ถอดรหัสกลุ่มผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในอาเซียน: นีลเส็น

ข่าวทั่วไป Wednesday October 16, 2013 09:19 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--16 ต.ค.--นีลเส็น - สิ่งที่ผลักดันให้ผู้บริโภคซื้อโทรศัพท์มือถือคือคุณสมบัติของมือถือและยี่ห้อ - การแนะนำปากต่อปากและโซเชียล มีเดียมีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อ - ระยะเวลาที่ผู้บริโภคใช้ไปกับสมาร์ทโฟนมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณ - การขายของผ่านมือถือ ร่างโครงสร้างอนาคตตลาดขายปลีกในเอเชีย - ผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิคเตรียมพร้อมรับโฆษณาผ่านมือถือ ผลสำรวจจากนีลเส็นซึ่งเป็นบริษัทผู้นำระดับโลกด้านการวิจัยข้อมูลและมุมมองผู้บริโภค เผยการรุกตลาดของโทรศัพท์สมาร์ทโฟนในเอเซียแปซิฟิคยังคงมีแนวโน้มที่จะเติบโตเป็นทวีคูณในหลายปีที่ผ่านมาถึงแม้ว่าตลาดหลายแห่งนั้นเคลื่อนที่เข้าใกล้จุดอิ่มตัวเข้าไปทุกที รวมถึงตลาดในประเทศสหรัฐอเมริกาและหลายประเทศในแถบยุโรปที่เรียกได้ว่าได้ก้าวผ่านจุดของการรุกส่วนแบ่งตลาดไปเป็นที่เรียบร้อย การศึกษาจากนีลเส็นภายใต้หัวข้อถอดรหัสกลุ่มผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในอาเซียน เผยค่านิยมล่าสุดในกลุ่มผู้ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน ทั้งในด้านพฤติกรรมและทัศนคติของผู้ใช้ในแถบเอเชียแปซิฟิคโดยผลการวิจัยนั้นครอบคลุมทั้งหมด9 ประเทศคือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย ฟิลลิปปินส์ ออสเตรเลีย ฮ่องกง จีน อินเดีย และสิงคโปร์ การรุกตลาดของโทรศัพท์สมาร์ทโฟนในแถบเอเซียแปซิฟิคถือได้ว่าดุเดือดที่สุดในประเทศฮ่องกงและสิงคโปร์ โดยมีอัตราส่วนของผู้ใช้อยู่ที่ 87เปอร์เซ็นต์ ตามมาติดๆ ด้วยประเทศมาเลเซีย (80%), ออสเตรเลีย (75%) และจีน (71%)ส่วนในตลาดสมาร์ทโฟนที่กำลังพัฒนาในประเทศอื่นๆแถบเอเซียแปซิฟิคนั้นก็ไม่น้อยหน้า มีการตามกระแสมาอย่างติดๆ และเริ่มเป็นที่ยอมรับมากขึ้นยกตัวอย่างเช่นในประเทศไทยซึ่งมีอัตราส่วนอยู่ของผู้ใช้อยู่ที่ 49 เปอร์เซ็นต์ ตามมาด้วยอินโดนีเซีย (23%) อินเดีย (18%) และฟิลิปปินส์(15%)(ตาราง1) ทั้งนี้เราจะเห็นได้ว่าจำนวนของผู้บริโภคที่ใช้โทรศัพท์มือถือหลายเครื่องพร้อมกันนั้นมีปริมาณเพิ่มขึ้นทั่วทั้งภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นฮ่องกง (31%) หรือสิงคโปร์และจีน (29%) โดยเฉพาะในประเทศมาเลเซียซึ่งเกือบครึ่งของประชากร (47%) มีโทรศัพท์มือถือมากกว่าหนึ่งเครื่อง นอกจากนั้น การเติบโตของจำนวนคนใช้แท็บเล็ตในตลาดเอเชียแปซิฟิคนั้นมีขนาดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญในช่วงปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะประเทศสิงคโปร์ (ขึ้นมา 30 จุดที่ 47%) ฮ่องกง (ขึ้นมา 27จุดที่ 57%) และ มาเลเซีย (ขึ้นมา 23 จุดที่ 42%) “ในแถบภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคนั้น อัตราการเติบโตของจำนวนผู้ที่ครอบครองอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อสื่อสารเริ่มมีการสั่นคลอนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา”นายซาก้า แฟดเค ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยธุรกิจโทรคมนาคมและเทคโนโลยีในเอเชียตะวันออกฉียงใต้ เอเชียเหนือ และแปซิฟิคของนีลเส็นตั้งข้อสังเกต“อย่างไรก็ตาม ต่อให้มีการคาดการณ์ว่าการเติบโตนี้เริ่มอยู่ในระดับคงที่แต่ในแง่ของการใช้งานของอุปกรณ์เชื่อมต่อสื่อสารก็จะยังคงมีการพัฒนาและขยับขยายขึ้นเรื่อยๆ อยู่ดีนี่จึงเป็นโอกาสขององค์กรต่างๆ ในการดึงผู้บริโภคให้เข้ามามีส่วนร่วมบนแพลตฟอร์มที่แพร่หลายนี้ ซึ่ง ณ เวลานี้สิ่งที่สำคัญมากสำหรับบริษัทต่างๆ และยิ่งกว่าที่แล้วๆ มา นั้นคือการพัฒนากลยุทธ์สำหรับตลาดโทรศัพท์มือถือที่มีชั้นเชิง ซึ่งต้องออกแบบมาเพื่อตอบสนองต่อพฤติกรรมการใช้เครื่องมือสื่อสารที่เปลี่ยนไปในขณะที่ยังคงส่งเสริมให้ผู้บริโภคได้มีส่วนร่วมในการใช้งานอีกด้วย” แบรนด์ คำแนะนำปากต่อปาก และสังคมออนไลน์กระตุ้นให้คนเลือกซื้อมือถือ แบรนด์ หรือ ยี่ห้อ ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดปัจจัยหนึ่งที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการเลือกซื้อโทรศัพท์สมาร์ทโฟนสำหรับผู้บริโภคทั่วทั่งภูมิภาค โดยจะเห็นได้ว่าผู้บริโภคในตลาดทั้ง8 แห่งซึ่งการวิจัยของนีลเส็นครอบคลุมอยู่นั้น ได้ลิสต์แบรนด์อยู่ในปัจจัยสามอันดับแรกที่ใช้ในการเลือกซื้อสมาร์ทโฟน โดยระบบปฏิบัติการก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักในการเลือกซื้อ(ตาราง 4)นอกจากนี้ ในประเทศอินโดนีเซีย อินเดีย และฟิลิปปินส์นั้น คีย์บอร์ดแบบQWERTY ยังคงมีอิทธิพลกับการเลือกซื้อโทรศัพท์ของผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม ขนาดของหน้าจอ และระบบหน้าจอสัมผัสก็มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนั้นการแนะนำปากต่อปากและสังคมออนไลน์ก็เข้ามามีบทบาทสำคัญและมีอิทธิพลต่อการเลือกใช้สมาร์ทโฟนโดยจะเห็นได้ว่าผู้บริโภคส่วนมากทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้นได้รับอิทธิพลจากบทวิจารณ์ในอินเตอร์เน็ตและบล็อก รวมไปถึงการแนะนำจากเพื่อน ผู้ร่วมงานและครอบครัว ซึ่งถือว่าเป็นอีกปัจจัยหลักที่ผู้บริโภคใช้ในการเลือกซื้อโทรศัพท์สมาร์ทโฟน(ตาราง 5) ‘สิ่งที่คิดอาจไม่ใช่สิ่งที่เป็น’ ผู้บริโภคใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนบ่อยกว่าที่คิด ฟังก์ชั่นของโทรศัพท์สมาร์ทโฟนนั้นมีการพัฒนาและขยับขยายไปพร้อมๆกับความรู้และการตระหนักถึงของผู้บริโภคว่าโทรศัพท์ที่ตนเป็นเจ้าของนั้นสามารถนำไปใช้งานอย่างไรได้บ้าง ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เราจะเห็นว่าปริมาณเวลาที่ผู้บริโภคใช้ไปกับโทรศัพท์สมาร์ทโฟนนั้นเติบโตเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ หากเราดูกันแต่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เราจะเห็นได้ว่าผู้ใช้สมาร์ทโฟนใช้เวลาโดยเฉลี่ยมากกว่าสามชั่วโมงต่อวันกับโทรศัพท์สมาร์ทโฟนในระหว่างเดือนมิถุนายน 2556 โดยใช้เวลาไปกับกิจกรรมต่างๆ เช่น การแชทผ่านทางแอปพลิเคชั่น สังคมออนไลน์ และกิจกรรมบันเทิงใจเช่น เกมส์และมัลติมีเดีย ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ถือว่าเป็นกิจกรรมที่ทำให้คนมีส่วนร่วมและใช้งานโทรศัพท์ได้สูงสุด “ถึงแม้ว่าอัตราการรุกตลาดของโทรศัพท์สมาร์ทโฟนจะยังไม่ถึง100เปอร์เซ็นต์ แต่การใช้แอปนั้นมีการขยับขยายอย่างรวดเร็ว” แฟดเคกล่าว “ในจำนวนผู้ใช้มือถือทั่วโลกนั้น ทุกๆ 5 คนจะมีอยู่ 1 คนที่ใช้แอป[1] ส่วนในเอเชียแปซิฟิคแอปที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือจำพวกเกมส์ โซเชียลเน็ตเวิร์ค และมัลติมีเดีย” วีดีโอบนมือถือได้รับความสนใจมากขึ้นในเอเชีย การดูวีดีโอผ่านทางโทรศัพท์สมาร์ทโฟนเริ่มได้รับความสนใจในเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศฮ่องกงและสิงคโปร์ โดยมากกว่าครึ่งของผู้ใช้มือถือชาวฮ่องกง (53%) ดูวีดีโอผ่านมือถือในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ส่วนชาวสิงคโปร์มีสัดส่วนอยู่ที่38 เปอร์เซ็นต์และชาวมาเลเซีย 37 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตามในแถบเอเชียแปซิฟิคนั้น สัดส่วนในการดูวีดีโอบนมือถือในตลาดสมาร์ทโฟนที่กำลังพัฒนาจะมีอัตราที่น้อยกว่า โดยมีสัดส่วนอยู่ที่ประมาณหนึ่งใน 10 ของผู้ใช้เท่านั้น “วีดีโอบนมือถือนั้นเป็นสิ่งที่ทั้งนักโฆษณาและเจ้าของสื่อต่างๆ ให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ” แฟดเคตั้งข้อสังเกต “ที่สำคัญคือ ผู้ใช้ที่ดูวีดีโอบนมือถือนั้นจะมีระดับการเข้าถึงและมีส่วนร่วมกับการดูวีดีโอที่ค่อนข้างสูงมาก จากที่เห็นได้ในตลาดเอเชียแปซิฟิค ส่วนใหญ่แล้วเราพบว่าผู้บริโภคที่ดูวีดีโอบนมือถือจะมีอัตราการเข้าชมโดยเฉลี่ยแล้วมากกว่า 10 ครั้งต่ออาทิตย์ ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักการตลาดที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนผ่านช่องทางดังกล่าว” การขายของผ่านมือถือ ร่างโครงสร้างให้กับอนาคตของตลาดขายปลีกในเอเชีย ในขณะที่การขายของผ่านโทรศัพท์มือถือ (mcommerce) ยังเข้าไม่ถึงตลาดเอเชียแปซิฟิคนัก แต่สำหรับประเทศอย่างเกาหลีและญี่ปุ่นก็ถือได้ว่ามีความพัฒนาการที่ดี ด้วยสัดส่วนของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นเกือบ9 ใน 10 (89%) และผู้บริโภคเกาหลีกว่าสองในสาม (67%)ที่ใช้บริการ mcommerce ในเดือนที่ผ่านมา ซึ่งนอกเหนือจากตลาดสองแห่งนี้แล้ว ประเทศสิงคโปร์ ฮ่องกง มาเลเซีย และออสเตรเลียต่างก็มีจำนวนการใช้ mcommerceที่ค่อนข้างสูงเช่นเดียวกัน (31%, 28%, 27% and 25% ของผู้ใช้ตามลำดับจากตลาดที่กล่าวมาข้างต้นมีการใช้ mcommerceในช่วงเดือนที่ผ่านมา) นอกเหนือจากนั้นก็ยังมีในตลาดอื่นๆ ที่ยังไม่ได้มีการเข้าถึงเท่าไหร่นักเช่นอินเดียซึ่งมีสัดส่วนการใช้ mcommerceอยู่ที่ 8% ประเทศไทยและอินโดนีเซียอยู่ที่ 7% และ ประเทศฟิลิปปินส์ที่ 3% “เราเห็นได้ถึงสัญญาณที่บ่งชี้ถึงโอกาสที่ยิ่งใหญ่สำหรับตลาดการซื้อขายบนโทรศัพท์มือถือในประเทศอย่างเช่น เกาหลีและญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่การซื้อขายบนมือถือนั้นพัฒนากลายมาเป็นสิ่งที่ใช้เป็นกิจวัตรประจำวันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว” แฟดเคตั้งข้อสังเกตุ “กระแสของ mcommerceนั้นจะเข้าถึงตลาดอื่นๆ ทั่วภูมิภาคอย่างรวดเร็ว และเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างอนาคตของตลาดขายปลีกในเอเชียเอเชียเปิดใจยอมรับโฆษณาผ่านมือถือ ผู้ใช้สมาร์ทโฟนในตลาดเอเชียแปซิฟิกนั้นค่อนข้างที่จะยอมรับการลงโฆษณาบนมือถือ โดยเก้าใน 10 (90%) ของผู้ใช้ในประเทศจีนนั้นคลิ๊กโฆษณาบนมือถือในเดือนที่ผ่านมา เช่นเดียวกับ 87 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนในอินเดีย และ 78 เปอร์เซ็นต์ในประเทศญี่ปุ่นและฮ่องกง โดยผู้ใช้สมาร์ทโฟนในประเทศไทยและอินโดนีเซียนั้นถือว่ามีระดับความอดทนอดกลั้นต่อการตอบสนองต่อโฆษณาบนมือถือสูงสุด โดยมีเพียงแค่ 58 เปอร์เซ็นต์ และ 56 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้ตามลำดับที่กดเข้าไปดูโฆษณาบนมือถือในเดือนที่ผ่านมา (ตาราง 8)โดยโฆษณาในแอปนั้นถือว่าเป็นรูปแบบการโฆษณาที่แพร่หลายที่สุดในตลาดเอเชียแปซิฟิกทั้งหมด “การโฆษณาบนมือถือนั้นถือว่ายังอยู่ในระยะเริ่มต้นซึ่งยังใหม่อยู่มาก โดยเอเจนซี่ต่างๆ รวมถึงนักโฆษณาต่างก็พยายามสรรหาและลองใช้โฆษณาในรูปแบบต่างๆ เพื่อที่จะดูว่าอะไรใช้ได้และอะไรใช้ไม่ได้” แฟดเคกล่าว “ตอนนี้สิ่งที่เราสังเกตุได้คือโฆษณาประเภทที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาหรือสิ่งที่ต้องการได้โดยไม่เสียเงินและไม่ได้รบกวนประสบการณ์ในการใช้คือประเภทของโฆษณาที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด นักโฆษณาที่ต้องการใช้โทรศัพท์เพื่อสื่อสารข้อความทางโฆษณานั้นจะต้องพุ่งเป้าไปที่การดึงให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเนื้อหาการโฆษณานั้น โดยไม่ไปรบกวนเวลาและการใช้งานของผู้ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน” “ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีของโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้นจะค่อยๆ พัฒนาและยังคงมีหนทางอีกไกลข้างหน้า แต่วิธีการที่ดีที่สุดที่จะดึงให้ผู้ใช้เข้ามามีส่วนร่วมก็ยังคงเหมือนเดิม นั้นคือการทำความเข้าใจแรงผลักดัน และแรงจูงใจของพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของผู้ใช้ จากนั้นพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดซึ่งสามารถเข้าถึงแรงผลักดันและแรงจูงใจนั้นๆ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากต่อการประสบความสำเร็จ” แฟดเคสรุป [1]Source: Portio Research via mobiThinking

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ