กรุงเทพฯ--15 ต.ค.--เอไอเอ ประเทศไทย
เอไอเอ ประเทศไทย ส่งเสริมคนไทยออมเงินอย่างชาญฉลาด เปิดตัว “เอไอเอ บำนาญ สมาร์ท” (AIA Annuity Smart) กรมธรรม์บำนาญแบบลดหย่อนภาษีได้ มีให้เลือก 3 รูปแบบ เน้นจุดเด่นตรงสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงสุดถึง 300,000 บาทกรณีไม่มีกรมธรรม์ประกันชีวิตประเภทอื่น มั่นใจลูกค้าให้การตอบรับดี เนื่องจากปัจจุบันลูกค้ามีการเล็งเห็นถึงความสำคัญของการออม เพื่อรองรับแผนการเกษียณระยะยาว และตอบรับช่วงหักลดหย่อนภาษีปลายปี
นายสัตยา เทพบรรเทิง ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายตัวแทนประกันชีวิต บริษัท เอไอเอ จำกัด เปิดเผยว่า “ปัจจุบันคนไทยหันมาให้ความสำคัญกับการเตรียมตัวเพื่อรองรับการเกษียณกันมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจของเอไอเอ ในการมอบความคุ้มครองและความมั่นคงในการสร้างอนาคตในระยะยาว ในที่นี้หมายถึงการมีเงินประจำไว้ใช้ยามเกษียณ โดยสิ่งสำคัญในการวางแผนการเกษียณคือ ลูกค้าควรจะมีเป้าหมายการออมเงินที่ชัดเจน และสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ในปัจจุบัน รวมถึงการใช้สิทธิประโยชน์ด้านลดหย่อนภาษีอย่างเต็มที่โดยเฉพาะในช่วงปลายปี
“เพราะเราเข้าใจถึงความต้องการที่แท้จริงในช่วงชีวิตวัยทำงาน ที่มุ่งสร้างความมั่นคง เอไอเอ จึงนำเสนอกรมธรรม์บำนาญแบบลดหย่อนภาษีได้ 3 แบบ ได้แก่ เอไอเอ บำนาญ สมาร์ท ณ อายุครบ 55, 60 และ 65 โดยบริษัทรับประกันลูกค้าทุกรายโดยไม่ตรวจสุขภาพ เพียงลูกค้ามีอายุรับประกันภัยระหว่าง 20 - 50 ปี”
จุดเด่นของกรมธรรม์ “เอไอเอ บำนาญ สมาร์ท” คือ จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงสุด 300,000 บาทกรณีไม่มีกรมธรรม์ประกันชีวิตประเภทอื่น และยังเป็นแบบบำนาญที่ไม่ต้องตรวจสุขภาพ ได้รับความคุ้มครองชีวิตช่วงก่อนรับเงินบำนาญ 105% ของเบี้ยประกันภัยสะสมที่ชำระมาทั้งหมด (ไม่รวมเบี้ยประกันภัยของสัญญาเพิ่มเติม) หรือเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์แล้วแต่มูลค่าใดจะสูงกว่า นอกจากนี้ ในช่วงรับเงินบำนาญ ลูกค้าจะได้รับเงินบำนาญ 15% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย ณ วันที่ครบรอบปีกรมธรรม์ที่อายุครบ 55 60 หรือ 65 ปี จนถึงอายุ 90 ปี”
หากต้องการข้อมูลกรมธรรม์ “เอไอเอ บำนาญ สมาร์ท” เพิ่มเติม ติดต่อตัวแทนประกันชีวิตเอไอเอ หรือ AIA Call Center 1581 ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
*เบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์ เอไอเอ บำนาญ สมาร์ท ณ อายุ (55,60,65) (บำนาญแบบลดหย่อนภาษีได้) (ไม่รวมเบี้ยประกันภัยของสัญญาเพิ่มเติม) สามารถหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท โดย100,000 บาทแรกเป็นไปตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 172) และ 200,000 บาทถัดไป (แต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมิน และเมื่อรวมเงินที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุน กบข. หรือกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วย ร.ร. เอกชน และเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุน RMF ต้องไม่เกิน 500,000 บาท) เป็นไปตามข้อกำหนดของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 194)