กรุงเทพฯ--22 ต.ค.--เอฟ เอ คิว
- ความตระหนักของผู้บริโภคและอุปสรรคจากค่านิยมทางวัฒนธรรมต่อการตรวจคัดกรอง ทำให้การใช้ชีวิตของมนุษย์อยู่บนความเสี่ยง
- ในปี 2551 ช่วงชีวิตที่มีคุณภาพทั่วโลกสูญหายไปคิดเป็นเวลาถึง 15 ล้านปี เนื่องจากผู้หญิงที่เสียชีวิตก่อนวัยอันควรหรือเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านม
จีอีได้จัดให้มีการศึกษาทั่วโลกเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม และล่าสุดพบว่า การเพิ่มขึ้นของโรคมะเร็งเต้านมและอัตราการเสียชีวิต สื่อให้เห็นถึงภัยคุกคามที่สำคัญและเพิ่มมากขึ้น ในประเทศที่กำลังพัฒนา
เบนท์ จอห์นสัน ศาสตราจารย์สาขาเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข (Health Economics) แห่งสถาบันเศรษฐศาสตร์ แห่งสตอกโฮล์ม หนึ่งในผู้เขียนรายงานการศึกษานี้ ได้อธิบายไว้ว่า “โรคมะเร็งเต้านมกำลังเพิ่มขึ้นในเหล่าประเทศที่กำลังพัฒนา ด้วยสาเหตุหลักจากการที่คนเรามีอายุยืนยาวขึ้น และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป เช่น ผู้หญิงมีบุตรน้อยลง รวมถึงการแทรกแซงการทำงานของฮอร์โมน เช่น ฮอร์โมนบำบัดในวัยก่อนหมดประจำเดือน อัตราการเสียชีวิตในภูมิภาคนี้ประกอบด้วยขั้นตอนหลังจากการวินิจฉัยโรคแล้ว รวมทั้งข้อจำกัดในการเข้าถึงการรักษา ซึ่งเป็นเหมือน “ระเบิดเวลา” ที่องค์กรสาธารณสุขต่างๆ และผู้กำหนดนโยบายในประเทศเหล่านี้ จำเป็นต้องใช้ความพยายามอย่างมาก เพื่อหยุดระเบิดเวลานี้ หรือคลี่คลายให้ได้”
จำเป็นต้องให้ความรู้แก่ผู้บริโภคให้มากขึ้น
รายงานในหัวข้อ “การป้องกัน การตรวจพบแต่เนิ่นๆ และภาระทางการเงินที่เกิดจากโรคมะเร็งเต้านม” ชี้ให้เห็นว่าในโลกที่กำลังพัฒนา ความเข้าใจของผู้บริโภคเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม และวิธีการตรวจคัดกรอง มีส่วนทำให้ชีวิตแขวนอยู่บนความเสี่ยง ตัวอย่างเช่น จากการสำรวจล่าสุดในเม็กซิโกซิตี้ ชี้ให้เห็นว่าผู้หญิงหลายคนรู้สึกไม่สะดวกใจหรือกังวลใจที่จะเข้ารับการตรวจคัดกรอง (แมมโมแกรม)
แคลร์ กูดลิฟฟ์ ผู้อำนวยการ Global Oncology ของจีอี เฮล์ทแคร์ แสดงความคิดเห็นไว้ว่า “เป็นเรื่องที่น่ากังวลมากที่ผู้หญิงในประเทศอุตสาหกรรมใหม่ทั้งหลาย ไม่เต็มใจเข้ารับการตรวจจนกระทั่งสายเกินไป ด้วยเหตุนี้ จีอี จึงทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและกระทรวงสาธารณสุขหลายแห่งในภูมิภาคนี้ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการตรวจคัดกรองได้มากขึ้นและเพิ่มความตระหนักให้กับผู้บริโภค ซึ่งโครงการบางส่วนที่ได้ริเริ่มนี้กำลังคืบหน้าไปอย่างดี”
การสูญเสียช่วงชีวิตที่มีคุณภาพไป ปีแล้วปีเล่า
จากการศึกษาพบข้อสรุปที่น่าสนใจบางประการเกี่ยวกับผลกระทบของโรคมะเร็งเต้านมต่อการดำรงชีวิตของผู้ป่วยโรคนี้ ข้อมูลล่าสุดที่ตีพิมพ์เผยว่า ในปี 2551 ทั่วโลกสูญเสียช่วงชีวิตที่มีคุณภาพไปคิดเป็นเวลารวมกันถึง 15 ล้านปี ด้วยสาเหตุจากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร หรือเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านม “ช่วงชีวิตที่มีคุณภาพ ที่สูญหายไป” คิดจากจำนวนปีที่สูญเสียเนื่องมาจากการตายก่อนวัยอันควร และการเป็นผู้พิการหรือไร้ความสามารถจากผลกระทบของการเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านม ผู้หญิงในทวีปแอฟริกา จีน และสหรัฐอเมริกา อยู่ในกลุ่มที่สูญเสียช่วงชีวิตที่มีคุณภาพมากที่สุด นอกจากนี้ ในการสูญเสียจำนวน 15 ล้านปีนี้ ในช่วงเวลาหลายๆ ปี กว่า 3 เท่าเป็นการสูญเสียเนื่องมาจากการตายมากกว่าการเจ็บป่วยด้วยโรค สำหรับผู้หญิงในแอฟริกา รัสเซีย เม็กซิโก ตุรกี และซาอุดีอาระเบีย จำนวนปีของช่วงชีวิตที่มีคุณภาพที่หายไปอันเนื่องมาจากการเสียชีวิตมีถึง 7 เท่า ซึ่งมากกว่าที่อื่นใดในโลก
เบนท์ จอห์นสัน กล่าวว่า “รายงานนี้ยังชี้ให้เห็นว่า สัดส่วนที่สูงอย่างน่าตกใจของผู้หญิงกำลังเสียชีวิตจากโรคมะเร็งเต้านมทั่วโลก และดูเหมือนจะมีความสัมพันธ์อย่างมากกับการเข้าถึงโปรแกรมตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม และค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ”
เบนท์ จอห์นสัน ยังชี้ให้เห็นถึงการขาดข้อมูลที่ ถูกต้อง ล่าสุด จากแต่ละพื้นที่ เช่น ตัวเลขอัตราการเกิดโรคมะเร็งเต้านมและการเสียชีวิต ภาระทางการเงินที่เป็นผลมาจากโรคมะเร็งเต้านม และข้อมูลผู้ป่วยที่เชื่อมโยงรายละเอียดผลลัพธ์ที่สัมพันธ์กับรูปแบบการรักษาและขั้นตอนของการวินิจฉัย เบนท์ จอห์นสัน กล่าวว่า “การขาดข้อมูลเหล่านี้จำกัดการวิเคราะห์ว่า การเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติการทางการแพทย์มีผลกระทบต่อการรักษาผู้ป่วยอย่างไร ซึ่งควรจะมีการดำเนินการแก้ไข”
ขณะที่อัตราการเสียชีวิตลดลง คุณภาพชีวิตกลับเป็นปัญหา
การที่อัตราการเกิดโรคมะเร็งเต้านมได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในประเทศที่พัฒนาแล้วตลอด 50 ปีที่ผ่านมา จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจเลยว่า ความสนใจหลักของการรักษายังอยู่ที่การทำให้มีชีวิตรอด รายงานชี้ให้เห็นว่า เมื่อมีผู้หญิงที่ใช้ชีวิตอยู่กับการเจ็บป่วยด้วยโรคนี้จำนวนมากขึ้น เนื่องมาจากอัตราการรอดชีวิตสูงขึ้น สิ่งที่กลายเป็นปัญหาแทนคือคุณภาพชีวิตของพวกเธอ ผลที่ตามมาคือแพทย์ได้ถูกกระตุ้นให้ให้ความสำคัญกับการวัดผลกระทบของการวินิจฉัยและการบำบัดรักษาคุณภาพชีวิตของผู้รอดชีวิต เพื่อระบุปัญหาที่ผู้ป่วยอาจเป็น และวิธีการที่จะหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านี้ว่าจะทำได้อย่างไร
แคลร์ กูดลิฟฟ์ สรุปว่า “จากรายงานนี้ เราได้พบการเชื่อมโยงโดยตรงระหว่างอัตราการรอดชีวิตในประเทศต่างๆ และระยะของโรคในตอนที่วินิจฉัยพบ รายงานยังได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความจำเป็นในการตรวจหาและการรักษาแต่เนิ่นๆ ซึ่งเรายินดีเปิดรับความคิดเห็นในเรื่องของอันตรายที่เกี่ยวเนื่องกัน ประโยชน์ที่จะได้รับ และการลดค่าใช้จ่ายในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม”
หมายเหตุประกอบ
1. เกี่ยวกับรายงาน “การป้องกัน การตรวจคัดกรองแต่เนิ่นๆ และภาระทางการเงินที่เกิดจากโรคมะเร็งเต้านม”
รายงานนี้จัดให้มีขึ้นโดย จีอี เฮลท์แคร์ เขียนขึ้นโดย เบนท์ จอห์นสัน ศาสตราจารย์สาขาเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข (Health Economics) แห่งสถาบันเศรษฐศาสตร์สตอกโฮล์ม และ ดร.นพ. นิลส์ วิลคิง ซึ่งเป็นแพทย์ที่ทำงานด้านโรคมะเร็งมาเป็นเวลา 30 ปี หลังจากจบการศึกษาจาก Karolinska Institute ในกรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน
รายงานนี้ได้รับการพัฒนา เพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกในเรื่องของภาระทางการเงินที่เกิดขึ้นทั่วโลกอันเนื่องมาจากโรคมะเร็งเต้านม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโอกาสที่จะลดภาระนั้น ด้วยการป้องกันและการตรวจคัดกรองแต่เนิ่นๆ
2. รายละเอียด ชื่อประเทศ/ทวีป, จำนวนปีที่สูญเสียช่วงชีวิตที่มีคุณภาพไปเนื่องจากการเสียชีวิตหรือพิการ (Disability Adjusted Life Years)
ประเทศ/ทวีป จำนวนปีที่สูญเสีย อัตราส่วนระหว่าง
ช่วงชีวิตที่มีคุณภาพ การสูญเสียช่วงชีวิตที่มีคุณภาพเนื่องจากการตาย กับ ชีวิตที่อยู่รอดแต่ต้องอยู่กับความพิการ
ทั่วโลก 15, 127,050 3.2:1
แอฟริกา 1,751,772 7:1
จีน 1,739,518 2.8 :1
สหรัฐอเมริกา 1,294.414 1.6:1
รัสเซีย 635,497 4:1
เยอรมัน 460,066 1.8:1
บราซิล 427,393 2.9:1
ญี่ปุ่น 381,079 2:1
ฝรั่งเศส (เขตพื้นที่เฉพาะภายในฝรั่งเศส) 352,920 1.5:1
อังกฤษ 340,797 1.8:1
อิตาลี 329,447 1.6:1
เม็กซิโก 186,906 3.7:1
สเปน 171,311 1.8:1
แคนาดา 156,963 1.5:1
ตุรกี 151,802 4.4:1
ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ 113,459 1.5:1
สวีเดน 43,202 1.6:1
ซาอุดิอาระเบีย 28,253 4.5:1
ที่มา: http://globocan.iarc.fr
ประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศสมีการปกครองทั้งสาธารณรัฐครอบคลุมพื้นที่ 4 เขต คือ ฝรั่งเศส, เกาะ Corsica, จังหวัดโพ้นทะเล (les d?partements d' outre-mer - DOM) และดินแดนโพ้นทะเล (les territoires d' outre-mer - TOM) เฉพาะภายในฝรั่งเศส (Metropolitan France)
3. จีอี เฮลท์แคร์ และ การวินิจฉัยเบื้องต้น
ความมุ่งมั่นด้านสุขภาพของ จีอี เฮลท์แคร์ เริ่มด้วยการส่งเสริมให้เกิดการป้องกัน การตรวจคัดกรอง และการวินิจฉัยโรคแต่เนิ่นๆ ควบคู่ไปกับความคิดริเริ่มโครงการ Healthymagination ของจีอีที่ใช้อยู่ทั่วโลก โครงการต่างๆ ของจีอี เฮลท์แคร์ มีอยู่ทั่วโลกในพื้นที่และชุมชนที่เกิดโรคโดยตรง เพื่อส่งเสริมวิธีการที่จะทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคลหรือนโยบายสาธารณะทั่วไป และระดับประชาชนทั่วไป จีอี เฮลท์แคร์ ล้ำหน้าในทุกขั้นตอนในเรื่องของการดูแลผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายภาพการวินิจฉัยเพื่อการทดสอบตามปกติ ไปจนถึงการดูแลรักษาสุขภาพในกรณีสำคัญๆ ผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรและลูกค้า เรามองหาโอกาสที่จะมอบโซลูชั่นที่มีผลต่อผลลัพธ์ ประสิทธิภาพ และคุณภาพ ที่ดีกว่าเดิม อย่างสม่ำเสมอ
4. จีอี เฮลท์แคร์ และโรคมะเร็ง
เมื่อเดือนกันยายน 2554 จีอี เฮลท์แคร์ได้เปิดตัวโครงการระดับโลกที่ท้าทายในการต่อสู้กับโรคมะเร็ง โดยใช้เงินจากงบประมาณในการวิจัยและพัฒนาของจีอี จำนวน 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ กำหนดเวลา 5 ปี เพื่อใช้ในการเพิ่มการวินิจฉัยขั้นสูงเกี่ยวกับโรคมะเร็ง และเพิ่มขีดความสามารถในการถ่ายภาพระดับโมเลกุล รวมถึงเทคโนโลยีคุณภาพระดับโลกที่ใช้ในการผลิตชีวเวชภัณฑ์และการวิจัยโรคมะเร็ง ข้อมูลถึงสิ้นปี 2554 มีการใช้งบประมาณไปแล้ว 335 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เห็นได้ว่าจีอีกำลังอยู่บนเส้นทางสู่เป้าหมายของพันธสัญญา 5 ปี เพื่อเร่งความคืบหน้าและการมอบการดูแลที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นให้กับผู้ป่วยจำนวน 10 ล้านราย ภายในปี 2563 โครงการต่อต้านโรคมะเร็ง จึงเป็นการประสานความร่วมมือระหว่างกลุ่มผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีด้านโรคมะเร็งของจีอี กับนวัตกรรมต่างๆ ที่เกิดจากความร่วมมือกับพันธมิตรที่สำคัญ พันธสัญญาที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะเจาะจงเหล่านี้ ทำให้จีอีสามารถผลักดันให้เกิดการพลิกโฉมเรื่องโรคมะเร็งและการดูแลโรคมะเร็งเป็นรายบุคคล
5. ความคิดริเริ่ม ของจีอี เฮลท์แคร์ เพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการต่อสู้กับโรคมะเร็ง
จีอี เฮลท์แคร์ เปิดตัวโครงการทางออนไลน์และโซเชียลมีเดีย ตลอดทั้งปีดังนี้
- การแข่งขัน #GetFit ซึ่งขณะนี้ดำเนินมาเป็นปีที่ 3 เป็นการสนับสนุนให้บุคคลต่างๆ แบ่งปันทางเลือกในการดำเนินชีวิตที่มีคุณภาพของพวกเขาผ่านทาง Twitter, Instagram, Weibo, Facebook และ Pinterest โดยการใช้ #GetFit hashtag เป็นการตอกย้ำความสำคัญของการใช้ชีวิตที่มีคุณภาพเพื่อเป็นการป้องกันโรคมะเร็ง โครงการ #GetFit นี้ ได้รับการยอมรับและได้รับรางวัลจากผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกด้วย
- เว็บไซต์ Breast Cancer Mosaic ของจีอี เฮลท์แคร์ เป็นเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นเพื่อแบ่งปันเรื่องราวจากผู้รอดชีวิตจากโรคมะเร็งเต้านม สมาชิกในครอบครัว และแพทย์ เพื่อสร้างความตระหนักในทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งเต้านม และเพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้ทุกคนที่กำลังจะก้าวผ่านเวลาที่ยากลำบาก
- ผู้รอดชีวิตจากโรคมะเร็ง สมาชิกครอบครัว และเพื่อนๆ สามารถเตือนใจผู้ป่วยโรคมะเร็งคนอื่นๆ ว่าพวกเขาไม่ได้อยู่ลำพัง ด้วยการส่งแรงบันดาลใจให้กันและกันบน Pinterest ผ่านทาง Cancer Pintherapy Board ของจีอี
- Give a Little Beat เป็นความคิดริเริ่มหนึ่งของ จีอี เฮลท์แคร์ เพื่อเชื่อมโยงผู้คนให้ร่วมกันต่อสู้กับโรคมะเร็งเต้านม ผ่านทางพลังของดนตรีและโซเชียลมีเดีย
-ในความพยายามที่จะให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการถามคำถามต่อผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็ง และแจ้งบุคคลเหล่านั้นเกี่ยวกับวิธีการวินิจฉัยและการรักษา สามารถช่วยผลักดันผลลัพธ์ในทางที่ดี เว็บไซต์ Is My Cancer Different จึงได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลเหล่านี้