กรุงเทพ--4 ก.ค.--กรมประมง
นายธำมรงค์ ประกอบบุญ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่ากรมประมงได้ตั้งโครงการผลิตลูกกุ้ง
ก้ามกรามจำนวน 150 ล้านตัว เพื่อปล่อยในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียง
เหนือ 32 แห่ง โดยโครงการจะสามารถนำลูกกุ้งก้ามกรามไปปล่อยในปีหน้า (พ.ศ.2541) เป้าหมาย
ของโครงการเพื่อให้ประชาชนในชนบทมีอาหารโปรตีนบริโภค มีรายได้เสริมจากการจับกุ้งก้ามกรามจำ
หน่าย เนื่องจากกุ้งก้ามกรามเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่มีราคาแพง
นายธำมรงค์ ประกอบบุญ อธิบดีกรมประมง กล่าวต่อไปว่า การที่กรมประมงได้จัดตั้ง
โครงการเพาะกุ้งก้ามกรามปล่อยเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ 32 แห่ง พร้อมกันทั่วประเทศในครั้งนี้ เนื่อง
จากที่ผ่านมากรมประมงได้ประสบความสำเร็จในการนำกุ้งก้ามกรามไปปล่อยในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งไม่เคยมีกุ้งก้ามกรามมาก่อน ปรากฏว่าลูกกุ้งก้ามกรามที่ปล่อยไปได้เจริญเติบ
โต ชาวชนบทสามารถจับไปเป็นอาหารและจำหน่ายเป็นรายได้เสริมเป็นอย่างดี ตัวอย่างที่เห็นได้ในขณะ
นี้คือที่เขื่อนปากมูลจังหวัดอุบลราชธานี จากประสบการณ์ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตจากลูกกุ้งก้ามกรามที่
กรมประมงนำไปปล่อยเขื่อนและอ่างเก็บน้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่าสามารถจับกุ้งใหญ่คืนได้ประ
มาณร้อยละ 2 ฉะนั้นการปล่อยลูกกุ้งก้ามกราม 150 ล้านตัว ตามโครงการจึงคาดว่าจะได้กุ้ง
ก้ามกรามขนาดใหญ่คืนถึง 3 ล้านตัว ภายใน 6 เดือน แต่ที่ผ่านมามักเป็นโครงการที่ทำเฉพาะบางพื้นที่
เท่านั้น ครั้งนี้จะเป็นโครงการใหญ่ที่ผลิตลูกกุ้งก้ามกรามปล่อยครอบคลุมเชื่อนและอ่างเก็บน้ำทุกแห่งใน
ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ งบประมาณที่ใช้ทำโครงการเป็นงบปรกติของกรมประมง จึงสา
มารถดำเนินการได้อย่างแน่นอน โดยสถานีประมงที่จะรับผิดชอบผลิตลูกกุ้งก้ามกรามได้แก่ ศูนย์พัฒนาประ
มงน้ำจึดชลบุรี สถานีประมงน้ำจืดระยอง สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดตราด สถานีประมงน้ำจืดสุพรรณบุรี
อธิบดีกรมประมงกล่าวในที่สุด พร้อมกับแสดงรายชื่อเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ 32 แห่งที่กรมประ
มงจะนำลูกกุ้งก้ามกรามไปปล่อยในปีหน้า
พื้นที่เป้าหมายที่จะปล่อยกุ้งก้ามกราม ปีงบประมาณ 2541
ลำดับที่ ชื่อแหล่งน้ำ จังหวัด พื้นที่ (ไร่) หมายเหตุ
1 หนองหลวง เชียงราย 8,976
2 แม่กวงอุดมธารา เชียงใหม่ 8,700
3 แม่งัดสมบูรณ์ชล เชียงใหม่ 10,000
4 เขื่อนภูมิพล ตาก 100,000
5 กว๊านพะเยา พะเยา 12,831
6 เขื่อนนเรศวร พิษณุโลก 1,430
7 เขื่อนกิ่วลม ลำปาง 10,000
8 เขื่อนสิริกิติ์ อุตรดิตถ์ 178,000
9 เขื่อนลำปาว กาฬสินธุ์ 180,000
10 เขื่อนอุบลรัตน์ ขอนแก่น 256,500
11 บึงกุดเค้า ขอนแก่น 9,500
12 เขื่อนจุฬาภรณ์ ชัยภูมิ 7,500
13 บึงละหาน ชัยภูมิ 18,000
14 หนองญาติ นครพนม 3,552
15 เขื่อนลำตะคอง นครราชสีมา 27,812
16 เขื่อนลำนางรอง บุรีรัมย์ 5,000
17 ห้วยจรเข้มาก บุรีรัมย์ 7,000
18 ห้วยชะโนด มุกดาหาร 18,000
19 ห้วยลิงโจน ยโสธร 5,000
20 ห้วยแอ่ง ร้อยเอ็ด 6,250
21 ห้วยตามาย ศรีสะเกษ 10,500
22 เขื่อนน้ำอูน สกลนคร 53,000
23 หนองหาร สกลนคร 78,250
24 เขื่อนน้ำพุง สกลนคร 42,500
25 ห้วยยาง สกลนคร 19,000
26 ห้วยเสนง สุรินทร์ 8,700
27 ห้วยอำปึล สุรินทร์ 7,800
28 บึงโขงหลง หนองคาย 40,000
29 ห้วยหลวง อุดรธานี 6,000
30 หนองหาน อุดรธานี 25,625
31 เขื่อนสิรินธร อุบลราชธานี 182,500
32 เขื่อนปากมูล อุบลราชธานี 120,000
รวมพื้นที่ 1,467,926
--จบ--