ผลการวิจัยของ “ทาวเวอร์ส วัทสัน”

ข่าวทั่วไป Thursday October 10, 2013 14:21 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--10 ต.ค.--สปาร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์ ผลการวิจัยของ “ทาวเวอร์ส วัทสัน” ระบุบริษัทในแถบเอเชียแปซิฟิกเล็งเห็นความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในการพัฒนาประสิทธิภาพของกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคลการลงทุนในเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลยังคงมีเสถียรภาพอย่างต่อเนื่อง จากผลการสำรวจประจำปีที่จัดทำขึ้นโดยบริษัท ทาวเวอร์ส วัทสัน ที่ปรึกษาด้านการบริหารองค์กรระดับโลกได้ระบุว่า หนึ่งในสามของบริษัทที่มีฐานการปฏิบัติงานอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและบรรษัทข้ามชาติต่างๆได้คาดการณ์ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงสำหรับแผนกทรัพยากรบุคคลในอีกสองปีข้างหน้าอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากบริษัทมีการเฟ้นหาบุคคลากรที่มีศักยภาพและมีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงกระบวนการการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (NYSE, NASDAQ: TW) ผลการสำรวจเปิดเผยว่า หลายๆบริษัทกำลังพิจารณาเทคโนโลยีใหม่ๆที่จะนำมาใช้ในการจัดการทรัพยากรบุคคล และมีการลงทุนในเรื่องของเทคโนโลยีทรัพยากรบุคคลอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น แอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน รวมถึงแผนการในการทบทวนขั้นตอนการบริหารจัดการงานทรัพยากรบุคคล ในขณะที่ร้อยละ 49 ของบริษัทในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้นยังไม่มีกลยุทธ์ในการจัดการทรัพยากรบุคคลที่เขียนขึ้นอย่างเป็นทางการเพื่อระบุหน้าที่ในแต่ละภาคส่วนของธุรกิจ ผลสำรวจทางด้านเทคโนโลยีและการให้บริการด้านทรัพยากรบุคคลปีพ.ศ. 2556 (The 2013 HR Service Delivery and Technology Survey) ซึ่งเป็นผลมาจากการสำรวจบริษัทกว่า 1,025 แห่งทั่วโลก รวมทั้งบริษัทจำนวน 578 บริษัทที่มีฐานการดำเนินงานภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกพบว่า จำนวนหนึ่งในสามของผู้ตอบแบบสอบถาม ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 33 จะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของทรัพยากรบุคคลภายในสิ้นปีหน้า ซึ่งเกือบสามในสี่ หรือร้อยละ 73 ของบริษัทที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทรัพยากรบุคคลกำลังดำเนินการดังกล่าว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคลในอนาคตและอีกกว่าครึ่งของบริษัททั้งหมดซึ่งคิดเป็นร้อยละ 52 กำลังดำเนินการดังกล่าวเพื่อปรับปรุงในส่วนของคุณภาพ และอีกร้อยละ 38 กำลังมุ่งมั่นดำเนินการในการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ทางธุรกิจหรือกำลังแสวงหาหนทางในการลดต้นทุนซึ่งคิด เป็นร้อยละ 24 สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกผลสำรวจแสดงให้เห็นว่าแม้ว่าจะมีการลดค่าใช้จ่ายในส่วนต่างๆของส่วนงานทรัพยากรบุคคล แต่รายจ่ายด้านเทคโนโลยีของทรัพยากรบุคคลยังคงมีแนวโน้มคงที่ดังเดิม และมากกว่าครึ่ง หนึ่งขององค์กรหรือร้อยละ 53 ชี้ให้เห็นว่าการลงทุนในส่วนของงานเทคโนโลยีด้านทรัพยกรบุคคล ในปีนี้นั้นจะมีความสอดคล้องกับระดับ การลงทุนในปีที่ผ่านมาในขณะที่กว่าหนึ่งในสี่หรือร้อยละ 27 ของการลงทุนดังกล่าวอาจจะมีการลงทุนมากขึ้น หรือมีการลงทุนด้านเทคโนโลยีทรัพยากรบุคคลที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ประมาณหนึ่งในสามหรือร้อยละ 31 ของบริษัทภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีการสำรวจแผนในการดำเนินการ หรือไม่ก็กำลังอยู่ในขั้นตอนของการดำเนินงานในส่วนของระบบการจัดการทรัพยากรบุคคลแบบใหม่ โดยมีเอสเอพี (SAP - Legacy HRMS ร้อยละ 20 Success Factor ร้อยละ 4) และโอราเคิล (Oracle - PeopleSoft ร้อยละ 15 Legacy HRMS ร้อยละ 6 และ Fushion ร้อยละ 2) เป็นผู้ให้บริการหลัก ตามมาด้วยเวิร์คเดย์ (Workdayร้อยละ 6) ซึ่งทั้ง 3 หน่วยงานมีการดำเนินงานรวมคิดเป็นร้อยละ 53 ของระบบการจัดการทรัพยากรบุคคลที่ถูกเลือกใช้ โดยมีการพิจารณาเรื่องศักยภาพระดับสากลและอัตราราคาเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจ สำหรับเอสเอพี (SAP) อัตราค่าใช้จ่ายแรกเริ่มที่ลดลงได้รับการกล่าวถึงจากผู้ตอบแบบสำรวจหลายๆท่าน ในขณะที่สำหรับโอราเคิลนั้นเป็นเรื่องของค่าใช้จ่ายที่สามารถคาดการณ์ได้ ฝ่ายการจัดการทรัพยากรบุคคลกำลังจับกระแสวิทยาการบนโทรศัพท์มือถือ โดยเกือบครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 46 ของผู้ตอบแบบสำรวจมีการจัดเตรียมการเข้าถึงระบบปฏิบัติการผ่านมือถือสมาร์ทโฟนให้กับพนักงาน โดยที่ ร้อยละ 60 เป็นการดำเนินงานผ่านไอโฟน ตามมาด้วยแบล็คเบอรี่ร้อยละ 35 และแอนดรอยด์ร้อยละ 32 นอกจาก สมาร์ทโฟน แล้วยังมีบริษัทอีกร้อยละ 17 ที่มีการจัดเตรียม การเข้าถึงระบบปฏิบัติการผ่านคอมพิวเตอร์ขนาด พกพาหรือ tablet ถึงร้อยละ 19 และมีจำนวนบริษัทที่ ทำการสำรวจอีกร้อยละ 12 ที่สามารถนำอุปกรณ์สื่อสารส่วนตัวมาใช้ในการปฏิบัติงานได้ อย่างไรก็ตามแอพพลิเคชั่นสำหรับการจัดการทรัพยากรบุคคลยังคงอยู่ในช่วงเริ่มต้น มีเพียงหนึ่งในสิบของ องค์กรภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกหรือร้อยละ 13 เท่านั้นที่เพิ่งหันมาใช้แอพพลิเคชั่นเพื่อวัตถุประสงค์ ในการจัดการทรัพยากรบุคคล และคาดว่ากระแสดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นในระดับปานกลางโดยร้อยละ 13 มีการวางแผนที่จะนำเสนอแอพพลิเคชั่นที่เอื้อต่อการทำงานของการจัดการทรัพยากรบุคคลใน อีก 12 ถึง 18 เดือนข้างหน้า อย่างไรก็ตาม องค์กรกว่าครึ่งยังไม่มีการวางแผนสำหรับแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือจนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2557 แม้ว่าร้อยละ 51 ของบริษัทในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะมีการวางกลยุทธ์อย่างชัดเจน แต่มีเพียงร้อยละ 31 ของกลุ่มบริษัทนั้นที่วางแผนในการปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์ภายในช่วง 18 เดือนข้างหน้า ในส่วนของกลยุทธ์ในการจัดการทรัพยากรบุคคลนั้น ขอบเขตงานที่เป็นหัวใจหลักซึ่งได้รับความสนใจมากจากการสำรวจภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกประกอบไปด้วย การฝึกทักษะและการพัฒนาร้อยละ 67 การระบุศักยภาพระดับสูงรายบุคคลร้อยละ 63 การจัดการสมรรถนะร้อยละ 60 การจัดการสู่ความสำเร็จร้อยละ 58 การจัดการพนักงานร้อยละ 54 และการจัดสรรและคัดสรรพนักงานอีกร้อยละ 53 โรเบิร์ต แซมแพตติ ผู้อำนวยการที่ปรึกษาด้านการให้บริการทางเทคโนโลยีส่วนทรัพยากรบุคคล ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท ทาวเวอร์ส วัทสัน กล่าวไว้ว่า “พวกเรากำลังมองไปในพื้นที่ อื่นๆ บนโลกใบนี้ที่บริษัททั้งหลายกำลังพิจารณาโครงสร้างทรัพยากรบุคคลและแนวทางในการให้บริการการจัดการทางทรัพยากรบุคคล และสำหรับทวีปเอเชียนั้นก็ไม่ต่างกัน ยังคงมีความต้องการในเรื่องของการทบทวน ปรับแต่ง และยกระดับการปฏิบัติงานอยู่” “สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจมากๆคือกระแสที่มีมาอย่างต่อเนื่องของการแทนที่ระบบหลักของการจัดการทรัพยากรบุคคล รวมถึงความมุ่งมั่นที่จะลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆและหันมาจับมือกับที่ระบบซอฟท์แวร์ในรูปแบบของ Software-as-a-Service (SaaS) มากขึ้น” “การให้บริการทางทรัพยากรบุคคลกำลังอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่ต้องสงสัย ซึ่งนั่นหมายความว่า พวกเราสามารถเปลี่ยนกลยุทธ์ผ่านการปรับโครงสร้าง ทบทวนกระบวนการ เปิดรับเทคโนโลยีและกระบวนการใหม่ๆ รวมถึงการเพิ่มศักยภาพองค์กรผ่านผู้จัดการซึ่งสามารถให้บริการด้วยตนเองและการให้บริการร่วมกัน (Shared service) ท้ายที่สุดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวก็หมายถึงการปรับใช้แนวคิด วิธีการ และเทคโนโลยีใหม่ๆเพื่อมอบสิ่งที่ดีกว่าให้กับการให้บริการ ทางการจัดการทรัพยากรบุคคลนั่นเอง” แซมแพตติกล่าว คุณพิชญ์พจี สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการแห่งประเทศไทยกล่าวไว้ว่า “ด้วยอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของการใช้อินเตอร์เน็ตและสมาร์ทโฟนในประเทศไทย หลายบริษัทเห็นคุณค่าในการลงทุนทางเทคโนโลยีเพื่อการจัดการทรัพยากรบุคคล ไม่ว่าจะเป็นระบบการจัดการทางด้านทรัพยากรบุคคลรูปแบบใหม่ล่าสุดหรือเป็นเทคโนโลยีบนมือถือล่าสุด เกือบครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสำรวจซึ่งประกอบไปด้วยบริษัททั้งหมด 578 แห่งภายในภูมิภาคนี้ ต่างให้การเข้าถึงระบบปฏิบัติงานกับพนักงานผ่านสมาร์ทโฟน ขณะเดียวกันบางบริษัทก็มีการเตรียมคอมพิวเตอร์พกพาไว้ให้พนักงาน อีกกระแสหนึ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในประเทศไทยได้แก่การใช้แอพพลิเคชั่นบนมือถือสำหรับการจัดการทรัพยากรบุคคลเพื่อเพิ่มศักยภาพสูงสุดในการปฏิบัติงานทั้งสำหรับองค์กรและพนักงาน อย่างไรก็ตาม มีเพียงแอพลิเคชั่นบนมือถือน้อยกว่าครึ่ง ที่มีการนำไปใช้ในการจัดการ ระบบด้านเทคโนโลยีการจัดการทรัพยากรบุคคล” ผลจากการวิจัยอื่นๆที่มีความสำคัญในแบบสำรวจสามารถสรุปได้ดังนี้ ในปีนี้การให้บริการหลักของเทคโนโลยีการให้บริการด้านทรัพยากรบุคคลนั้นเป็นเรื่องการขับเคลื่อนกลยุทธ์ธุรกิจซึ่งคิดเป็นร้อยละ 35 ตามมาด้วย การจัดกระบวนการให้คล่องตัว (Streamlining) ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 33 เกือบครึ่งหนึ่งขององค์กรที่ได้ทำการสำรวจภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกหรือร้อยละ 45 มี เว็บที่เป็นศูนย์กลางรวบรวมสารสนเทศสำหรับทรัพยากรบุคคล (HR Portal) ให้แก่ทั้งทีมงานฝ่ายบุคคลและพนักงานในองค์กร ในขณะที่ร้อยละ 7 มีเว็บสำหรับฝ่ายทรัพยากรบุคคลเท่านั้น และอีกร้อยละ 18 กำลังอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนาช่องทางดังกล่าว เผยแพร่ในนามของ ทาวเวอร์ส วัทสัน โดย สปาร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์ สำหรับข้อมูลอื่นๆสำหรับสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ : จานีน ลายออนส์ (Janeen Lyons) สปาร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์ โทร: 02 653 2717-9 แฟ็กซ์ : 02 653 2720
แท็ก เอเชีย  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ