ฟรอสต์ฯคาด ระบบนำร่องรถยนต์ในมาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย ขยายตัวร้อยละ 17.2 ภายในปี 2561

ข่าวยานยนต์ Monday September 23, 2013 14:58 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--23 ก.ย.--ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน เผย ตลาดระบบนำร่องในรถยนต์ใน 3 ประเทศอาเซียน (อินโดนีเซีย มาเลเซีย และประเทศไทย) มีแนวโน้มขยายตัวช่วงปี 2554- 2561 ที่อัตราร้อยละ 17.2 ต่อปี หรือจะทำยอดขายได้ถึง 2.08 ล้านเครื่องในปี 2561 นาย เฟอร์ฮัน แนร์ นักวิเคราะห์ด้านอุตสาหกรรมยานยนต์จากบริษัทฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลก กล่าวว่า อุปกรณ์นำร่องส่วนตัว (Personal Navigation devices: PND) ถูกคาดว่าจะผูกขาดตลาดระบบนำร่องในอาเซียน ขณะที่ผลวิจัยฉบับใหม่ของฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน เรื่อง Strategic Growth Opportunities in Navigation Systems Market in ASEAN ระบุว่า ในปี 2554 อุปกรณ์นำร่องส่วนตัว (PND) จะมีส่วนแบ่งในตลาดถึงร้อยละ 93 และจะเป็นที่นิยมอย่างมากในอนาคต “อย่างไรก็ตามส่วนแบ่งตลาดในกลุ่มนี้จะค่อยๆลดลง เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มปรับเปลี่ยนไปใช้ระบบนำร่องที่ใช้งานได้สะดวกสบายกว่าและสวยกว่า โดยเฉพาะการเปิดตัวสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตที่ใช้ระบบปฎิบัติการแอนดรอยด์ที่มีบริการแอพพลิเคชั่นระบบนำร่องที่ทำหน้าที่ควบคุมตลาดระบบนำร่องโดยรวม” นายแนร์ เผย สำหรับประเทศมาเลเซีย ตลาดจะขยายตัวที่ร้อยละ 13.9 หรือมากถึง 482,100 ล้านเครื่องในปี 2561 ส่วนประเทศไทย คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 22 หรือทะล 1.1 ล้านเครื่องในปี 2561 สาเหตุจากผู้ผลิตให้การส่งเสริมระบบนำร่องกันมากขึ้น ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและประกอบรถยนต์ในอาเซียนประกอบกับการแข่งขันในตลาดส่งผลให้ราคาการผลิตระบบนำร่องลดลง และได้กลายเป็นอุปกรณ์ที่ลูกค้าเข้าถึงได้ง่ายและราคาไม่แพง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ