กรุงเทพฯ--20 มิ.ย.--แม็กซิม่า คอนซัลแตนท์
ภาพยนตร์ เป็นสื่อที่กำลังได้รับความนิยมมากเพิ่มขึ้นทุก ๆ วัน โดยเฉพาะ ภาพยนตร์สั้น ถือว่าเริ่มเข้ามามีบทบาทและได้รับการยอมรับมากขึ้น โนเกีย ผู้นำตลาดการสื่อสารไร้สาย ที่มุ่งมั่นนำเสนอประสบการณ์ใหม่เพื่อชีวิตที่ไม่หยุดนิ่ง นำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อมอบประสบการณ์เหนือระดับด้านความบันเทิง ทำให้ใครหลายคนที่ใฝ่ฝันกับการได้นั่งแป้นเป็น ผู้กำกับภาพยนตร์ ตอนนี้ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป โดยได้จัดกิจกรรม “Life is a Movie” เป็นการจุดกระแสใหม่ ส่งเสริมให้ผู้บริโภคใช้ภาพยนตร์สั้นเป็นสื่อในการแบ่งปันประสบการณ์ที่ประทับใจ ณ ลานฮอลลีวู้ด ชั้น G เมเจอร์รัชโยธิน
กิจกรรม “Life is a Movie” เปิดโลกหนังสั้น กับ 4 คนดังจาก 4 สาขาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ความประทับใจผ่านภาพยนตร์สั้น พร้อมเผยเคล็ดลับและเบื้องหลังภาพยนตร์สั้น ในหัวข้อ Life is a Movie ได้แก่ ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลชื่อดัง กับภาพยนตร์สั้นเรื่อง หลังคลื่น ได้แรงบันดาลใจ ในฐานะที่เกี่ยวข้องกับทะเล ทำให้กลายเป็นผู้มีบทบาทในเหตุการณ์สึนามิ เป็นผู้ผลักดัน โครงการต่าง ๆ ของภาครัฐ เช่น การสำรวจความเสียหาย ของทรัพยากรชายฝั่ง (แนวปะการังป่าชายเลน แหล่งหญ้าทะเล) ตลอดจนการ ฟื้นฟูการท่องเที่ยวและการประมงในพื้นที่ หลังจาก เหตุการณ์ มีโอกาสเดินทางลงพื้นที่โดยตลอด เพื่อติดตามสภาพความเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านทรัพยากร การท่องเที่ยว และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ จึงอยากบันทึกบางส่วนของเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งนี้ไว้ เพื่อเป็นมรดกแห่งความทรงจำ ในการเรียนรู้การปรับตัวของธรรมชาติ การเข้ามาช่วยคนละไม้ละมือของทุกหน่วยงานองค์กรและชาวบ้านชาวไทย ตลอดจนสถานการณ์ของการท่องเที่ยวและวิถีของผู้คน ที่เชื่อว่าคงเป็นภาพประวัติศาสตร์ ยังหมายถึงการนำข้อมูลที่บันทึกไว้ เพื่อให้คนไทยได้รับรู้ถึงสิ่งที่เกิด และความร่วมมือรวมใจของคนไทยทั้งผองที่จะฟันฝ่าสถานการณ์หลังคลื่น ภาพยนตร์เรื่องนี้ บันทึกภาพด้วยโทรศัพท์ โนเกีย 6680 ด้วยมั่นใจในประสิทธิภาพและไว้ใจในการทำงานของโทรศัพท์ที่เป็นมากกว่าโทรศัพท์ โดยผลงานเรื่อง หลังคลื่นมีภาพและมุมสวย ๆ ที่ถูกใจคือ ภาพมุมสูง (bird eye view) ที่ถ่ายตอนอยู่บนเครื่องบิน ช่วงนั้นก็สนุกไปกับการทำหนังสั้นในมือถือ โดย ดร.ธรณ์ได้แนะนำว่า เทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นมาเรื่อย ๆ ขึ้นอยู่ว่าเราจะหยิบจับส่วนไหนมาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด
สุทธิพงศ์ ธรรมวุฒิ พิธีกรรายการ “คนค้นฅน” ที่ทำสารคดีมานับไม่ถ้วน ชาวบ้านติดกันงอมแงม หลายคนคาดหวังว่าหนังสั้นที่ทำจะต้องออกแนวสารคดีแน่ ๆ แต่การทำภาพยนตร์สั้นครั้งนี้กลับผิดคาด นำเสนอออกมาในแนวตลก โดยได้แรงบันดาลใจในการทำภาพยนตร์สั้น เรื่อง “คนเม้าท์หมา” จากให้น้อง ๆ ที่ออฟฟิศพูดถึงความเจ้าเล่ห์ ความน่ารักของ “วาสนา” กับ “บุญหลง” คู่รักคู่กัด ที่อาจเห็นถึงความผูกพันของหมากับคน วาสนาเป็นหมาที่บ้าน แต่พอย้ายมาอยู่คอนโดฯ มันก็ถูกมัดมือชกให้กลายเป็นหมาออฟฟิศไปโดยปริยาย ตอนอยู่ที่บ้าน ก็ดูแลมันแบบทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ พอมาอยู่ออฟฟิศ มีแต่คนเอาใจ จนมันคิดว่าตัวเองเป็นเจ้าหญิง ส่วนบุญหลงเป็นหมาข้างออฟฟิศ ที่เจ้านายย้ายไป โดยทิ้งลงให้ตรอมใจกลายเป็นหมาหัวเน่า ตอนแรกบุญหลงเป็นเจ้าถิ่นแต่กลัวจะเป็นหมาหัวเน่าอีก เลยมาสวามิภักดิ์กับวาสนา ทั้งสองทำท่าจะรักกัน แต่ดูเหมือนว่าวาสนาจะยังเหยียดสีผิวอยู่ บางทีความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ เราอาจหาได้จากสิ่งรอบตัว วาสนา และบุญหลง เป็นเพื่อนแท้ที่ต่างสายพันธุ์ ที่มอบความสุขให้กับพวกเราและทีมงานใน ออฟฟิศได้โดยปราศจากความสงสัย ภาพเหล่านั้นถูกบันทึกด้วยโทรศัพท์โนเกีย 6680 ด้วยเพราะเป็นคนทำงานคุ้นเคยกับกล้องอยู่แล้ว จึงให้การถ่ายทำหนังสั้นบนมือถือเรื่องนี้ ไม่ยากเลย
ยุทธนา บุญอ้อม กรรมการผู้จัดการและดีเจดังแห่งคลิก เรดิโอ เลือกที่จะทำภาพยนตร์สั้น เรื่อง “ สาวน้อย” ได้ยินชื่อเรื่องนึกว่าป๋าเต็ด แอบปิ้งสาวน้อยที่ไหน ที่แท้สาวน้อยคนนั้น มาจากชีวิตและครอบครัวของป๋านั่นเอง ซึ่งป๋าเต็ดเป็นคนรักครอบครัวมาก ในวันที่ผมมีลูก เวลาของผมจึงดูมีค่ามากขึ้นอีกล้านเท่า ไม่ยากจะพลาดแม้ซักวินาทีที่เห็นเธอเติบโตขึ้นมา ภาพอันน่าประทับใจเกิดขึ้นได้ทุกวัน ตั้งแต่ลูกเริ่มพูด เริ่มเดิน เริ่มใช้ตะเกียบเป็น ฟันซี่แรกขึ้น และอีกหลายอย่าง ผมจึงชอบเก็บภาพไว้(ซึ่งใคร ๆ ก็เป็น) ตอนนี้ ผมเก็บภาพงานวันเกิดครบรอบเจ็ดขวบของน้องนานาไว้ด้วย โทรศัพท์โนเกีย 7710 พร้อมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ในแบบของเธอด้วย เพราะภาพดี ๆ จะเกิดขึ้นโดยที่ผมอาจจะไม่ตั้งตัว และอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา การทำหนังสั้นเรื่องนี้จึงมาจากการนึกภาพที่จะเกิดขึ้นไว้ก่อน ว่าอยากให้ออกมาแนวไหนเหมือนการสร้างจินตนาไว้ก่อน พอได้ภาพมาเราก็นำมาตัดต่อทำได้ง่าย ๆ เลย นอกจากนี้ป๋าเต็ดยังได้แนะนำน้อง ๆ ในการเลือกใช้เทคโนโลยีว่า เลือกให้เหมาะกับตัวเอง ในการใช้งาน อย่างผมเองคนทำงานแบบนี้ จึงเป็นเรื่องที่ดี ที่เทคโนโลยีสามารถตอบโจทย์การใช้งานได้มากที่สุด ทำให้เราได้ใช้สิ่งดี ๆ
และคนสุดท้าย ชลลดา เตียวสุวรรณ เจ้าของนามปากกาเพลงดาบแม่น้ำร้อยสาย เล่าถึงในการทำภาพยนตร์สั้น เรื่อง “เที่ยวไปกับสีน้ำ” ที่สนุกสนานไปพร้อมกับโทรศัพท์โนเกีย 6680 ที่มีฟังก์ชั่นเสริม ที่ทำให้เราใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ที่ไม่ใช่เพียงแค่การโทรศัพท์ การไปถ่ายทำหนังสั้นครั้งนี้สนุกมาก ด้วยเพราะเป็นคนชอบท่องเที่ยวและเคยมีโอกาสไปล่องเรือวาดรูปในแม่น้ำหลายครั้ง และทุกครั้งที่ไปเรามีความสุขเสมอ กับที่เคยพกพาอุปกรณ์สีน้ำไปเที่ยวไหน ๆ ด้วยบ่อย ๆ ทำให้รู้สึกว่ามันเป็นเพื่อนเดินทางที่ดีมากๆ จึงอยากเสนอให้คนเห็นความเป็นกัลยาณมิตรของการวาดรูปแล้ว เราจะได้เพื่อนใหม่เพิ่มอีกก็ได้ การถ่ายทำ บางช็อตก็ถ่ายยาก เพราะเราต้องวาดรูปไปด้วย ถ่ายภาพไปด้วย เลยดูภาพตะกุกตะกักไปบ้าง
นอกจากนี้ ภายในงานยังมีมุมบริการและแนะนำการดาวน์โหลดหนังสั้น พร้อมให้ดาวน์โหลดหนังสั้นทำมือจากแขกรับเชิญทั้ง 4 ท่านและหนังสั้น 5 เรื่องที่ชนะการประกวดในโครงการ Short no film Festival , มุมบริการและประชาสัมพันธ์ข้อมูลด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดีย จากโนเกีย ไม่เพียงเท่านี้ยังร่วมเล่นเกมอื่น ๆ อีกมากมาย
หนังสั้น ที่มาจากภาพความทรงจำดี ๆ และภาพความประทับใจ นำมาปะติดปะต่อกันโดยใช้เทคโนโลยีมัลติมีเดียเป็นสื่อในการสร้างสรรค์ บันทึกและถ่ายทอดตามแบบไลฟ์สไตล์ของคุณ จึงเป็นเรื่องง่าย ๆ ที่ใครก็ทำได้ ด้วยโทรศัพท์ สำหรับคนที่ใฝ่ฝันในการเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ หนังสั้น อาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี สำหรับผู้กำกับภาพยนตร์ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต
หลากหลายความรู้สึกของคนที่อินในเทคโนโลยีทำหนัง
อุ้ม — สิริยากร พุกกะเวส พิธีกรสาวสวยอารมณ์ดี กล่าวว่า “ตอนนี้เทคโนโลยีมือถือค่อนข้างเร็วมาก แต่อุ้มคิดว่ามันสนุกดี เช่นตอนนี้มีฟังก์ชั่นที่สามารถตัดต่อทำหนังสั้นเองได้ มันง่ายกว่าที่คิดไว้เยอะมาก ใช้เวลาแค่ 10 นาทีในการตัดต่อ บวกเวลาคิดหนังอีก 5 นาที ก็ทำหนังเสร็จเรื่องหนึ่งแล้ว และคิดว่าคนอื่นก็คงเล่นได้ไม่ยากเลย แต่ตอนแรกๆ อาจทำแค่หนังที่ตัดต่อไม่เยอะเท่าไหร่ โดยส่วนตัวอุ้มแล้วยังชอบหนังประเภทแบบนี้เลย เพราะดูซื่อๆ น่ารักดี สำหรับหากตัดต่อหนังสั้นจะชอบทำหนังแนวน่ากลัว น่ากลัว เพราะคิดว่ามือถือนี้จะมีความละเอียดไม่เท่ากับกล้องวีดีโอ ซึ่งเป็นข้อด้อยของมือถือ ก็เอาส่วนนี้เป็นจุดสร้างเป็นจุดเด่นไป โดยทำคอนทราสสูง ๆ แล้วทำภาพขาวดำ จะทำให้ดูน่ากลัวสมจริง”
นิกัลยา ดุลยา มิสไทยแลนด์เวิลด์ปี 2004 กล่าวว่า “เทคโนโลยีของโทรศัพท์มือถือตอนนี้ดีมาก ๆ ล่าสุดที่มีออกมาว่าสามารถตัดต่อทำหนังสั้นด้วยตัวเองได้ก็ยิ่งดี เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ได้มีโอกาสสร้างผลงานได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่แปลกใหม่มากขึ้น และเป็นการประหยัดพื้นที่ด้วยพกแค่โทรศัพท์มือถือแค่อย่างเดียวก็สามารถทำได้ทั้งถ่ายรูป และถ่ายวีดีโอ โดยส่วนตัวแล้วหากจะทำหนังสั้นด้วยตนเอง อยากทำหนังแนวบู๊ แอ็คชั่น เพราะคิดว่ามันยาก เป็นสิ่งที่ ท้าทายดีหากเราทำได้”
บีม ภวภูตานนท์ ณ มหาสงคราม สาวน้อยอารมณ์ดี กล่าวว่า “ในยุคนี้เทคโนโลยีมีการพัฒนามาก โดยตนคิดว่าต้องคอยติดตามเทคโนโลยีให้ทันอยู่เสมอ เพราะคิดว่าการเปลี่ยนแปลงคือการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น เช่นตอนนี้เรามีโทรศัพท์มือถือข้อดีก็คือไม่ต้องคอยไปหยอดเหรียญโทรตามตู้โทรศัพท์สาธารณะ ต่อมาก็มีโทรศัพท์ที่ถ่ายรูปได้ทำให้สามารถเก็บกล้องต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องพกกล้องถ่ายรูป แล้วตอนนี้ก็มีโทรศัพท์ที่สามารถบันเทิง VDO ได้แล้ว ก็ยิ่งสะดวกไปใหญ่เลย โดยส่วนตัวคิดว่าเทคโนโลยีพวกนี้ไม่ยากเลย ทุกคนสามารถเล่นได้ หากเราก้าวไปพร้อม ๆ กับมัน แล้วก็จะทำให้ชีวิตเราง่ายขึ้นด้วย แต่ก็ไม่จำเป็นว่าแหมจำเป็นต้องรู้นะ เพราะขึ้นอยู่กับตัวเราเอง และศักยภาพของโทรศัพท์มือถือที่เรามีอยู่ เช่นหากเรามีมือถือที่มีศักยภาพสูง ๆ แต่เราใช้ไม่เป็นก็ควรที่จะใช้ไปใช้โทรศัพท์ธรรมดา ๆ ดีกว่า ”
อลิษา อ้นสุวรรณ ผู้ที่ชื่นชอบหนังสั้น กล่าวว่า เคยชมภาพยนตร์สั้นมาหลายเรื่อง ชอบเพราะเรื่องมันกลั่นกรองมาจากไอเดียที่มีสไตล์เป็นแบบฉบับของตัวมันเองในเวลาอันสั้น ถ้ามีโอกาสที่จะทำหนังสั้นด้วยตัวเองจะทำแนว ดราม่า โดยใช้เรื่องที่อยู่รอบ ๆ ข้างตัวเรามาเรียงร้อยให้เป็นเรื่องราวขึ้นมาใหม่ โดยได้เห็นตัวอย่างจากเรื่อง คนเม้าท์หมา ของคุณสุทธิพงษ์แล้ว ประทับใจ คือมันมีความเป็นหนัง เป็นเรื่องจริง เรื่องพื้น ๆ แล้วนำเสนอออกมาในรูปแบบหนัง มีการเพิ่มมุขตลกด้วย ส่วนเรื่องเทคโนโลยี ที่ตอนนี้สามารถทำได้หลายอย่าง ถือเป็นเรื่องที่ดี มันช่วยประหยัดได้หลาย ๆ อย่างไปในตัวด้วย โดยเฉพาะ ประหยัดเงิน ในกระเป๋า ที่ไม่ต้องซื้อของหรืออุปกรณ์ หลาย ๆ ชิ้น
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
บริษัทแม็กซิม่า คอนซัลแตนท์ จำกัด
โทร. 0-2434-8300 สุจินดา, แสงนภา, ชลธิชา
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net--จบ--