ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล มองตลาดหุ้นไทยยังไปได้ แม้ระยะสั้นมีปัจจัยกดดันตลาด แนะมองโอกาสทยอยลงทุน กองทุนไอ-บาลานซ์ เมื่อตลาดปรับฐาน

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday October 24, 2013 13:52 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--24 ต.ค.--CIMB Thai Bank ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล มองตลาดหุ้นไทยยังไปได้ แม้ระยะสั้นมีปัจจัยกดดันตลาดแนะมองโอกาสทยอยลงทุน กองทุนไอ-บาลานซ์ เมื่อตลาดปรับฐาน ชี้จุดเด่นอยู่ที่มีการปรับพอร์ตแบบ Rebalancing สร้างผลตอบแทนได้ดีแม้ตลาดผันผวน ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล ปลื้มกองทุนไอ-บาลานซ์ สร้างผลงานดีนับตั้งแต่เปิดตัวกองทุนในช่วงกันยายนที่ผ่านมาอยู่ที่ 5.98%* (ถึง 18 ต.ค.56) เชื่อตลาดหุ้นไทยยังสามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ แม้จะมีความผันผวนต่อความกังวลการเมืองในประเทศ แต่ยังคงเชื่อตลาดหุ้นไทยสามารถไปต่อได้จากเศรษฐกิจไทยที่เติบโต ผ่านการกระตุ้นจากการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจค เชื่อว่านักลงทุนต่างชาติยังคงให้น้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นไทยและภูมิภาคเอเชีย แนะนักลงทุน “ทยอยสะสมลงทุน’ เมื่อหุ้นปรับฐาน นายจุมพล สายมาลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ. ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล เปิดเผยว่า ตลาดการลงทุนช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีมีแนวโน้มที่ดีขึ้นโดยตลาดหุ้นไทยและตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียได้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นภายหลังสถานการณ์ในสหรัฐฯผ่อนคลายลง โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังคงมาตรการการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ (QE) ต่อเนื่อง และการขยายเพดานหนี้ที่สุดท้ายรัฐสภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกาที่สามารถตกลงกันให้รัฐบาลกลางสามารถกู้ยืมเพื่อใช้จ่ายด้านการคลัง (ขยายเพดานหนี้) ชั่วคราวไปจนถึงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2557 ในขณะที่ทางการจีนยังคงยืนยันที่จะมุ่งเน้นเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างมีเสถียรภาพจะเห็นได้จาก GDP ณ ไตรมาส 2 ที่ผ่านมาอยู่ในระดับ 7.8% ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ และมุ่งหน้าที่จะรักษาการเติบโตตามแผนที่วางไว้ที่ 7.5% ในสิ้นปีนี้ โดยคาดว่าจะมีมาตรการมาช่วยกระตุ้นการเติบโตการบริโภคภายในประเทศ จากปัจจัยเชิงบวกส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติกลับมาลงทุนในตลาดหุ้นไทยต่อ โดยตลอดเดือนตุลาคม (18 ตุลาคม 2556) มียอดเงินซื้อสุทธิ 1,718 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงที่นักลงทุนต้องติดตามในระยะสั้น คือ สถานการณ์การเมืองและการชุมนุมของกลุ่มต่างๆ ในการคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่จะเข้าประชุมสภาในวาระ 2 และ 3 ในต้นเดือนพฤศจิกายนนี้ สำหรับปัจจัยเสี่ยงในปีหน้า จะมาจากปัจจัยภายนอกประเทศ ในเรื่องความไม่ชัดเจนเรื่องกรอบเวลาการปรับลด QE ที่คาดการณ์ว่าจะกลับมาเป็นประเด็นอีกครั้งในช่วงต้นปีหน้า และการพิจารณาการขยายเพดานหนี้ที่จะสิ้นสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2557 บลจ.คาดการณ์ว่าตลาดหุ้นไทยจะยังคงมีความผันผวนจากความไม่แน่นอนและมีแนวโน้มจะยังคงปกคลุมตลาดการลงทุนยาวต่อเนื่องไปจนถึงปีหน้า “หากมองภาพรวมการลงทุนในตลาดหุ้นไทยจนถึงสิ้นปี 2556 เรายังคงเชื่อว่าตลาดหุ้นไทยมีโอกาสที่จะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นได้ จากเม็ดเงินลงทุนของต่างชาติที่ยังคงเชื่อมั่นในการเติบโตของเศรษฐกิจไทยที่จะมาจากการขับเคลื่อนของการลงทุนภาครัฐเป็นหลักผ่านโครงการเมกะโปรเจคต่างๆ และมาตรการที่จะกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนในประเทศ และเม็ดเงินอีกส่วนหนึ่งจะมาจากการลงทุนในกองทุน LTF และ RMF โดย บลจ.คาดว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยสิ้นปี 2556 จะอยู่ที่ประมาณ 1520-1560 จุด โดยดัชนีตลาด ณ 21 ก.ย.56 อยู่ที่ 1,448 จุด ซึ่งมีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้น 5%-8% แต่หากมองภาพการลงทุนในระยะสั้น นักลงทุนจะต้องติดตามสถานการณ์การเมืองในประเทศที่จะทำให้ตลาดมีความผันผวนเป็นระยะ ดังนั้น นักลงทุนอาจพิจารณา “ทยอยลงทุน” เมื่อตลาดหุ้นมีการปรับฐานและแนะนำให้ถือลงทุนระยะยาว เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดี” นายจุมพล กล่าว นายจุมพล กล่าวเพิ่มเติมว่า “กองทุนเปิดซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล บาลานซ์ อินคัม” (CIMB-PRINCIPAL iBALANCED) ที่บริษัทได้เปิดเสนอขายในช่วงต้นเดือนกันยายน 2556 ที่ผ่านมา สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับนักลงทุน โดยนับตั้งแต่จัดตั้งกองทุน (6 ก.ย.56) ถึง 18 ตุลาคม 56 หรือประมาณ 1 เดือนครึ่งที่ผ่านมาอยู่ที่ 5.98%* (เทียบกับเกณฑ์มาตรฐานในช่วงเวลาเดียวกันที่6.96%)โดยปัจจัยที่สนับสนุนให้กองทุนสามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีแม้จะต้องเผชิญกับภาวะความผันผวนของตลาด มาจากจากการบริหารการลงทุนแบบ Active Management ซึ่งเป็นการบริหารจัดการโดยผู้จัดการกองทุนมืออาชีพในลักษณะการวิเคราะห์และคาดการณ์ภาวะตลาดในอนาคต รวมถึงการจับจังหวะการลงทุนที่ถูกต้องเหมาะสม ผสมผสานกับกลยุทธ์ Stock Selection ที่จะเน้นการคัดเลือกหุ้น โดยผู้จัดการกองทุนจะให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานและผลประกอบการดี และมีแนวโน้มการเติบโตในอัตราสูง ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์การลงทุนที่สำคัญของ บลจ. ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล รวมถึงจุดเด่นในการบริหารของกองทุนในรูปแบบ Rebalancing เพื่อปรับสัดส่วนการลงทุนระหว่างสองสินทรัพย์หลักคือหุ้นและตราสารหนี้อย่างสมดุลในกองทุนเดียวกัน ซึ่ง จากการเก็บข้อมูลเชิงสถิติย้อนหลังและการศึกษาเชิงลึก สัดส่วนที่ทางบลจ.เห็นว่าเหมาะสมตลาดการลงทุนไทยและสามารถสร้างผลตอบแทนที่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงได้อย่างต่อเนื่องในทุกๆ ภาวะตลาดคือสัดส่วนที่หุ้นและตราสารหนี้ประมาณ 65% และ 35%” กองทุนเปิดซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล บาลานซ์ อินคัม ได้จดทะเบียนตั้งกองทุนไปเมื่อต้นเดือนกันยายน 2556 โดยมีขนาดกองทุนประมาณ 447 ล้านบาท ผลการดำเนินงานตั้งแต่จดทะเบียนถึง 18 ตุลาคม 56 หรือประมาณ 1 เดือนครึ่งที่ผ่านมาคือ 5.98%* ต่อปี จุดสำคัญอีกอย่างของกองทุนคือการตั้งเป้าหมายจ่ายคืนผลตอบแทนในทุกๆไตรมาสผ่านรูปแบบการรับซื้อคืนอัตโนมัติ (Auto redemption) กำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำเพียง 1,000 บาท และผู้ลงทุนสามารถซื้อ- ขายได้ทุกวันและเวลาทำการ * คำนวณผลตอบแทนตั้งแต่จดทะเบียนกองทุนวันที่ 6 กันยายน ถึง วันที่18 ตุลาคม 2556 เทียบเกณฑ์มาตรฐานที่ 6.96% เกณฑ์มาตรฐานคือ ผลตอบแทนเฉลี่ยจาก ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย SET INDEX, ดัชนีตราสารหนี้พันธบัตรรัฐบาลอายุคงเหลือไม่เกิน 10 ปี, ดัชนีตราสารหนี้หุ้นกู้เอกชน และ พันธบัตรที่มีอายุคงที่ 3 เดือน กำหนดน้ำหนัก 50:15:15:20 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล 0 2686 9595 www.cimb-principal.com หรือ CIMB Thai Care Center 0 2626 7777 กด 0 www.cimbthai.com คำเตือน ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลของกองทุนรวมโดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายการลงทุน ความเสี่ยงและผลการดำเนินงานของกองทุนรวมที่เปิดเผยไว้ในเวปไซต์ของบริษัท หรือสามารถขอข้อมูลได้จากฝ่ายการตลาดก่อนตัดสินใจลงทุนการลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ