได้ และดีไซน์อนาคตของตัวเราเองได้ หากมีจิตใจที่มั่นคง และมีความเพียรที่ไหน จะมีช่องทางให้ตลอดเวลา ส่วนการทำให้ธุรกิจขยายต่อไปและอยู่ได้อย่างยั่งยืนนั้น เราต้องปรับตัวเองให้ทันเข้ากับสมัยนิยม และเตรียมพร้อมแผนรองรับในอนาคตที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ติดตามดูพฤติกรรมการประกอบอาหารในบ้าน การทานอาหารนอกบ้าน ดูแนวโน้มค่าครองชีพ ดูทิศทางการบริโภคอาหารในอนาคต สังเกตแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับชาวต่างชาติ ส่วน AEC ได้เตรียมการและบุกไปเปิดตลาดก่อนแล้ว ”
ดร.ต่อยศ กล่าวว่า ธุรกิจโรงเรียนอนุบาลเด่นหล้าเริ่มต้นจากคุณพ่อมีลูกสาว จึงอยากได้โรงเรียนใกล้บ้าน กอร์ปกับกลุ่มครอบครัวในเครือญาติเป็นครอบครัวการศึกษา เลยตัดสินใจสร้างโรงเรียนอนุบาลขึ้น และให้การพัฒนาต่อเนื่อง เพราะว่าผู้บริหารโรงเรียนมีวิสัยทัศน์ที่จะต้องมีความละเอียดอ่อนให้ความปราณีตในกระบวนการค้นหาฝัน ความพร้อม และเตรียมความพร้อมให้กับเด็ก มีการค้นหาและสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กให้รองรับกับสังคมและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงในอนาคตตลอดเวลา
“เราใช้หลักการบริหารจัดการด้านบุคลากรแบบตะวันออก เลี้ยงดูกันตลอดชีวิต ที่เราเห็นความจำเป็นและให้ความสำคัญมากในหลักการนี้ เพราะว่าบุคคลกรด้านการศึกษาที่ดีนั้นหายาก และเป็นงานที่หนักในการดูแลเด็ก จึงต้องมีบุคลากรที่ดี การ turn over จึงต่ำมาก”
ดร.ต่อยศ กล่าวถึงเรื่องการเปิดตลาด AEC ว่าการแข่งขันเป็นสิ่งดี ทำให้กระตืนรือร้น แต่เราจะมองในมุมการเป็น partnership เป็นโรงเรียนที่เหมาะสมกับโรงเรียนปฐมมากกว่าเรื่องการแข่งขัน เสมือนหนึ่งเป็นsupply chin ที่สร้างpartnerให้ธุรกิจต่อเนื่องได้ประสบความสำเร็จมากขึ้น"
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) การอบรมนักบริหาร SMEs ระดับสูง “SMEs Advance” ภายใต้โครงการยกระดับมาตรฐานการบริหารการจัดการธุรกิจ SMEs คุณสุทธิกานต์ มาสำราญ 081 634 6770 คุณนัทธมน ภูมิไชย 081 634 3790 และคุณทิพาพร พจนา 081 634 7140