โนเกีย โซลูชั่นส์ แอนด์ เน็ตเวิร์คส นำวิสัยทัศน์เทคโนโลยีปี 2020 สู่การปฏิบัติ

ข่าวเทคโนโลยี Tuesday October 15, 2013 10:49 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--15 ต.ค.--พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง แพลทฟอร์มบิ๊ก ดาต้าต้นแบบสำหรับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเพื่อวิเคราะห์ ข้อความ 1 ล้านข้อความต่อวินาที เชื่อมเทคโนโลยีที่ดีที่สุดของไอทีและโทรคมนาคม ด้วยวิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยีปี 2020 โนเกีย โซลูชั่นส์ แอนด์ เน็ตเวิร์คสนำเสนอนวัตกรรมที่สามารถใช้งานได้จริง เพื่อให้ระบบเครือข่ายบรอดแบนด์สามารถรองรับการใช้งานข้อมูลที่จัดสรรเป็นการเฉพาะขนาด 1GB ต่อผู้ใช้ต่อวันได้ภายในปี 2020 อย่างมีประสิทธิภาพ ความก้าวหน้าล่าสุดซึ่งรวมไปถึงโครงการบิ๊ก ดาต้าเป็นส่วนหนึ่งของพิมพ์เขียววิสัยทัศน์เทคโนโลยีปี 2020 สำหรับเครือข่ายไร้สายในอนาคต ซึ่งจะช่วยผู้ให้บริการโทรคมนาคมจัดการกับปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้การจัดการระบบปฏิบัติการเครือข่ายง่ายขึ้น เพื่อประสบการณ์การใช้งานในระดับกิกะไบต์ที่ดีที่สุดของผู้ใช้งาน ทั้งนี้ภาคอุตสาหกรรมโทรคมนาคมกำลังเผชิญหน้ากับการเพิ่มขึ้นของการใช้ข้อมูลอย่างมหาศาล ในขณะที่มีความจำเป็นต้องสร้างผลกำไรและสร้างประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานข้อมูลเฉพาะบุคคลในเวลาเดียวกัน โนเกีย โซลูชั่นส์ แอนด์ เน็ตเวิร์คมีความมุ่งมั่นที่จะตอบสนองความท้าทายนี้ ด้วยวิสัยทัศน์เทคโนโลยีสื่อสารปี 2020 ซึ่งแยกได้เป็น 6 หัวข้อหลักโดยได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการสื่อสารระดับโลกดังนี้ - ช่วยให้เครือข่ายมีสมรรถนะเพิ่มขึ้น 1000 เท่า - ลดความหน่วง (latency) ให้เหลือเพียงต่อ milliseconds - ทำให้ระบบเครือข่ายสามารถเรียนรู้ปัญหาด้วยตนเอง - สร้างประสบการณ์การใช้งานระบบเครือข่ายเฉพาะบุคคล - การสร้างระบบโทรคมนาคมแบบใหม่บนกลุ่มเมฆ - ลดจำนวนการใช้พลังงาน นาย ฮาราลด์ ไพรซ์ หัวหน้ากลุ่มธุรกิจเอเชียเหนือ ของโนเกีย โซลูชั่นส์ แอนด์ เน็ตเวิร์คส และสมาชิกในคณะกรรมการบริหาร โนเกีย โซลูชั่นส์ แอนด์ เน็ตเวิร์คส กล่าวว่า “ปัจจุบัน ผู้บริโภคได้เรียนรู้ถึงการใช้ระบบเครือข่ายบรอดแบนด์เพื่อทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ในอนาคตผู้บริโภคจะเป็นผู้กำหนดทิศทางให้ระบบเครือข่ายและอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ พัฒนาและปรับเปลี่ยนให้เข้ากับวิถึชีวิตในปี 2020 วิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีสื่อสารปี 2020 ของเราเป็นตัวชี้แนะให้กับระบบเครือข่ายบรอดแบนด์ในการพัฒนาปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับวิถีการใช้ชีวิตนั้น เราร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับลูกค้า พันธมิตร มหาวิทยาลัยชั้นนำ และสถาบันการค้นคว้าวิจัยหลายแห่ง เพื่อทำให้ ‘วิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีสื่อสารปี 2020’ เป็นจริง” โครงการค้นคว้าและพัฒนานวัตกรรมของทั้ง 6 หัวข้อหลักดำเนินก้าวหน้าไปอย่างดี กล่าวคือ ช่วยให้ระบบเครือข่ายมีสมรรถนะเพิ่มขึ้น 1000 เท่า โนเกีย โซลูชั่นส์ แอนด์ เน็ตเวิร์คส กำลังขับเคลื่อนการวิจัยเทคโนโลยี 5G ร่วมกับลูกค้า และพันธมิตรในอุตสาหกรรม และเป็นผู้ขับเคลื่อน HetNet ใน METIS ซึ่งเป็นโครงการวิจัยเรือธงเกี่ยวกับระบบ 5G ที่ได้รับเงินสนับสนุนจากสหภาพยุโรป (EU) โนเกีย โซลูชั่นส์ แอนด์ เน็ตเวิร์คส เป็นผู้นำในการทดสอบระบบ Authorized Shared Access (ASA) ซึ่งเกี่ยวกับการใช้คลื่นความถึ่ที่ไม่ได้ถูกใช้งานโดยผู้ใช้งานหลักในช่วงเวลาหนึ่ง ลดความหน่วงไปถึงระดับ milliseconds ซึ่งเป็นหัวข้อที่โนเกีย โซลูชั่นส์ แอนด์ เน็ตเวิร์คส ได้ก้าวเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างมีนัยสำคัญด้วยการแนะนำ Liquid Applications ที่สามารถเปลี่ยนสถานีฐานให้เป็นส่วนที่มีความฉลาดของระบบเครือข่ายสามารถจัดเก็บ ดำเนินการ และนำเสนอเนื้อหาท้องถิ่น ที่เกี่ยวเนื่องกับสถานที่ที่ผู้ใช้งานอยู่ในขณะนั้น การร่วมมือกับนักพัฒนา และผู้ให้บริการแอพลิเคชั่นเพื่อสร้างสรรค์แอพลิเคชั่นรูปแบบใหม่ๆ ด้วยการใช้ศักยภาพของ Liquid Applications นับเป็นตัวอย่างหนึ่งที่โนเกีย ซีเมนส์ เน็ตเวิร์คสสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมบนสภาพแวดล้อมแบบเปิด สอนให้ระบบเครือข่ายเรียนรู้ปัญหาได้ด้วยตนเอง และสร้างประสบการณ์การใช้งานระบบเครือข่ายแบบเฉพาะ ด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกของโนเกีย โซลูชั่นส์ แอนด์ เน็ตเวิร์คส ทำงานร่วมกันกับพันธมิตรในระบบนิเวศ 8 ราย ณ ศูนย์พัฒนานวัตกรรมที่ซิลิคอน แวลลีย์ ได้มีการพัฒนาโครงการแพลทฟอร์มสำหรับบิ๊ก ดาต้าที่สามารถปรับแต่งได้ และเหมาะสำหรับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมโดยใช้เวลาเพียง 5 เดือนเท่านั้น เทคโนโลยีใหม่นี้สามารถประมวลข้อความหนึ่งล้านข้อความได้ภายใน 1 วินาที นับเป็นเวลาใกล้เคียงกับเวลาที่จำเป็นต้องใช้ในการประมวลผลข้อมูลในระบบเครือข่ายสำหรับประเทศเช่นฟินแลนด์ โครงการนี้เป็นตัวอย่างของการผสมผสานสิ่งที่ดีที่สุดของเทคโนโลยีไอทีและโทรคมนาคมเพื่อเร่งกระบวนการสร้างนวัตกรรม การสร้างระบบโทรคมนาคมแบบใหม่บนกลุ่มเมฆ แบบทีละขั้นตอน โดยโนเกีย โซลูชั่นส์ แอนด์ เน็ตเวิร์คส ได้สร้าง ‘cloudification’ ขององค์ประกอบของซอฟต์แวร์จากส่วน Customer Experience Management และ OSS ไปยัง IMS (IP Multimedia Subsystem) ระบบหลักของการสื่อสารไร้สาย (Mobile Core) และในที่สุดมาที่องค์ประกอบของเครือข่ายวิทยุ (radio access elements) เมื่อเวลาผ่านไป การโยกย้ายองค์ประกอบระบบเครือข่ายรวมกับ software defined networking (SDN) จะเปลี่ยนระบบเครือข่ายปัจจุบันไปสู่ระบบการบริหารจัดการโดยซอฟต์แวร์อย่างเต็มรูปแบบซึ่งให้ทั้งประสิทธิภาพและความยืดหยุ่น ลดการใช้พลังงานโดยรวม นอกจากเรื่องการเติบโตของการใช้ข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างมากแล้ว ผู้ประกอบการโทรคมนาคมยังกังวลเรื่องอัตราการใช้พลังงานโดยรวม ในตลาดอิ่มตัว (mature markets) สัดส่วนของค่าใช้จ่ายด้านพลังงานอยู่ที่ 10-15% ของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของระบบเครือข่ายทั้งหมด ค่าใช้จ่ายนี้อาจสูงถึง 50% ในตลาดที่กำลังพัฒนา จุดที่สามารถพัฒนาการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพได้อยู่ที่เครือข่ายวิทยุซึ่งใช้พลังงานประมาณ 80% ของการใช้พลังงานทั้งหมดในระบบเครือข่ายไร้สาย ในที่สุดแล้วประสิทธิภาพของการใช้พลังงานจะสามารถบรรลุเป้าหมายในปี 2020 ได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับระบบเครือข่ายที่ได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัย เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้ดีขึ้นอย่างมาก โนเกีย โซลูชั่นส์ แอนด์ เน็ตเวิร์คสได้ผลักดันนวัตกรรม advanced power amplifier ที่มีการนำไปใช้เพื่อศึกษาในระบบเครือข่ายของลูกค้า การสร้างสรรค์จากภาคอุตสาหกรรมและมาตรฐานต่างๆ เกี่ยวกับโนเกีย โซลูชั่นส์ แอนด์ เน็ตเวิร์คส โนเกีย โซลูชั่นส์ แอนด์ เน็ตเวิร์คส คือ ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกด้านเครือข่ายบรอดแบนด์ไร้สาย ตั้งเเต่เทคโนโลยีการสื่อสารเเรกเริ่มในระบบ GSM มาจนถึงเทคโนโลยีที่เรียกว่า LTE เราคือผู้นำในเเต่ละยุคของเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สาย มีผู้เชี่ยวชาญระดับโลกมากมายที่คอยคิดค้นประสิทธิภาพใหม่ๆ ที่ช่วยตอบสนองความต้องการของลูกค้ากับเครือข่ายของพวกเขา เรามอบเครือข่ายไร้สายที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในโลก พร้อมความอัจฉริยะที่ให้ประโยชน์สูงสุดกับเครือข่ายของลูกค้า และการบริการที่ทำให้ระบบทำงานได้อย่างประสิทธิภาพตลอดเวลา สำนักงานใหญ่ที่ตั้งอยู่ในเมืองเอสปู ประเทศฟินแลนด์ มีการดำเนินงานที่ครอบคลุมมากกว่า 120 ประเทศ ในปี 2012 บริษัทฯ มีรายได้สุทธิอยู่ที่ 13.4 พันล้านยูโร โดยมีบริษัท โนเกีย คอร์ปอเรชั่น เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด www.nsn.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ