COSPAR Symposium เปิดฉากครั้งแรกที่กรุงเทพ ไทยพร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำด้านอวกาศและดาราศาสตร์

ข่าวทั่วไป Tuesday November 12, 2013 13:37 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--12 พ.ย.--ไบรท์ ทู ยู COSPAR Symposium เปิดฉากครั้งแรกที่กรุงเทพไทยพร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำด้านอวกาศและดาราศาสตร์“ความลี้ลับของระบบดาวเคราะห์ของระบบสุริยะยังคงเป็นสิ่งที่ต้องค้นหา” GISTDA (สำนักพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ) และสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติภายใต้สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ The 1st COSPAR Symposium ในหัวข้อ “Planetary Systems of our sun and other Stare, and the Future of space Astronomy” ระหว่างวันที่ 11-15 พฤศจิกายน 2556 ณ โรงแรม เซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร ดร.พีรพันธุ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่าการนำเทคโนโลยีทางอวกาศและการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญในการค้นคว้าวิจัยหาคำตอบให้กับมวลมนุษยชาติ ซึ่งได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดงาน ในวันจันทร์ ที่ 11 พฤศจิกายน 2556 การบรรยายที่น่าสนใจคือ Prof. Michel Mayor ผู้เชี่ยวชาญด้านฟิสิกส์ดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัย เจนีวา ซึ่งได้ศึกษาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ และร่วมจัดทำเครื่องมือตรวจวัด Spectrum ที่มีความแม่นยำมากที่สุดในโลก รวมทั้งการบรรยายจาก ศร.ดร.สมเจตน์ ทิณพงษ์ ประธานกรรมการบริหาร GISTDA ผู้จะมาสร้างแรงบันดาลใจและมุมมองใหม่ๆ ในการพัฒนาประเทศและสังคม ตลอดจนนักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ชั้นนำจากต่างประเทศ ช่วงที่พลาดไม่ได้ คือการเสวนาโต๊ะกลมของผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานระดับโลก ได้แก่ องค์การอวกาศแห่งยุโรป (ESA) องค์การศึกษาวิจัยแห่งชาติฝรั่งเศส (CNES) องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (NASA) องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (JAXA) และสถาบันวิทยาศาสตร์ดาราศาสตร์แห่งเกาหลี (KASI) รวมทั้งผู้บริหารองค์การอวกาศแห่งชาติในกลุ่มอาเซียน ได้แก่ มาเลเซีย(ANGKASA) อินโดนีเซีย (LAPAN) และไทย (GISTDA) โดยมี prof. Giovanni Bignami ประธาน COSPAR ผู้ดำเนินการอภิปราย นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงผลงานวิชาการในรูปแบบโปสเตอร์กว่า 80 ผลงาน และผลงานภาพวาดของเยาวชนไทย ภายใต้หัวข้อ space and me กว่า 20 ผลงาน สำหรับการประชุมวิชาการนานาชาติครั้งนี้ ถือเป็นการจัดประชุมครั้งแรกของ COSPAR Symposium ในประเทศไทยที่มีนักวิชาการและนักวิจัยทางด้านอวกาศนักดาราศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์จากประเทศต่างๆและองค์การระหว่างประเทศทั่วโลกเข้าร่วมกว่า 350 คน การประชุมวิครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจาก สถาบันส่งเสริมการสอนทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) ,บริษัท การบินไทย จำกัด มหาชน และบริษัท ทีโอที (จำกัด) มหาชน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ