กรุงเทพฯ--14 ก.ค.--เอ็มเอสดี (ประเทศไทย)
การศึกษาครั้งใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ The New England เพื่อประเมินผลวัคซีนโรคงูสวัดของเมอร์คพบว่าสามารถลดระยะเวลาและระดับความรุนแรงของอาการปวดของโรคงูสวัดจากการศึกษายังพบว่าวัคซีนนี้สามารถลดทั้งอุบัติการณ์ของโรคงูสวัด และอาการปวดหลังจากเป็นโรคงูสวัด
จากการประเมินประสิทธิผลวัคซีนโรคงูสวัดที่พัฒนาขึ้นโดยเมอร์ค แอนด์ โค พบว่าสามารถลดอาการปวดและอาการไม่พึงประสงค์อื่นๆจากโรคงูสวัดได้ 61 % โดยการศึกษาครั้งใหม่นี้ได้ทำการเปรียบเทียบกับยาหลอกในอาสาสมัครทั้งหญิงและชายที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปทั้งสิ้น 38, 500 คน และยังพบว่า วัคซีนนี้สามารถลดอุบัติการณ์ของโรคงูสวัดได้ 51 % รวมทั้งยังลดอาการปวดจากอาการแทรกซ้อนหลังจากโรคงูสวัดซึ่งเป็นอาการปวดต่อเนื่องตามแนวเส้นประสาทที่เรียกว่า persistent nerve pain (PHN) ได้ 67 %
การศึกษาผลการป้องกันโรคงูสวัดในระยะที่ 2 ที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารการแพทย์ The New England ฉบับวันที่ 2 มิถุนายน โดยมี Department of Veterans Affairs (VA) เป็นผู้จัดการศึกษาขึ้นภายใต้ความร่วมมือของสถาบันโรคติดเชื้อและโรคภูมิแพ้แห่งชาติ (NIAID) ในสังกัดสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) และศูนย์วิจัยเมอร์ค 22 แห่ง ทั่วสหรัฐอเมริกา โดยมีระยะเวลามากกว่า 5 ปี
น.พ. ไมเคิล เอ็น อ็อกแมน ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อจากกรมสุขภาพ San Diego VA และมหาวิทยาลัยแคลิฟอเนีย ซานดิเอโก หัวหน้าในการศึกษาครั้งนี้และผู้เขียนบทความในวารสารนี้ให้สัมภาษณ์ว่า “เราดีใจมากที่พบว่าผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ลงในวารสารการแพทย์ The New England ประสบผลสำเร็จเกินคาด” และว่า “โรคงูสวัดเป็นโรคที่สร้างความเจ็บปวดให้ผู้ป่วย มักเกิดขึ้นกับผู้ที่เคยมีประวัติเป็นโรคอีสุกอีใสและไม่มีสัญญานบอกเหตุล่วงหน้า ผู้ที่มีอาการแทรกซ้อนหลังจากงูสวัด หรือที่เรียกว่า PHN ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการปวดติดต่อกันเป็นเวลานานอาจเป็นอาทิตย์ เป็นเดือน หรือ เป็นปี แม้แต่แค่สัมผัสบริเวณที่เป็นเบาๆ ก็จะทำให้ผู้ป่วยเจ็บปวดอย่างรุนแรงได้”
เกี่ยวกับโรคงูสวัด
โรคงูสวัด เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า varicella-zoster virus ซึ่งเป็นเชื้อชนิดเดียวกับที่เป็นสาเหตุของโรคอีสุกอีใส อาการเริ่มแรกจะปรากฏผื่น อาจมีอาการปวดหรือคันที่ซีกใดซีกหนึ่งตามร่างกายหรือบริเวณใบหน้า จากนั้นจะเริ่มมีตุ่มน้ำขนาดเล็ก ผู้ป่วยมักมีอาการเจ็บปวดในระดับความรุนแรงและระยะเวลาต่างกัน อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นตามมา คือ อาการปวดต่อเนื่องตามแนวของเส้นประสาท (persistent nerve pain — PHN) อาการปวดจะมีตั้งแต่อาการปวดแสบปวดร้อน อาการปวดลึกๆใต้ผิวหนัง ไปจนถึงอาการปวดคล้ายโดนเข็มแทง และจะมีอาการปวดเป็นระยะเวลานานหลายเดือนหรือเป็นปี
ผู้ที่เคยมีประวัติเป็นโรคอีสุกอีใสจะมีโอกาสเป็นโรคงูสวัด ในสหรัฐอเมริกาพบผู้ใหญ่ที่ป่วยด้วยโรคนี้มากกว่า 90 % ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ มีการประมาณการณ์ว่า ผู้สูงอายุที่มีอายุ 85 ปีขึ้นไปจะมีโอกาสเป็นโรคงูสวัดมากกว่าครึ่ง ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไปประมาณ 20-25 % จะพบอาการแทรกซ้อนที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน (PHN)
มีการประมาณว่า ในแต่ละปีมีผู้ป่วยโรคงูสวัดในสหรัฐอเมริการะหว่าง 800,000 ถึง 1 ล้านราย ซึ่งอัตราการเป็นโรคนี้จะยิ่งสูงขึ้นในประชากรที่มีอายุมากขึ้น
ข้อมูลเพิ่มเติมสอบถาม:
นายกุลเสฏฐ์ หอวงศ์รัตนะ โทร 02-255-5090 ต่อ 314
e-mail: kulaseth_hovongratana@merck.com--จบ--