กรุงเทพ--23 ธ.ค.--ชมรมผู้ค้าตราสารหนี้
ชมรมผู้ค้าตราสารหนี้หรือ BDC ได้รับการปรับฐานะเป็นศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย (The ThaiBond Dealing Center/ Thai BDC) อย่างเป็นการทางภายหลังที่ ฯพณฯ นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ลงนามในใบอนุญาต จัดตั้งศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทยแล้ว
นางสาวจรุงพรหุ่นศิริ ผู้จัดการทั่วไป เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. แจ้งให้ทราบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ลงนามใบอนุญาตจัดตั้งศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทยเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2540 ซึ่งหลังจากนี้จะต้องเร่งดำเนินการตามแผนงานที่ได้จัดเตรียมไว้เพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลงและข้อบังคับที่ได้เสนอต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยจะจัดการประชุมสมาชิกผู้ก่อตั้งเพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทยคณะแรกในเดือนมกราคม 2541 นี้ และจะกำหนดวันเปิดดำเนินการศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทยอย่างเป็นทางการต่อไป
ศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทยที่จัดตั้งขึ้นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายความสามารถและศักยภาพในการสร้างระบบมาตรฐาน และอำนวยความสะดวกและความคล่องตัวต่อการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรอง รวมถึงเพื่อให้มีบทบาทและหน้าที่ในการพัฒนาตลาดรองการค้าตราสารหนี้ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีเสถียรภาพและมีความยุติธรรม อันจะมีผลให้ตลาดตราสารหนี้ไทยเป็นกลไกสำคัญประการหนึ่งในการพัฒนาตลาดเงินและตลาดทุนของประเทศต่อไป
การปรับฐานะเป็นศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย (Thai BDC) จะช่วยให้สามารถขยายบทบาทและหน้าที่ในการให้บริการด้านต่างๆ ให้กับบริษัทสมาชิกและผู้ลงทุนได้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะทางด้านการรายงานข้อมูลซึ่งได้มีการดำเนินงานเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการลงทุน (Bond Investment Services/ BIS) อันประกอบไปด้วยข้อมูลที่สำคัญ คือ การเสนอราคาซื้อขายตราสารหนี้ขึ้นทะเบียน และการรายงานผลการซื้อขายข้อมูลเกี่ยวกับตราสารหนี้ขึ้นทะเบียนข้อมูลเกี่ยวการวิเคราะห์ และข่าวที่เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของตลาดโดยการดำเนินงานจะพัฒนาควบคู่ไปกับการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลและการวิจัยตราสารหนี้ (Bond Information and Research Center) นอกจากนี้ Thai BDC ยังได้เร่งเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆของระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้แก่ การพัฒนากระบวนการชำระราคาและส่งมอบตราสารหนี้การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบการซื้อขายการผลักดันธุรกรรมตลาดซื้อคืน (Repo Market) เพื่อช่วยส่งเสริมสภาพคล่องของการซื้อขายในตลาดรองรวมถึงการพัฒนาให้เป็นองค์กรกำกับดูแลตนเองอย่างสมบูรณ์(Self-Regulation Organization / SRO) นอกจากนี้แผนงานสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การผลักดันให้เกิดคความร่วมมือกันในระดับอาเซี่ยนเพื่อเพื่อการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ (Asean Bond Market) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน การกำหนดมาตรฐานของอุตสาหกรรมให้มีทิศทางและแนวทางที่สอดคล้องกันรวมตลอดถึงการร่วมมือกันทั้งทางด้านวิชาการและเทคโนโลยี--จบ--