กรุงเทพฯ--30 ก.ย.--นีลเส็น
เฟสบุ๊คคือแพลตฟอร์มบนสังคมออนไลน์ที่เรียกได้ว่าประสบความสำเร็จสูงสุดในตลาดระดับโลก และส่าสุดได้ครองตำแหน่งแอพพลิเคชั่นอันดับหนึ่งจากการจัดอันดับแอพพลิเคชั่นสมาร์ทโฟนยอดนิยมในตลาดเอเชียตะวันออกฉียงใต้โดยนีลเส็น บริษัทผู้นำระดับโลกด้านการให้ข้อมูลและมุมมองของผู้บริโภค จากสื่อที่ผู้บริโภค ”ดู” ไปจนถึงสิ่งที่ผู้บริโภค ”ซื้อ”
การจัดอันดับแอพพลิเคชั่นยอดนิยม 10 อันดับของโทรศัพท์สมาร์ทโฟนนั้นได้มาจากรายงานผลการสำรวจของนีลเส็นที่มีชื่อว่าInformate Mobile Insights ซึ่งครอบคลุมประเทศต่างๆ อย่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย โดยคำนวนผลจากการรวมจำนวนผู้ที่ดาวโหลดแอพฯทั้งหมดเข้ากับเวลาเฉลี่ยที่ผู้ใช้ ใช้ไปกับการเล่นแอพพลิเคชั่นนั้นๆ ต่อเดือนเพื่อที่จะได้ผลของแอพพลิเคชั่นที่เป็นที่นิยมใช้ที่สุดในภูมิภาค
เฟสบุ๊คคือแอพพลิเคชั่นสมาร์ทโฟนที่เป็นที่นิยมใช้มากที่สุดจากสามในสี่ของตลาดที่มีการสำรวจ (อินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์) แต่ตกเป็นรองแอพพลิเคชั่นแชทสุดฮิตจากญี่ปุ่นอย่างไลน์ (LINE) ในตลาดเมืองไทยโดยตกลงมาอยู่ที่อันดับ2 นอกเหนือจากนั้นแอพพลิเคชั่นอื่นๆ ที่ผู้ใช้ทั่วภูมิภาคนิยมใช้ประกอบด้วย Google Play Store, YouTube และ Line ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่ใน 10 อันดับยอดนิยมของตลาดทั้ง 4 แห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยแอพพลิเคชั่นประเภทเกมส์อย่าง Candy Crush Saga ก็เป็นหนึ่งในแอพพลิเคชั่นฮ็อตฮิตติดอันดับท็อป 10 เช่นเดียวกัน (ดูตาราง 1)
ผู้ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้เวลาโดยเฉลี่ยประมาณ ? ของชั่วโมงต่อวันกับการใช้แอพพลิเคชั่น โดยผลออกมาว่าผู้ใช้ในประเทศมาเลเซียนั้นมีการใช้แอพฯบ่อยที่สุด (66 นาทีต่อวัน) ตามมาด้วยประเทศไทย (46 นาทีต่อวัน) ฟิลิปปินส์ (41 นาทีต่อวัน) และอินโดนีเซีย (40 นาทีต่อวัน) (ดูตาราง 2)
“ในตลาดที่มีการแข่งขันสูงอย่างตลาดโทรศัพท์มือถือนั้น ความสำคัญและอิทธิพลของแอพฯได้พุ่งสูงขึ้นในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา”ซาก้า แฟดเค ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยธุรกิจโทรคมนาคมและเทคโนโลยีในเอเชียตะวันออกฉียงใต้ เอเชียเหนือ และแปซิฟิคของนีลเส็นกล่าว “ผู้ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนในเอเชียนั้นมีอัตราในการเข้าถึงและการใช้แอพฯที่สูงมาก นอกจากนั้นจำนวนของผู้ใช้แอพฯในตลาดเอเชียก็มีการเติบโตขยายขึ้นอย่างรวดเร็ว แสดงให้เห็นถึงโอกาสสำหรับนักการตลาดและนักสร้างแบรนด์ในการใช้แอพฯเพื่อการเข้าถึงลูกค้าและสร้างความสัมพันธ์ ที่ยั่งยืน”