SMEs ปรับใช้กลยุทธ์บริหารสภาพคล่อง ลดก่อหนี้ ป้องกันธุรกิจร่วง

ข่าวทั่วไป Friday November 22, 2013 16:50 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--22 พ.ย.--สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ผู้ประกอบการSMEs เรียนรู้หลักสูตรSMEs Advance ของสสว. ใช้เป็นคัมภีร์บริหารสภาพคล่องทางการเงินและหลักการก่อหนี้ที่ทำให้ธุรกิจยังอยู่รอดอย่างยั่งยืนได้ตรงใจ ชี้ธุรกิจใหม่ส่วนใหญ่ มีไอเดียดี แต่ต้องกู้หนี้ธนาคารแบกดอกเบี้ยแพงทำให้เกิดความเสี่ยงทางธุรกิจและการขาดสภาพคล่องทางการเงิน แนะถ้าจำเป็นต้องเป็นหนี้ควรมีหนี้ต่อทุนไม่เกินกว่า 2 เท่าของทุน หรือมีขนาดหนี้ทั้งหมดหารกำไรแล้วไม่ควรเกิน 10 เท่า และควรเริ่มต้นธุรกิจด้วยการลงทุนขนาดเล็กใช้เงินกู้น้อยๆ เพื่อตั้งหลัก สร้างโอกาสธุรกิจให้อยู่รอดก่อนแล้วค่อยขยายต่อไป นายธนเดช มหโภไคย อาจารย์พิเศษคณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัย ธรรรมศาสตร์ วิทยากรผู้เชี่ยวชาญทางการเงิน และรับผิดชอบเป็นผู้บรรยายในชุดวิชาเกี่ยวกับการจัดการทางการเงินและการลงทุน การวิเคราะห์และบริหารจัดการความเสี่ยงของธุรกิจ ในการอบรมนักบริหาร SMEs ระดับสูง “SMEs Advance ” จำนวนกว่า 220 คน ของ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ภายใต้ โครงการยกระดับมาตรฐานการบริการจัดการธุรกิจ SMEs กล่าวว่าธุรกิจใหม่ๆ ส่วนใหญ่จะมีไอเดียดี แต่มักจะไม่มีเงินทุนเพียงพอเพื่อขยายฐานธุรกิจให้เติบโตขึ้น “การกู้เงินมาลงทุนจึงเป็นทางออกที่นักบริหารSMEs มักเลือกใช้ ซึ่งการใช้หลักการเริ่มต้นทำธุรกิจใหม่ๆ ควรลงทุนขนาดเล็กที่จำเป็นไปก่อน และใช้เงินกู้ให้น้อย เพื่อตั้งหลัก สร้างโอกาสธุรกิจให้อยู่รอด ค่อยขยายกิจการภายหลังจะทำได้ง่ายกว่าที่ต้องมาเร่งดิ้นรนใช้จ่ายคืนด้วยภาระเงินกู้ที่สูงๆ ที่ผ่านมาปัญหาการทำธุรกิจของ SMEs ที่ไปไม่รอดมักเกิดจากการจัดการทางการเงินที่ไม่ดี เมื่อใดที่ SMEs อยู่รอดได้แล้ว พร้อมปรับระบบการจัดการทั้งด้านการเงิน การตลาด การผลิตที่ดีมีประสิทธิภาพ สถาบันการเงินก็จะให้การสนับสนุนเงินกู้และให้เงื่อนไขที่ดี ดังนั้นSMEsควรยึดหลักในการก่อหนี้ของธุรกิจที่จะให้ธุรกิจอยู่รอดได้อย่างยั่งยืนด้วยหลักการที่ดีง่ายๆ คือ ถ้าจำเป็นต้องเป็นหนี้ ก็เป็นหนี้แค่พอสมควร คือมีหนี้ต่อทุนไม่ควรเกินกว่า 2 เท่าของทุน หรือมีขนาดหนี้ทั้งหมดหารด้วยกำไรแล้วไม่ควรเกิน 10 เท่า” นายธนเดช กล่าว นายธนเดช ยังให้ความเห็นถึงบทบาทของของภาครัฐว่าน่าจะสนับสนุนSMEsโดยใช้กองทุน Venture Fund เป็นเครื่องมือแก้ปัญหาให้กับ SMEs หน้าใหม่มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ เพราะ Venture Fund เป็นการที่รัฐร่วมลงทุนแบบไม่คาดหวังผลตอบแทนทันที จึงเหมาะกับการช่วยให้เจ้าของธุรกิจได้เริ่มต้นกิจการได้อย่างไม่มีปัญหาทางการเงินหนักจนเกินไป เช่นเรื่องการหาแหล่งเงินทุนไม่ได้ หรือหาได้แต่ต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้สูงเป็นต้นการที่SMEsต้องเริ่มต้นธุรกิจด้วยภาระเงินต้นและดอกเบี้ยที่เกิดจากเงินกู้สูงๆมักมีความเสี่ยงสูง จะทำให้รับไม่ไหว หากรัฐร่วมลงทุนประคองให้ธุรกิจ SMEs ใหม่ อยู่ตัวสักระยะ 3-5 ปีแล้วถึงเริ่มเรียกใช้เงินกู้คืน เพื่อให้ SMEs ใช้เงินกู้ให้น้อยที่สุด ทั้งนี้โดยมอบหมายให้หน่วยงานสถาบันการเงินที่เชี่ยวชาญมืออาชีพเป็นผู้บริหารกองทุนนี้แทน ด้านนายชัยพร ชยานุรักษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว) กล่าวว่าสสว. ได้จัดการอบรมหลักสูตรนักบริหารSMEsระดับสูง( SMEs Advance)ภายใต้โครงการยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการธุรกิจSMEs ร่วมกับคณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชีมหาวิทยาลัยธรรรมศาสตร์ประจำปีงบประมาณ 2556 โดยบรรจุเนื้อหาองค์ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานด้านการบริหารจัดการทางการเงินและการลงทุน การวิเคราะห์และบริหารจัดการความเสี่ยงของธุรกิจเข้าอยู่ในหลักสูตร เพื่อมุ่งหวังให้นักบริหารระดับสูง ที่มาเข้ารับการอบรมนำไปใช้ป้องกันการเกิดความเสี่ยงทางธุรกิจและการขาดสภาพคล่องทางการเงิน พร้อมแนะแนวทางการใช้กลยุทธ์ต่างๆ เป็นเครื่องมือการจัดหาเงินทุน สร้างความมั่นคงทางธุรกิจ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ประสบปัญหาธุรกิจทรุดตัวหรือล้มละลาย “ปรากฏว่าเจ้าของธุรกิจและผู้บริหาร SMEs ต่างขานรับชุดวิชานี้มาก เพราะสามารถนำกลยุทธ์การจัดการทางการเงินและการลงทุน วิเคราะห์และบริหารจัดการความเสี่ยงของธุรกิจ จากแนวคิด แนวทาง วิธีการปฏิบัติ และข้อเสนอแนะของวิทยากรผู้เชี่ยวชาญทางการเงิน ไปปรับใช้เป็นกลยุทธ์ในการบริหารองค์กร ให้สภาพคล่องของบริษัทมีความพร้อมในทางธุรกิจอย่างสม่ำเสมอ มั่นคง สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินธุรกิจของบริษัททั้งในระยะสั้น กลาง และยาว อีกทั้งใช้เป็นกลยุทธ์ในการเตรียมวางแผนการบริหารสภาพคล่องรองรับ กับความผันผวนและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ทั้งที่คาดการณ์ได้และสถานการณ์ที่ไม่สามารถคาดเดาได้ล่วงหน้า อาทิ การเปลี่ยนแปลงค่าเงินดอลล่าร์ แนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารในอนาคต และ สถานการณ์การเมืองที่ไม่มีเสถียรภาพ ซึ่งธุรกิจ SMEs มักจะประสบปัญหาการไม่มีกำลังเงินทุนมากพอ ในการจัดการด้านการป้องกันความเสี่ยงทางธุรกิจให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่เมื่อเทียบเท่ากับธุรกิจขนาดใหญ่ซึ่งมีความพร้อมด้านการเงินมากกว่า” นายธนิตศักดิ์ ศรีสัมฤทธิ์ กรรมการผู้จัดการ หจก. พีเอสเอ กรีน จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าเพื่อสุขภาพจากน้ำมันมะพร้าว ยี่ห้อ "เพลิน" นักบริหารระดับสูง SMEs Advance รุ่น 1 เปิดเผยว่า ธุรกิจของตนเป็น SMEs ขนาดเล็ก จำเป็นต้องใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการทางการเงินที่ดีมีประสิทธิภาพ จึงเริ่มต้นจากบริหารตัวเองจากเล็กไปหาใหญ่ ใช้เงินทุนอย่างเหมาะสมจำนวนเท่าใดก็ใช้ไปตามที่ได้จัดสรรไว้เท่านั้น สร้างสภาพคล่องหมุนเวียนเงินไปตามขั้นตอน โดยตัวระบบของมันเอง “ เรามีระบบเครือข่ายที่เกื้อหนุนกัน เริ่มต้นตั้งแต่ทำธุรกิจการขายวัตถุดิบ รับจ้างผลิต และผลิตเป็นแบรนด์ของตัวเอง ออกจำหน่าย เราตั้งระบบการหมุนเวียนเงิน โดยใช้วิธีการประคองระบบให้รองรับหมุนเวียนเกื้อหนุนกันไป ค่อยๆขยายตัวไปเรื่อย เมื่อจำเป็นต้องลงทุนเพิ่มจากสภาพคล่องจากที่มีอยู่เดิม ก็จะใช้ระบบกู้ยืมเงินจากเครือญาติเป็นอันดับแรก แล้วค่อยมองหาการสนับสนุนเงินทุนจากหน่วยงานราชการพาณิชย์จังหวัด หรือเกษตรจังหวัด เนื่องจากเราเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเรือนสมุทร ของจังหวัดสมุทรสงคราม สุดท้ายแล้วจึงจะขอยืมเงินกู้จากแบงก์มาใช้" นายธนิตศักดิ์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ธุรกิจโตขึ้นมากถึง 30 %ต่อปี จึงเล็งเห็นว่า อาจมีความจำเป็นต้องกู้เงินจากธนาคารมาใช้ และสร้างโอกาสทางเครดิตให้กับธุรกิจ เพื่อความจำเป็นต้องขยายธุรกิจและสร้างระบบป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นจากการขาดเงินทุนหมุนเวียนในอนาคต เนื่องจากว่ากำลังมีแผนจะขยายตลาดไปยังประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ลาว พม่า และจีน การเข้าร่วมโครงการอบรม.ครั้งนี้กับ สสว. ทำให้ตนได้รู้จักกับผู้ประกอบธุรกิจด้วยกันและเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของSMEs ทำให้เกิดเครือข่ายความสัมพันธ์ที่สามารถขยายออกไปเป็นร่วมมือได้ในอนาคต นางสาวอำนวยพร ชี้หรั่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท อำนวยพรเทรดดิ้ง จำกัด จังหวัดนนทบุรี เจ้าของธูรกิจเครื่องประดับอัญมณีจากเงินแท้ แบรนด์ "APC" นักบริหารระดับสูง SMEs Avance รุ่น 2 เปิดเผยว่า มีแผนการผลิตเพื่อส่งออกไปยังกลุ่มประเทศอาหรับอิมิเรต ฝรั่งเศส ลาว และประเทศอื่นๆ ประมาณสิ้นปีนี้ จึงต้องให้ความระมัดระวังตัวในการดำเนินธุรกิจมาก ไม่ให้เกิดปัญหาขาดเงินสภาพคล่องกระทบกับเงินทุนหมุนเวียนที่ต้องใช้ เพราะที่ผ่านมาเคยมีประสบการณ์ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์การเมืองที่ราชประสงค์ เนื่องจากไม่ได้มีการวางแผนการจัดการทางการเงินสำหรับเผื่อเหลือเผื่อขาด ที่มาจากเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อนและเมื่อประสบปัญหาธนาคารไม่อนุมัติปล่อยสินเชื่อเพิ่มให้อีกด้วยจึงลำบากมาก การเข้าร่วมอบรม SMEs Avance ทำให้ได้กลยุทธ์การบริหารจัดกาทางการเงิน การวิเคราะห์ความเสี่ยงทางธุรกิจ มาปรับใช้ทางธุรกิจให้กับผู้บริหาร SMEs ได้ดีเป็นอย่างมาก ทำให้ต่อไปนี้ จะต้องวางระบบการเงินไว้ส่วนหนึ่งสำรองใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในยามฉุกเฉิน และมาประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการด้านหนี้สิน เพราะว่าถึงแม้ว่าวันนี้ธุรกิจจะดีขึ้นแล้ว แต่ก็ยังมีหนี้สินที่จะต้องจ่ายให้กับธนาคารตามกำหนดระยะเวลาอยู่พอสมควร "นอกจากนี้ ต้องคำนึงถึงการนำกลยุทธ์การบริหารจัดการทางการเงิน ทั้งในส่วนเงินรายได้จากการขายสินค้า เงินค่าวัสดุ ที่ขณะนี้มีต้นทุนสูงขึ้นและต้นทุนอื่นๆที่เพิ่มขึ้น เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า จึงต้องรอบคอบและระมัดระวังมากขึ้น และจะหากลยุทธ์สร้างรายได้เพิ่มจากการพัฒนาและสร้างแบรนด์ตัวสินค้าให้โดดเด่นกว่าคู่แข่ง เสริมด้วยการทำแพคเกจจิ้งใหม่ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าให้สูงขึ้น รวมถึงหากลยุทธ์สร้างระบบการป้องกันและตั้งรับอัตราค่าเงินที่อาจเกิดการผันผวน ซึ่งเป็นการป้องกันปัจจัยทางภายนอกที่มากระทบ ดังเช่น อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลล่าร์ที่อ่อนตัวลง ผันผวนจากเมื่อต้นปีที่แข็งตัว” นางสาวอำพร กล่าว
แท็ก ADVANC   สสว.   SME  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ