กรุงเทพฯ--24 ต.ค.--Frost & Sullivan
ฟรอสต์แอนด์ซัลลิแวน แนะรัฐนำคลื่นความถี่ที่เหลือจากการเปลี่ยนเป็นระบบดิจิตอลทีวี มาเพิ่มประสิทธิภาพ 3G ภายในประเทศ
ประเทศไทยเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ธุรกิจด้านกิจการกระจายเสียงมีความคึกคักอย่างมากในปีนี้ ดังจะเห็นได้จากการเพิ่มขึ้นของผู้ให้บริการในธุรกิจนี้ ไม่ว่าจะเป็น CTH, GMM Z, RS ที่เข้ามาเพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดจาก ทรูวิชชั่น ซึ่งต้องยอมรับว่าผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ไปเต็มๆ จากการแข่งขันอย่างดุเดือดในครั้งนี้คงหนีไม่พ้นผู้บริโภคนั่นเอง
มาร์ค ไอนสไตน์ นักวิเคราะห์ ด้านธุรกิจไอซีที บริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลก ได้ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า “ธุรกิจ Pay TV น่าจะมีการเติบโตที่ตัวเลขสองหลัก หรือแบบ double digitซึ่งนับว่าแซงหน้าตลาดการให้บริการโทรศัพท์มือถือ และ การเจาะตลาดภาคครัวเรือน รวมทั้งการเชื่อมต่อแบบละเมิดลิขสิทธ์ที่มีสัดส่วนในตลาดภาคครัวเรือนถึงร้อยละ 50”
เป็นที่ทราบกันดีกว่า ขณะนี้ประเทศไทยกำลังนับถอยหลังเข่าสู่ยุคของ ดิจิตอล ทีวี ซึ่งจะก่อให้เกิดความหลากหลายด้านคอนเทนต์แก่ผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น และแน่นอน การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้คงไม่ใช่เรื่องง่ายสักทีเดียว
การประมูลเป็นเจ้าของช่องทีวีดิจิตอลจำนวน 24 ช่องนั้น ได้รับความสนใจช่ายจากบริษัทต่างๆในการยื่นประมูลเป็นจำนวน 49 ซอง ทำให้สามารถคาดการณ์ได้ว่าข่าวและคอนเทนต์ต่างๆจะมีความหลากหลายและเป็นสากลมากยิ่งขึ้น
“ดิจิตอล ทีวี เป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมาก ซึ่งจะส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับประสบการณ์ใหม่ๆในการรับชมทีวี แต่ อย่างไรก็ตาม ในช่วงระหว่างการเปลี่ยนแปลงนี้อาจเกิดปัญหาต่างๆได้บ้าง”
“ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศอาศัยอยู่ในต่างจังหวัด ดังนั้น ความสามารถในการครอบคลุมพื้นที่กระจายเสียงของดิจิตัลทีวี ถือเป็นประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่ง”
นอกจากนี้ มาร์ค ไอนสไตน์ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “ย้อนกลับไปเมื่อปี 2552 เมื่อ ประเทศสหรัฐอเมริกามีการเปลี่ยนแปลงจากระบบอะนาล็อคเป็นระบบดิจิตอล รัฐบาลอเมริกาได้จัดสรรงบประมาณเป็นจำนวนเงินมากกว่าหนึ่งพันล้านเหรียญสหรัฐในการให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่องการเปลี่ยนแปลงระบบดังกล่าว แม้ว่าจะมีประชากรเพียงร้อยละ 3 ของประเทศไม่ทราบถึงการเปลี่ยนแปลง”
“นอกจากนี้ รัฐบาลอเมริกายังได้ใช้งบประมาณประมาณ 890 ล้านเหรียญสหรัฐ ในการแจกคูปองให้กับประชาชนเพื่อนำมาแลกรับเครื่องแปลงสัญญาณโทรทัศน์จากระบบอะนาล็อคเป็นระบบดิจิตอล ดังนั้น กสทช. ควร ให้ความกระจ่างในเรื่องนโยบายในการให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆที่จะเกิดขึ้น และผลกระทบที่อาจจะตามมา เพื่อป้องกันความสับสนและปัญหาต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้”
“อย่างไรก็ตาม ผลประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับการเปลี่ยนแปลงจากทีวีระบบอะนาล็อค มาเป็นระบบดิจิตอล อาจไม่เกี่ยวข้องกับตลาดทีวีเลยก็เป็นได้”
“การเปลี่ยนแปลงจากระบบอะนาล็อค ไปสู่ ทีวีระบบดิจิตอลนั้นจะทำให้มีคลื่นความถี่เหลือว่างอยู่ ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์อื่นๆได้ อาทิ การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ 3G/4G ของประเทศ เป็นต้น” นายไอนสไตน์ กล่าวทิ้งท้าย