กรุงเทพฯ--19 ก.ย.--วธ.
ด้วยกระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กำหนดการสัมมนาประชาสัมพันธ์ ในหัวข้อ “การส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตและเกมเชิงบวก สำหรับเด็ก และเยาวชน” ภายใต้โครงการศึกษาและพัฒนากลไกเพื่อการแก้ไขปัญหาเด็กติดเกมเชิงบวก เพื่อการประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจและความตระหนักรู้ รวมทั้งเผยแพร่โปรแกรมป้องกันเด็กติดเกมเชิงบวก (GamerGuard Programe) ไปยังหน่วยงาน ผู้ประกอบการเอกชน และสถานศึกษาต่างๆ ทั้งโรงเรียน สถานศึกษา ร้านอินเทอร์เน็ต นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนที่สนใจ เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ถึงภัยจากเว็บและเกมที่ไม่เหมาะสม พร้อมทั้งส่งเสริมประชาชน สถาบันครอบครัว และสถานศึกษาทุกแห่งทั่วประเทศให้มีการประยุกต์นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตไปใช้ อย่างสร้างสรรค์ปลอดภัย พร้อมแจกจ่ายโปรแกรมให้แก่สถานศึกษา ผู้ประกอบการร้านอินเทอร์เน็ต และประชาชนทั่วไป เพื่อเป็นเครื่องมือส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตและเกมเชิงบวกของเยาวชน โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มที่มีอายุระหว่าง ๘ ปี ถึง ๑๖ ปี เพราะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่สุดที่จะเกิดปัญหา จากการใช้อินเทอร์เน็ตและเกมเป็นอย่างยิ่ง
ในการนี้ กระทรวงวัฒนธรรม และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กำหนดการสัมมนาเรื่อง “การส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตและเกมเชิงบวก สำหรับเด็กและเยาวชน” โดยมีนางปริศนา พงษ์ทัดศิริกุล ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานเปิดการสัมมนา ในวันจันทร์ที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๖ เวลา ๐๙.๓๐ น. ณ ห้องอมรินทร์ ชั้น ๓ โรงแรมเอส.ดี.อเวนิว กรุงเทพฯ
กำหนดการ
๐๘.๓๐ - ๐๙.๓๐ น. - ลงทะเบียน รับแจกโปรแกรมป้องกันเด็กติดเกมเชิงบวก (GamerGuard Programe)
๐๙.๓๐ — ๐๙.๔๕ น. - พิธีเปิด โดยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
๐๙.๔๕ — ๑๐.๒๐ น. - บทบาท ภารกิจและความจำเป็นในการป้องกันแฝงที่เกิดจากอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ และเกมคอมพิวเตอร์
ของโรงเรียน นักเรียน ผู้ปกครอง และประชาชน โดยผู้แทนกระทรวงวัฒนธรรม
๑๐.๒๐ — ๑๐.๓๕ น. - พักรับประทานอาหารว่าง
๑๐.๓๕ - ๑๑.๓๕ น. - บรรยายเรื่อง “เยาวชนกับการเสพสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อินเทอร์เน็ต และเกมคอมพิวเตอร์”
โดย ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาวัยรุ่นและเด็ก
๑๑.๓๕ — ๑๒.๐๐ น. - โปรแกรมป้องกันเด็กติดเกมเชิงบวก (GamerGuard Programe)
๑๒.๐๐ — ๑๒.๔๕ น. - การเสวนา และตอบข้อซักถาม เรื่อง “การส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตและเกม เชิงบวกสำหรับเยาวชน”
ผู้ร่วมอภิปราย
๑. ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาวัยรุ่นและเด็ก
๒. ผู้เชี่ยวชาญด้านโปรแกรมป้องกันเด็กติดเกมเชิงบวก
๑๒.๔๕ — ๑๒.๕๐ น. - กล่าวขอบคุณผู้เข้าร่วมสัมมนา ปิดการสัมมนา และรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน