กรุงเทพฯ--21 ต.ค.--กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
"ยุคล"ลงพื้นที่อุบล-ศรีษะเกษ สั่งหน่วยเกี่ยวข้องเร่งสำรวจพื้นที่ความเสียหายหลังน้ำลดเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเร่งด่วน ชี้ระดับน้ำท่วมภาคอีสานหลายพื้นที่เริ่มลด คาดสิ้นตุลาเข้าสู่ภาวะปกติ พร้อมเสนอแนวทางปรับผังเมือง อ.วารินชำราบ ลดพื้นที่ขวางทางน้ำป้องปัญหาท่วมซ้ำ
นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการลงพื้นที่ตรวจติดตามสถานการณ์ปัญหาอุทกภัยและสรุปแนวทางการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบในจังหวัดอุบลราชธานีและศรีษะเกษ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ร่วมประชุม ว่า จากการรับฟังบรรยายสรุปสถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดอุบลราชธานีและศรีษะเกษ ซึ่งได้รับผลกระทบจากพายุดีเพรสชั่นเมื่อวันที่ 18 -20 กันยายน และอิทธิพลจากพายุ "นารี"เม่ือวันที่ 15 ตุลาคม ที่ผ่านมา ซึ่งทั้ง 2 จังหวัดได้รายงานสถานการณ์ล่าสุดว่า ขณะนี้ระดับน้ำในหลายพื้นที่เริ่มมีแนวโน้มลดลงแล้ว แต่ยังคงมีในบางพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบจากลำน้ำสาขาของแม่น้ำมูลและแม่น้ำชี ที่มีระดับสูงกว่าตลิ่งโดยเฉลี่ย 89 ซม. ขณะที่จังหวัดศรีสะเกษ ระดับน้ำที่สถานี M.9 บ้านหนองหญ้าปล้อง อ.เมือง ปัจจุบันระดับน้ําอยู่ที่ 9.81 เมตร สูงกว่าตลิ่ง 81 เซนติเมตร คาดการณ์ระดับน้ำท่ีสถานี M.9 บ้านหนองหญ้าปล้อง อ.เมือง จะเพิ่มสูงขึ้นถึงระดับ 10.70 — 11.30 ม. ดังนั้น จะยังคงท่วมในพื้นท่ีลุ่มต่ํา และชุมชน บางส่วนของเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ ทั้งนี้ โครงการชลประทานศรีสะเกษส่งเครื่องสูบนํ้าเข้าช่วยเหลือพ้ืนที่รวม 3 เคร่ืองและรถบรรทุกรวม 1 คัน ในการทําคันผนังก้ันน้ําเพื่อสูบออกจากพ้ืนที่ชุมชนแล้ว อย่างไรก็ตาม กรมชลประทานคาดการณ์ว่าระดับน้ำจะเริ่มลดลงกลับเข้าสู่ภาวะปกติในสิ้นเดือนนี้ เนื่องจากปัจจุบันอัตราการไหลของน้ำเริ่มลดลงอยู่ในอัตรา 1,248 ลบ.ม/วินาที จากอัตราการไหลของน้ำเคยสูงสุดที่ 4,000 ลบ.ม/วินาที
นอกจากนี้ ยังมีแนวทางให้ทางจังหวัดอุบลราชธานีหารือผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องผังเมือง โดยเฉพาะอำเภอวารินชำราบซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่ม ก็จะต้องพิจารณาแนวทางการสร้างชุมชนไม่อยู่ในบริเวณเส้นทางที่ขวางทางน้ำ หรือได้รับผลกระทบน้อยที่สุด เพื่อไม่ให้ประชาชนต้องประสบปัญหาอุทกภัยซ้ำซ
ส่วนในด้านแนวทางการให้ความช่วยเหลือประชาชนและเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและศรีษะเกษนั้น ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เร่งเข้าไปสำรวจความเสียหายหลังระดับน้ำลดทั้งด้านพืช ประมง ปศุสัตว์ เพื่อเป็นข้อมูลในการเข้าไปตรวจสอบความเสียจริงและจ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยาตามกรอบอัตราการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติตามประกาศกระทรวงการคลัง ซึ่งได้กำหนดอัตราการช่วยเหลือทั้งด้านพืช ประมง ปศุสัตว์ และเงื่อนไขต่างๆ ไว้เรียบร้อยแล้ว จึงขอให้เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ที่ระดับน้ำลดแล้ว แจ้งข้อมูลความเสียหายกับหน่วยราชการในพื้นที่ เพื่อให้กระบวนการจ่ายเงินเยียวยาแล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลา 90 วันต่อไป
ในโอกาสนี้นายยุคล ยังได้เดินทางไปยังบ้านกุดระงุม และบ้านคูสว่าง ตําบลบุงไหม อําเภอวารินชําราบ จังหวัดอุบลราชธานีเพื่อติดตามสถานการณ์อุทกภัย และพบปะประชาชนในพื้นที่เพื่อมอบถุงยังชีพ และมอบพืชอาหารสัตว์ ได้แก่ หญ้าแห้ง เวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ เพื่อให้ความช่วยเหลือเกษตรกรจํานวน 275 ครัวเรือนด้วย