ศศินทร์ หนุน "เยาววิทย์" ต้นแบบธุรกิจเพื่อสังคม

ข่าวทั่วไป Tuesday September 10, 2013 13:39 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--10 ก.ย.--แมสคอท คอมมิวนิเคชั่น เรียนรู้จากการแบ่งปัน ต่อยอดโมเดลโรงเรียนสังคมสงเคราะห์สู่ธุรกิจเพื่อสังคม ตั้งกลุ่ม Sasin Friends of Yaowawit หนุนต้นแบบ Social Enterprise เสนอหลากแนวคิดสร้างรายได้เลี้ยงตัวเอง นาย นิกม์ พิศลยบุตร อาจารย์ประจำ ภาควิชาการจัดการ และผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการความยั่งยืน เปิดเผยว่า สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตั้งศูนย์ Sasin Centre for Sustainability Management ตั้งแต่ปี 2555 และเปิดสอนวิชาหลักกับนิสิตคณะบริหารธุรกิจ ที่เน้นหลักสูตร การจัดการบริหาร ธุรกิจแบบยั่งยืน ในการปฐมนิเทศเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา นิสิต EMBA และ MBA ได้เรียนรู้เกี่ยวกับกรณีศึกษาของโรงเรียนเยาววิทย์และได้มีการทำ workshop ระดมความคิดที่จะหาเงินทุนเพื่อสร้างธุรกิจเพื่อสังคม หลังจากปฐมนิเทศไม่นาน นิสิตใหม่ของ EMBA ได้ไปภูเก็ตและพังงาเพื่อเยี่ยมชมโรงเรียนเยาววิทย์ เพื่อเป็นการสนับสนุนและต่อยอดเจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้งโรงเรียนที่ต้องการให้เยาววิทย์เป็นธุรกิจเพื่อสังคม ที่ไม่ได้รับเงินจากการบริจาคเพียงอย่างเดียว สามารถยืนหยัดได้อย่างมั่นคง ในลักษณะธุรกิจที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้อย่างยั่งยืน ศศินทร์ฯ ได้ตั้งกลุ่ม Sasin Friends of Yaowawit เพื่อร่วมทำงานกับโรงเรียนเยาววิทย์ในระยะยาว โรงเรียนเยาววิทย์ ตำบลเหมาะ อำเภอกะปง จังหวัดพังงา ได้ถูกก่อตั้งมาเป็นโรงเรียนประจำสังคมสงเคราะห์ สำหรับเด็กยากไร้และด้อยโอกาส สร้างขึ้นเพื่อรองรับความสูญเสียจากเหตุการณ์สึนามิในปี 2547 จากความตั้งใจของมูลนิธิ Children's World Academy แห่งประเทศเยอรมันนี และประเทศไทย กลายเป็นจุดเริ่มต้นของศูนย์พักพิงทางการศึกษาให้กับเด็กด้อยโอกาสในจังหวัดภาคใต้ มาจนถึงปัจจุบัน กลุ่มนักศึกษาใหม่จากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมเดินทางไปทำกิจกรรมที่โรงเรียนเยาววิทย์ ทำให้มองเห็นมุมมองและโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับโรงเรียน ที่นอกเหนือจากการเปิดให้บริการห้องพักแก่นักท่องเที่ยว ซึ่งรายได้ที่เข้ามายังไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูตนเอง “นิสิตจะได้มีโอกาสนำสิ่งที่เรียนไปใช้จริงในการขับเคลื่อนธุรกิจต้นแบบ เพราะการพัฒนาอย่างยั่งยืน ต้องมีแผนธุรกิจเข้ามาเสริมมากกว่าการรับเงินบริจาคเพียงอย่างเดียว ซึ่งแนวทางลักษณะนี้กำลังเป็นที่สนใจมากขึ้นทั้งในภาคธุรกิจ ประชาชน และสังคม” อาจาร์ย นิกม์ กล่าว และบอกว่า กลุ่ม Sasin Friends of Yaowawit จะช่วยดูว่ามีอะไรที่โรงเรียนต้องการ และเข้าไปเสริมได้โดยเริ่มจากจุดเล็กๆ การที่โรงเรียนจะอยู่ยืนหยัดอยู่ได้ท่ามกลางความท้าทายทางการเงิน โรงเรียนยังต้องการการสนับสนุนค่าใช้จ่าย การที่มีองค์กรเข้ามาให้เงินบริจาคในระยะสั้น อาจยังไม่ใช่คำตอบ แต่สิ่งที่ศศินทร์มองคือการสร้างธุรกิจให้มีเงินเข้ามาพอ เช่น การสร้างรายได้จากการผลิตยาหมอง ยากันยุงจากตะไคร้ ที่ต้องเสริมเรื่องการออกแบบ การผลิตที่ได้มาตรฐาน การตลาด ตลอดจนสร้างเครื่อข่ายเชื่อมโยงกับผู้ซื้อ เพื่อให้เกิดเป็นรายได้เข้ามา นอกจากนี้ ยังมีแนวทางในการเปิดให้นักเรียนจากโรงเรียนอื่นเข้ามาทำเยี่ยมชมและทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนร่วมกัน พร้อมทั้งหาทุนต่อยอดธุรกิจอย่างยั่งยืน อาจาร์ย นิกม์ กล่าวทิ้งท่ายว่า โรงเรียนเยาววิทย์จะเป็นหนึ่งในกรณีศึกษาการบริหารความยั่งยืน ให้กับนักศึกษาใหม่ทุกรุ่น ได้ร่วมออกไอเดีย ระดมสมองว่า โรงเรียนควรทำอย่างไรอะไรบ้าง เพื่อให้เกิดความยั่งยืน รวมถึงมองหาโอกาสสร้างรายได้ให้กับโรงเรียน ดูแลคนและสิ่งแวดล้อม ในระยะยาวเพื่อความต่อเนื่อง และเกิดขึ้นได้จริง ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งบัน เรียนรู้การให้กับโรงเรียนเยาววิทย์ได้ที่ www.yaowawit.com
แท็ก SAS  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ