กรุงเทพฯ--11 ก.ย.--กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ปฎิเสธไม่ได้ว่า "อาหารไทย" เป็นอีกหนึ่งอาหารยอดนิยมของคนทั่วทุกมุมโลก เพราะไม่ว่าจะเดินทางไปซีกโลกไหนต่างเห็นร้านอาหารไทยกระจายอยู่ทั่ว แถมอาหารไทยยังติดอันดับ 1 ใน 4 อาหารยอดนิยมของโลก ทว่าหลายครั้งที่รสชาติของอาหารไทยถูกดัดแปลงจนทำให้ผิดเพี้ยนไปจากต้นตำรับดั้งเดิม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ(องค์การมหาชน)(สนช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้จัดตั้งโครงการศูนย์รสชาติของไทย(Thai Delicious) ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์นวัตกรรมครัวไทยสู่ครัวโลกตามนโยบายของรัฐบาล โครงการประกวดออกแบบและปรุงอาหารไทยประยุกต์ "Thai Fusion Cuisine Challenge by Thai Delicious" กิจกรรมหนึ่งภายใต้โครงการ Thai Delicious ที่สนช.ได้รับความร่วมมือจากสมาคมพ่อครัวไทย โดยปีนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 7 กันยายน ที่ผ่านมา ได้รับเกียรติจาก ดร.พีรพันธุ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลแก่ผู้ชนะเลิศการแข่งขันปรุงอาหารไทยประยุกต์ ซึ่งมีผู้เข้าแข่งขันจำนวน 60 คน (30ทีม) แบ่งเป็นพ่อครัวระดับมืออาชีพ 15 ทีม ทีมละ 2คน และพ่อครัวระดับเยาวชน 15 ทีม ทีมละ 2 คน
ดร.พีรพันธุ์ กล่าวว่าตนได้มอบหมายให้สนช.เป็นเจ้าภาพหลักในการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ประเทศ นวัตกรรมครัวไทยสู่ครัวโลก ซึ่งสนช.ได้ริเริ่มโครงการศูนย์รสชาติอาหารไทยขึ้น เพื่อเป็นกลไกในการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ และนำองค์ความรู้ด้านคหกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร การทดสอบทางประสาทสัมผัสมาประยุกต์ใช้ร่วมกันในการกำหนดมาตรฐานและควบคุมคุณภาพของอาหารไทยให้มีรสชาติมาตรฐานตามสูตรต้นตำรับ ซึ่งจะสามารถแก้ไขปัญหาความผิดเพี้ยนของรสชาติอาหารไทย ทำให้อาหารไทยมีคุณภาพ มีรสชาติเป็นมาตรฐานเดียวกัน ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศได้ "การประกวดฯครั้งนี้มุ่งสร้างมาตรฐานใหม่ให้อาหารไทย ซึ่งแสดงถึงความแตกต่างอย่างมีเอกลักษณ์โดยมีพื้นฐานมาจากอาหารไทยต้นตำรับและมีการใช้กติการวมถึงเกณฑ์การตัดสินตามมาตรฐานสากล ผู้เข้าแข่งขันกลุ่มกำลังศึกษาทางด้านอาหารและบุคลากรในธุรกิจอาหารจะได้รับประสบการณ์ มุมมองใหม่ในการสร้างสรรค์เมนูอาหารไทยในเชิงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น ซึ่งเป็นการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร และนวัตกรรมอาหารไทย"
อนาคตร้านอาหารไทยจะมีการขยายมากขึ้น ซึ่งถ้าประเทศไทยมีพ่อครัวที่มีฝีมือดี ผลิตอาหารที่ได้มาตรฐาน มีความมั่นคงในรสชาติก็จะทำให้ร้านครัวไทยได้รับความนิยมมากขึ้น ซึ่งทาง สนช.ได้พัฒนาและสร้างเครื่องมือตรวจวัดรสชาติอาหาร เพื่อใช้วัดและวิเคราะห์รสชาติอาหารไทยให้ได้ตามเกณฑ์บ่งชี้ของสูตรอาหารไทย ภายใต้แนวคิด "อาหารไทยไม่ว่าครัวไหน ก็ต้องมีรสชาติเดียวกัน" คาดว่าอีกไม่นานจะนำมาแสดง เผยแพร่ เพื่อให้เชฟต่อไปตรวจวัดอาหารให้ได้ ความหลากหลายของรสชาติ นอกจากขึ้นกับรสมือของแต่ละเชฟแล้วอการดัดแปลงให้เข้ากับผู้รับประทานก็จำเป็นไม่น้อย ปิง นายสุรกิจ เข็มแก้ว นักศึกษาจากวิทยาลัยดุสิตธานี จับคู่กับมายด์ น.ส.ธฤดี ศรีวิลาศลักษณ์ นักศึกษาจากวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร เชฟจากโรงแรมอโนมา กรุงเทพ ผู้ชนะเลิศพ่อครัวระดับเยาวชน ช่วยกันเล่าถึงความประทับใจในการแข่งขันว่ารู้สึกดีใจมากที่ชนะการประกวดในครั้งนี้ เพราะพวกเราตั้งใจที่จะเข้าร่วมแข่งขันมาก โดยใช้เวลานานพอสมควรในการออกแบบอาหารชุดเซทในรูปแบบสากลที่เป็นการประยุกต์มาจากอาหารไทยเดิม ประกอบด้วย อาลัวใส่ทะเล หมูย่างกับข้าวเหนียวกินกับซอสจิ้มแจ่ว มีส้มตำ และมีข้าวผัดที่นำส่วนผสมของสมุนไพรไทย วัถตุดิบของไทยดั่งเดิมเข้าไปผสมผสานกับการตกแต่งสไตล์โมเดิล แต่ยังคงรสชาติของอาหารไทยดั่งเดิมไม่ผิดเพี้ยน "จุดเด่นของอาหารที่ทำให้เราชนะในการประกวด คือการนำเสนออาหารไทยที่ใครๆก็สามารถหารับประทานได้ทั่วไป แต่ในการประกวดมักไม่ค่อยมีใครนำอาหารเหล่านี้มาขึ้นโต๊ะ เรา 2 คนอยากดัดแปลงให้อาหารไทยที่มีความเป็นไทยอย่างข้าวเหนียว หมูย่าง ส้มตำ มาตกแต่งเพิ่มมูลค่าสไตล์โมเดิลที่อาจจะมากกว่ากลุ่มอื่นเพียงเล็กน้อย ซึ่งทุกกลุ่มล้วนมีการตกแต่งที่สวยงามและโมเดิลไม่ต่างกัน" จากการเวทีการประกวด ทำให้ "ปิงและมายด์" ได้ความรู้ และเทคนิคในการทำอาหาร จากทั้งเพื่อนๆ พี่ๆเชฟที่เข้าร่วมแข่งขัน และคณะกรรมการซึ่งเป็นเชฟที่มีประสบการณ์มากมาย ทำให้พวกเขารู้ถึงวิธีการทำอาหาร เทคนิคมากมายที่บางครั้งเราไม่รู้ มายด์ บอกว่าอยากขอบคุณผู้จัดที่ให้โอกาสและได้รับประสบการณ์ดีจากการแข่งขันในครั้งนี้ และอยากให้มีการแข่งขันแบบนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้เชฟรุ่นใหม่ รุ่นที่มีประสบการณ์ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกัน เพราะการทำอาหารไม่ใช่ให้เฉพาะมุมมอง มีความคิดสร้างสรรค์แล้ว ยังทำให้ใจเย็น มีความรอบคอบมากขึ้นด้วย เช่นเดียวกัน เชฟไก่ นายพงศ์ศักดิ์ มิขุนทอง และนายฤทธิไกร